โดย 141 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย เห็นด้วยกับมติดังกล่าว โดยแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่รัสเซียรุกรานยูเครน
เช่นเดียวกับเมียนมาที่สนับสนุนมตินี้ บางคนอาจจะสงสัย เพราะที่ผ่านมา รัฐบาลทหารเมียนมาได้แสดงการสนับสนุนประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน อีกทั้งบอกว่าการกระทำของรัสเซียเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เหตุผลก็คือ ผู้แทนถาวรของเมียนมาประจำสหประชาชาติ ยังคงเป็นนายจ่อ โม ทุน ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลชุดก่อน ที่เป็นรัฐบาลพลเรือนของอองซาน ซูจี
รัสเซียยกระดับโจมตี ส่งทหารพลร่มบุกคาร์คิฟ
แรงงานไทยเปิดใจวินาทีหนีตายในเมืองเคียฟ
ขณะที่ 5 ประเทศที่ไม่รับรองมตินี้ คือ รัสเซีย เบลารุส ซีเรีย เกาหลีเหนือ และเอริเทีย ส่วนชาติที่งดออกเสียงมี 35 ประเทศ เช่น จีน อินเดีย เวียดนาม และลาว ซึ่งส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซีย
ดร. สุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ได้แถลงต่อที่ประชุมภายหลังการลงมติว่า ไทยได้ให้ความสำคัญกับกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงความกังวลต่อผลกระทบจากเหตุการณ์นี้
“กระผมโหวตสนับสนุนมติเนื่องจากไทยให้ความสำคัญกับหลักการในกฎบัตรสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเคารพในบูรณภาพแห่งดินแดน และการไม่ใช้กำลังต่อรัฐ นอกจากนี้ การสนับสนุนมติดังกล่าวของไทยยังมาจากความกังวลอย่างยิ่งต่อความเดือดร้อนของพลเรือนและผลกระทบด้านมนุษยธรรมจากภัยอันตรายและความรุนแรงในพื้นที่" ดร. สุริยา กล่าว
ฟิตช์-มูดี้ส์ จัดอันดับความน่าเชื่อถือรัสเซียเป็น "ขยะ"
นายสุริยา ยังกล่าวเรียกร้องให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และขยายการเจรจาเพื่อหาข้อยุติโดยสันติให้กับสถานการณ์ดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ไทยต้องละเอียดรอบคอบ และเป็นกลางต่อความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ด้านนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไทย กล่าวว่า ไทยอาจจำเป็นต้องปรับนโยบายเกี่ยวกับความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน โดยจะไม่รีบประณามรัสเซีย เพราะจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น และจะพยายามรักษาความเป็นกลางไว้ รวมถึงพร้อมเป็นหนึ่งในคนกลางเจรจาหาทางออกร่วมกับทุกฝ่าย
ข้อสังเกตจากถ้อยแถลงของสุริยาคือ แม้จะมีการลงมติเห็นชอบประณามรัสเซีย แต่ในถ้อยแถลงกลับไม่มีคำว่า “รัสเซีย” อยู่เลย จึงอาจมองได้ว่า เป็นหนึ่งในความพยายามในการรักษาความสัมพันธ์ทางการทูตเอาไว้
ทีนี้ พอไทยโหวตตามเสียงส่วนใหญ่ประณามรัสเซีย และเรียกร้องให้ถอนทหารทันที ก็ทำให้เกิดความสงสัยว่าย้อนแย้งกันไหม ทีมข่าวต่างประเทศเลยพูดคุยกับคุณกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูตประจำกรุงมอสโก เกี่ยวกับท่าทีล่าสุดของผู้แทนรัฐบาลไทย โดยคุณกษิตมองว่า ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนท่าทีแต่อย่างใด และมองว่าเป็นการแสดงความยึดมั่นในหลักการมากกว่า
ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะเริ่มไต่สวนรัสเซีย ก่ออาชญากรรมสงคราม
"เกี่ยวกับคำว่าความเป็นกลางนั้น ตามความเข้าใจของผม หมายความว่าประเทศไทยจะไม่ไปเป็นคู่กรณีในการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครน อันนั้นก็เป็นเรื่องของการพูดในหลักการ ว่าจะเป็นกลาง คือไม่ถือหางฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด คุณกษิต ระบุ
ส่วนอันที่สองคือเมื่อมีการอภิปรายในสมัชชาใหญ่ นั่นเป็นเรื่องหลักการและกติการะหว่างประเทศไว้"
เมื่อถามถึงหลายประเทศที่เคยเป็นกลาง หรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดมายาวนาน เช่น สวิตเซอร์แลนด์ หรือฟินแลนด์ ยังเปลี่ยนจุดยืน ออกมาตรการคว่ำบาตร คุณกษิตมองว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ เมื่อชายแดนหรือกองทัพมาประชิดกัน ต่างฝ่ายต่างต้องคิดถึงความอยู่รอดเป็นสำคัญ
"ที่เขาเปลี่ยนท่าทีมาเป็นอย่างนี้ แล้วก็รวมเป็นปึกแผ่นกับสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตกที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหมดนั้น เพราะเขาเป็นห่วงว่าฝ่ายปูตินได้คืบแล้วจะเอาศอก ปูตินคงจะยึดครองยูเครนได้ภายในไม่กี่สัปดาห์นี้และคงไม่จบแค่นั้น"
ทั้งนี้ ในส่วนที่ไทยจะทำได้ คุณกษิตมองว่า เรายังมีขีดความสามารถในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งตนก็เรียกร้องประเด็นนี้เช่นกันในช่วงที่ผ่านมา ทั้งอาหารและเวชภัณฑ์ ส่วนประเด็นการช่วยเหลือผู้อพยพ มองว่า ยังไม่ต้องไปไกลขนาดนั้น เพราะไทยยังมีปัญหามากที่ชายแดนของตัวเอง แต่ก็ยังนิ่งเฉยอยู่ จึงควรช่วยเหลือแค่ปัญหาเฉพาะหน้าก่อน
แม้ว่ามติของที่ประชุมดังกล่าวไม่มีผลผูกพันใดๆทั้งนั้น โดยเป็นลักษณะการออกมติทางการเมืองมากกว่า แต่ทูตยูเครนประจำสหประชาชาติก็ได้กล่าวขอบคุณเสียงสนับสนุนทุกเสียง
ราคาทองวันนี้ ปิดตลาดลด 100 บาท แกว่งช่วงแคบ ปรับราคา 4 ครั้ง
ด้านประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ ระบุว่า มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แสดงให้เห็นถึงความโกรธเกรี้ยวของทั่วโลกที่มีต่อการรุกล้ำอธิปไตยของเพื่อนบ้านอย่างน่าเกลียด และเป็นการแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลกอย่างไม่เคยมีมาก่อน