ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ลอตเตอรี่ 1/2/65
สหรัฐฯ มีแผนเตรียมส่งทหารไปประจำการยุโรป เร็วนี้
ราคาน้ำมันโลกแนวโน้มขึ้นต่อ จ่อแตะ 93.2 เหรียญ/บาร์เรล จับตาสหรัฐฯคว่ำบาตรรัสเซีย
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า วุฒิสภาสหรัฐฯ เตรียมผ่านร่างกฎหมายเพื่อคว่ำบาตรรัสเซียจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อเกินสองเดือนแล้ว โดยกฎหมายดังกล่าวจะมีมาตรการบางข้อที่มีผลบังคับใช้ก่อนที่รัสเซียจะบุกยูเครน
สำหรับท่าทีผู้ของวุฒิสมาชิกจากทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันนั้นสนับสนุนยูเครนอย่างเต็มที่ โดย บ็อบ เมเนนเดซ ผู้นำของพรรคเดโมแครตประจำคณะกรรมาธิการต่างประเทศของวุฒิสภา กล่าวว่าร่างกฎหมายดังกล่าวใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระดับสูงของประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะจัดประชุมลับเพื่อชี้แจงสถานการณ์ต่าง ๆ ให้แก่วุฒิสมาชิกทุกคนรับทราบในวันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้
ยูเครนประกาศชัดขอให้รัสเซียถอนกำลังออกจากชายแดนทันที | 31 ม.ค. 65 | รอบโลก DAILY
โดยมาตรการคว่ำบาตรอาจเป็นมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจผ่านธนาคารและสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในรัสเซีย หากเกิดขึ้นจริงอาจส่งผลให้รัสเซียต้องเผชิญหน้ากับภาวะเงินเฟ้อรุนแรง นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัสเซียถูกคว่ำบาตร รัสเซียเคยเผชิญกับการคว่ำบาตรไปแล้วเมื่อปี 2014 จากเหตุการณ์ผนวกคาบสมุทรไครเมีย ทำให้รัสเซียเสียดุลเศรษฐกิจจากยุโรปและสหรัฐฯ ไปถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี 2014-2016 และทำให้เศรษฐกิจรัสเซียตกต่ำอย่างมาก
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ได้ประกาศชัดว่าหากรัสเซียบุกยูเครนจริง สหรัฐฯ จะคว่ำบาตรเฉพาะบุคคลกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ด้วย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้รัฐบาลเครมลินอย่างมาก
ด้านนายเซอร์เกย์ ราฟลอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซีย ได้แถลงถึงกรณีที่สหรัฐฯ จะคว่ำบาตรรัสเซียว่า รัสเซียต้องการความสัมพันธ์ที่ดีและความเคารพจากสหรัฐฯ เหมือนประเทศอื่น ๆ
ยูเครนขอให้รัสเซียถอนทหารออกจากชายแดนทันที
ด้านฝั่งยูเครน มีความเคลื่อนไหวจากรัฐบาลเคียฟ โดยนายดมิโตร คูเลบา รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศยูเครนได้โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ว่า หากรัสเซียต้องการลดความตึงเครียดของสถานการณ์ในตอนนี้ลง รัสเซียต้องถอนกำลังที่ประชิดชายแดนยูเครนออกไปก่อนแล้วใช้วิธีการเจรจาทางการทูตเป็นเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยเขาย้ำว่าทางออกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหานี้ คือ การใช้วิธีทางการทูต
ตอนนี้กองกำลังรัสเซียอยู่ตรงไหนและมีการวางกองกำลังอะไรบ้าง
