ประกาศ กฎ ก.ตร. "บุคคลล้มละลาย" ที่ไม่ได้เกิดจากการทุจริต รับราชการตำรวจต่อได้

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ประกาศ กฎ ก.ตร. “บุคคลล้มละลาย” ที่ไม่ได้จากกรณีทุจริต และไม่ได้เกิดจากการกระทำผิดของตัวเอง สามารถรับราชการตำรวจต่อไปได้ มีผลตั้งแต่ 11 ต.ค. 2567 เป็นต้นไป

วันที่ 10 ตุลาคม 2567 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 ระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.ตร.ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 (2) มาตรา 71 (5) และมาตรา 136 (3) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 และมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จึงออกกฎ ก.ตร. ไว้ดังต่อไปนี้

คอนเทนต์แนะนำ
โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหาร-ตำรวจชั้นสัญญาบัตร
“ทักษิณ-เพื่อไทย” ผิดล้มล้างการปกครอง หรือผิดที่ขับ “พลังประชารัฐ”

บุคคล้มละลายที่ไม่ใช่ทุจริต รับราชการตำรวจได้ ราชกิจจานุเบกษา
กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567

ข้อ 1 กฎ ก.ตร. นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งกฎ ก.ตร.ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"(1) เป็นผู้ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย"

ข้อ 3 การใดอยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2566 ก่อนวันที่กฎ ก.ตร. นี้มีผลใช้บังคับ การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ตร. นี้

โดยเหตุผลของการประกาศใช้กฎ ก.ตร. ฉบับนี้ โดยที่ มติ ครม.เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2565 เห็นชอบแก้ไขหลักการว่าการกำหนดข้อจำกัดในการดำรงตำแหน่งหรือการประกอบอาชีพของบุคคลล้มละลายในกฎหมายปัจจุบันหลายฉบับ ส่งผลให้จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและทำให้สูญเสียบุคลากรสำคัญผู้มีความรู้ความสามารถ ซึ่งการเป็นบุคคลล้มละลายไมได้ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานและเจ้าหนี้จะได้รับประโยชน์จากการเป็นลูกหนี้มีรายได้

ดังนั้นหากเป็นบุคคลล้มละลายที่ไม่ใช่กรณีทุจริต รวมทั้งที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำผิดของตัวเอง เช่น เป็นผู้ค้ำประกัน ก็ควรให้รับราชการต่อไปได้ แต่หากเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ตามคำนิยามของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 นี่หมายความว่า บุคคลล้มละลายที่ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดตามมาตรา 163 ถึงมาตรา 170 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 นี้หรือเป็นบุคคลล้มละลายอันเนื่องมาจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดฐานยักยอกหรือฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาหรือการกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ก็ควรสั่งให้ออกจากราชการ จึงเป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎ ก.ตร.ดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 26 กรกฎาคม 2565 จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ตร. นี้

“ติ๊ก ชิโร่” ขับรถตู้ชน จยย.ดับ 1 สาหัส 1 ยืนรอมอบตัว ก้มกราบเท้าขอโทษ

สคบ. จ่อเรียก 3 ดาราดัง บอส The iCon Group ให้ข้อมูลสัปดาห์หน้า

รวมข้อมูลพร้อมพิกัดบูธ “สัปดาห์งานหนังสือแห่งชาติ 2567” ครั้งที่ 29

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