สืบเนื่องจากกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายมาเป็นจุดสนใจของคนในสังคมอีกครั้ง
โดยประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ปัจจุบันประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปฏิบัติหน้าที่รวม 9 คน ดังนี้
นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2557 และได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563
โดยนายวรวิทย์ เกิดวันที่1 มีนาคม 2495 ปัจจุบันอายุ 71 ปี จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (กฎหมายมหาชน) เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ทั้งนี้ก่อนดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดสกลนคร, อัยการจังหวัดอุดรธานี, อัยการพิเศษฝ่ายแผนงานฝึกอบรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด, ตุลาการศาลปกครองกลาง, รองอธิบดีศาลปกครองเชียงใหม่, อธิบดีศาลปกครองพิษณุโลก และ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ตามลำดับ
นอกจากนั้น เคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ศป.) 2 สมัย, อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยนเรศวร และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยรามคำแหง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
โดยนายนครินทร์ เกิดวันที่ 28 กรกฎาคม 2501 ปัจจุบันอายุ 65 ปี จบการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับสอง อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาควิชาประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย PH.D. (INTERNATIONAL STUDIES) WASEDA UNIVERSITY,ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังมีประสบการณ์การทำงานในอดีตที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ โดยเคยดำรงตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ก่อนดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ท่าพระจันทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามลำดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
นายปัญญา อุชชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558
โดยนายปัญญา เกิดวันที่ 15 เมษายน 2499 ปัจจุบันอายุ 67 ปี จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) นิติศาสตรบัณฑิต นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน)M.A. (Public Administration), Detroit, Michigan, U.S.A. นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Laws) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Justice Administration)
ทั้งนี้ก่อนดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร กระทรวงมหาดไทย, เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กระทรวงมหาดไทย, นักวิชาการปกครอง กรมการปกครอง, หัวหน้างานอัตรากำลังและบรรจุแต่งตั้ง กรมการปกครอง, ผู้ช่วยหัวหน้าภาควิชาพฤติกรรมศาสตร์ วิทยาลัยการปกครอง, ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนนักปกครองระดับสูง วิทยาลัยการปกครอง, หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, หัวหน้ากลุ่มงานคดี สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีและวิชาการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฝ่ายคดีและฝ่ายบริหาร), ที่ปรึกษาด้านวิชาการ (นักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญ 11 ชช.) และ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (นักบริหารศาลรัฐธรรมนูญ) ตามลำดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
เอกสารหลุดว่อนเน็ต ศาลรธน.นัดถกคดี “พิธา”19 ก.ค. ตรงวันโหวตนายกฯรอบสอง
ไทม์ไลน์คดีหุ้น ITV “พิธา” จากจุดเริ่มต้น จนถึงวันนัดชี้ชะตา 24 ม.ค.
พบ ส.ส.บุรีรัมย์ ภูมิใจไทย ถือหุ้น ITV กว่า 4 หมื่นหุ้น
นายอุดม สิทธิวอรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563
โดยนายอุดม เกิดวันที่ 22 พฤศจิกายน 2497 ปัจจุบันอายุ 68 ปี จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 28 สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ก่อนดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยดำรงตำแหน่ง นายทหารพระธรรมนูญ กองทัพเรือ, ผู้ช่วยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาประจำกระทรวงช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดทุ่งสง และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดแม่สอด ศาลจังหวัดพิษณุโลก และศาลจังหวัดนครสวรรค์, ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครสวรรค์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหลังสวน ศาลจังหวัดอุทัยธานี และศาลจังหวัดกำแพงเพชร
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา, ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 6, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ภาค 3, ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 5 และประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์ภาค 3, รองประธานศาลอุทธรณ์, อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 และ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้, ผู้พิพากษาศาลฎีกา, ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และ ประธานแผนกคดีคำสั่งคำร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกา ตามลำดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
นายวิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563
โดยนายวิรุฬห์ เกิดวันที่ 27 พฤศจิกายน 2494 ปัจจุบันอายุ 71 ปี จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ทั้งนี้ก่อนดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, รองประธานศาลฎีกา และ ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา ตามลำดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก, มหาวชิรมงกุฎ
นายจิรนิติ หะวานนท์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563
โดยนายจิรนิติ เกิดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2496 จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา LL.M. (Master of Law, Harvard University) M.C.L. (Master of Comparative Law, George Washington University) S.J.D. (Doctor of Juridical Science, George Washington University)
ตำแหน่งทางวิชาการศาสตราจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ก่อนดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่น, ผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ, ผู้พิพากษาศาลแพ่ง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง, เลขานุการศาลฎีกา, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์, ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 2, ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์, อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, ผู้พิพากษาศาลฎีกา, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล และ กรรมการกฤษฎีกา ตามลำดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) เหรียญพระราชทาน เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5
นายนภดล เทพพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563
โดยนายนภดล เกิดวันที่ 3 ธันวาคม 2499 ปัจจุบันอายุ 66 ปี จบการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) Master of Arts (International Relations) , Northern Illinois University (Fulbright Scholarship)
ทั้งนี้ก่อนดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง กองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก, อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์, รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก, อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา, เอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร, เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน, รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และ เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ตามลำดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563
โดยนายบรรจงศักดิ์ เกิดวันที่ 14 สิงหาคม 2495 ปัจจุบันอายุ 70 ปี จบการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ทั้งนี้ก่อนดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองชั้นต้น, ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น, ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ตามลำดับ
ประวัติรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
นายอุดม รัฐอมฤต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566
โดยนายอุดม เกิดวันที่ 28 มิถุนายน 2502 ปัจจุบันอายุ 64 ปี จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางกฎหมายอาญา (Diplôme Supérieur d'Université) มหาวิทยาลัย Paris II ประเทศฝรั่งเศส ปริญญาโทและปริญญาเอกทางกฎหมายอาญา (Diplôme d'études approfondies et Doctorat en Droit Pénal) มหาวิทยาลัย Nancy II ประเทศฝรั่งเศส
ตำแหน่งทางวิชาการ ศาสตราจารย์ประจำในสาขากฎหมายวิธีสบัญญัติ ทั้งนี้ก่อนดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.), คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ กรรมการกฤษฎีกา ตามลำดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)