กองกำลังรัสเซียพร้อมรบที่ประกอบไปด้วย พลปืนใหญ่ พลรถหุ้มเกราะและพลรถถัง คาดกันว่าขณะนี้ประจำการอยู่ที่เมืองเยลเนีย, คลินซึย, โซโลตี, โบกูชาร์, วอลโกกราด, รอสตอฟออนดอน และไครเมีย แห่งละไม่ต่ำกว่า 5,000 นาย ส่วนในแคว้นโดเนตสก์และลูฮานสก์ทางภาคตะวันออกของยูเครน ที่เป็นจุดการสู้รบระหว่างกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสนับสนุนรัสเซียและรัฐบาลยูเครนมาตั้งแต่ปี 2014 ก็มีทหารพร้อมรบ 20,000 นาย
เสียงจากทหารยูเครนในพื้นที่แนวรบด้านตะวันออกกล่าวว่า ปฏิบัติการทางการทหารที่นี่จะเป็นเหมือนในสมรภูมิสตาลินกราดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สำหรับรัสเซีย โดยทหารในพื้นที่เปรียบเทียบว่ายูเครนคือกับดักหนองน้ำ หากรัสเซียเข้ามาก็จะจมน้ำตาย
อย่างไรก็ตาม แม้จะข่มขู่รัสเซีย แต่ลึก ๆ แล้วทหารเหล่านี้ก็ไม่ได้ต้องการสงคราม พวกเขาไม่อยากให้เด็ก ๆ ต้องมาอยู่ท่ามกลางภาวะสงครามซึ่งเต็มไปด้วยยากลำบาก
ในขณะที่ทหารยูเครนพูดถึงเรื่องสงคราม การซ้อมรบก็กำลังจะเริ่มขึ้นในเบลารุส ล่าสุดมีภาพของทหารรัสเซียเดินทางถึงเบลารุสเพื่อเตรียมซ้อมรบร่วมกันแล้ว โดยตามกำหนดการจะเริ่มขึ้นระหว่างวันที่ 10-20 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ใช้เวลาทั้งหมด 10 วัน
ความมั่นคงทางพลังงานยุโรป สร้างความหนักใจให้นาโต
ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและรัสเซีย ล่าสุดทางฝั่งยุโรปก็เกิดภาวะเสียงแตกอย่างเห็นได้ชัดจนทำให้นาโตเป็นกังวลกับปัญหานี้ โดยเสียงที่แตกนั้น มีสาเหตุหลักมาจากความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในยุโรปที่ต้องพึ่งรัสเซียเป็นหลัก
โดยเสียงที่แตกนั้น มีสาเหตุหลักมาจากความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในยุโรปที่ต้องพึ่งรัสเซียเป็นหลัก
เมื่อวานนี้ ผู้นำองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต กล่าวว่า ยุโรปนั้นมีความเปราะบางด้านพลังงาน เพราะพึ่งพาเพียงผู้ผลิตเดียว คือ รัสเซีย ยุโรปควรหาตัวเลือกทางด้านพลังงานที่หลากหลายและมองหาผู้ผลิตรายอื่น ๆ ด้วย
สหภาพยุโรปนั้น นำเข้าพลังงานจากรัสเซียจำนวนมหาศาล เช่น ก๊าซธรรมชาติ ยุโรปนำเข้าจากรัสเซียถึงร้อยละ 40 ถ่านหิน ร้อยละ 46.7 และน้ำมันดิบร้อยละ 26.9 จะเห็นได้ว่าตัวเลขการนำเข้าพลังงานดังกล่าวนั้นสูงมาก หากยุโรปมีปัญหากับรัสเซีย ยุโรปจะเป็นคนที่ตกที่นั่งลำบากเสียเอง และข้อเสนอของนาโตนั้นเป็นสิ่งที่พูดได้ง่ายแต่ทำได้ยาก เนื่องจากการหาแหล่งพลังงานมาทดแทนรัสซียนั้นเป็นเรื่องที่ยาก ความจริงข้อนี้ยืนยันโดยนอร์เวย์ซึ่งเป็นผู้ส่งก๊าซอันดับสองให้เยอรมัน นอร์เวย์กล่าวว่าเองก็ไม่สามารถผลิตก๊าซทดแทนรัสเซียได้
อย่างไรก็ตาม พี่ใหญ่อย่างสหรัฐฯ พยายามช่วยยุโรปหาทางออกจากปัญหานี้ โดยสหรัฐฯ ได้ทูลเชิญเชค ทามีม อัลซานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์เข้าร่วมหารือถึงความเป็นไปได้ในการส่งพลังงาน LNG มายังยุโรปเพือทดแทนหากรัสเซียหยุดส่งพลังงาน
รัสเซียกังวลแนวป้องกันตนเองของนาโตเคลื่อนเข้ามาใกล้
ความมั่นคงด้านพลังงานทำให้ยุโรปกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับปัญหาความขัดแย้งรัสเซียยูเครนที่เกิดขึ้น และกำลังท้าทายความเป็นเอกภาพของสหภาพยุโรปในเวลาเดียวกัน กาตาร์จะสามารถเปลี่ยนเกมนี้ได้หรือไม่ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป