นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า และอดีตผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล กล่าวถึงที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ห้ามนักการเมืองเป็นเจ้าของสื่อ หรือถือหุ้นสื่อ เพราะกลัวว่าจะครบองำสื่อให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเชียร์พวกตัวเอง หรือโจมตีฝ่ายตรงข้าม จนทำให้สื่อขาดความเป็นกลาง จึงกำหนดในรัฐธรรมนูญว่า ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนักการเมืองทุกระดับ เป็นเจ้าของกิจการสื่อหรือถือหุ้นสื่อ โดยกำหนดในรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 วงเล็บ 3 และบทบัญญัติอื่นๆก็หยิบยืมมาตรานี้ไปใช้
เริ่มแล้ว! ศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมคดี“พิธา”ถือหุ้นITV ก่อนวินิจฉัยบ่าย 2 วันนี้
เปิดเงื่อนไข “พิธา” กลับเข้าสภา หวนคืนหัวหน้าพรรค-แคนดิเดตนายกฯ
นายปิยบุตร บอกว่า เมื่อเริ่มต้นบังคับใช้ก็เกิดปัญหาตามมา เพราะห้ามไม่ได้เลย เพราะนักการเมืองที่อาจเคยถือหุ้นสื่อมา ก็อาจโอนให้ญาติก็ได้ หรือ แม้ไม่ได้ถือหุ้นสื่อโดยตรงก็อาจมีเพื่อนพ้อง ครอบครัว ที่ทำสื่อมานานและก็เชียร์นักการเมืองคนนั้นมานานแล้ว โดยเฉพาะปัจจุบัน สื่อไม่ได้มีเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ หรือ สื่อโทรทัศน์เท่านั้น ยังมีสื่อออนไลน์ที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้ และเป็นสื่อสาธารณะที่สามารถสื่อสารไปในวงกว้างได้
นายปิยบุตร จึงตั้งคำถามว่า การที่รัฐธรรมนูญถือหุ้นสื่อนั้นสุดท้ายเป็นเรื่องที่สมเจตนารมย์หรือไม่ สามารถป้องกันการครอบงำสื่อได้จริงหรือไม่ ซึ่งในมุมของตนนั้นมองว่า ไม่สามารถห้ามอะไรได้เลย ตรงกันข้าม กลับเป็นเครื่องมือในการทำนิติสงคราม เป็นเครื่องมือสกัดกลั่นแกล้งกัน ในทางการเมือง
ในขณะที่เมื่อไปดูองค์กรที่ทำหน้าที่วินิจฉัยตัดสินคดีก็มีหลายองค์กร มีตั้งแต่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งศาลอุทธรณ์แผนกคดีเลือกตั้ง หรือแม้แต่ในชั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรืออย่างในอดีตศาลอาญาแผนกคดีเลือกตั้ง ก็เคยทำหน้าที่วินิจฉัย
ซึ่งเมื่อรวบแนวทางวิจนิจฉัย กลับพบว่ามีแนวทางการตัดสิน หรือบรรทัดฐาน ที่ไม่เหมือนกัน จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการทบทวนว่าการกำหนดเรื่องนักการเมืองห้ามถือหุ้นสื่อนั้นยังมีประโยชน์จริงหรือไม่ แต่ในมุมของตนมองว่าไม่จำเป็นต้องกำหนดเรื่องนี้ในลักษณะต้องห้ามของนักการเมืองอีกแล้ว
ด้านนายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.)ได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ข้อความบางช่วงระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญเท่ากับเสาหลักนิติรัฐนิติธรรม รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร
การวินิจฉัยคดีการถือหุ้นสื่อITV ของนายพิธาในวันนี้ จึงเป็นคำวินิจฉัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตความเป็นไปของบ้านเมือง ด้วยเหตุที่มีผู้พยายามบิดเบือน ปั่นกระแส กดดันเพื่อทำให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามแนวทางที่พวกเขากดดัน
โดยการออกคลิปปกปิดข้อเท็จจริงและเลือกชูเฉพาะข้อเท็จจริงบางประการ เพื่อเป็นประโยชน์ส่วนตน พร้อมทั้งผูกนิตินิยายสร้างวาทกรรมนิติสงครามขึ้น กดดันคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจึงจำเป็นต้องเปิดข้อเท็จจริง แนวทางคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา และบอกว่า ส่วนตัวเชื่อว่า บริษัทITV ยังเป็นกิจการสื่อมวลชน นายพิธาจึงน่าจะขาดคุณสมบัติ ความเป็นสส.
หากย้อนไปก่อนหน้านี้ นายสมชายได้โพสต์ เหตุผลที่ไอทีวียังเป็นสื่อ ไว้ 4 ข้อหลักๆคือ การที่ไอทีวีมีสถานะความเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีวัตถุประสงค์ จดแจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเกี่ยวกับสื่อรวม5 ข้อ และเคยชนะคดีเบื้องต้นแล้ว 2ยก รัฐต้องคืนคลื่นความถี่และชดใช้ค่าเสียหาย โดยแม้ไม่ได้ประกอบกิจการแล้วแต่ยัง
แต่ยังมีบริษัทลูกประกอบกิจการสื่อ และแม้นายพิธาจะถือหุ้นเพียงเล็กน้อย แต่ศาลเคยมีคำวิจฉัยให้นักการเมือง พ้นจากสมาชิกภาพ แม้ถือหุ้นเพียง1หุ้น
กางคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ "พิธา" ไม่สิ้นสุด สส.คดีหุ้น ITV
ปฏิทินวันพระ 2567 ตรงกับวันที่เท่าไรบ้าง วางแผนทำบุญได้ตลอดปี
ผลบอลเอเชียน คัพ 2023 อินเดีย-ฮ่องกง ไม่ช่วย ไทยยังไม่เข้ารอบ 100 %