เยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยุโรป พยายามที่จะพึ่งพาแหล่งพลังงานของรัสเซียน้อยลง จึงได้บรรลุข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานในระยะยาวกับกาตาร์แล้ว
ที่ผ่านมา รัสเซียเป็นซัพพลายเออร์ก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดให้กับเยอรมนี แต่นับตั้งแต่ที่รัสเซียเริ่มบุกยูเครน โรเบิร์ต ฮาเบ็ค รัฐมนตรีเศรษฐกิจของเยอรมนี ก็ได้ริเริ่มแผนการต่าง ๆ ที่จะลดการพึ่งพารัสเซีย
สาเหตุ “เบอร์เกอร์คิง” หยุดกิจการ 800 สาขาในรัสเซียไม่ได้
ยูเครนได้อาวุธแบบไหนมาบ้าง จากสหรัฐฯ และชาติตะวันตก
หมีขาวปลุกพญาอินทรีดำ เยอรมนีส่งออกอาวุธอีกครั้ง หลังรัสเซียบุกยูเครน
โดยเมื่อวันอาทิตย์ (20 มี.ค.) ที่ผ่านมา ชีค ทามิม บิน ฮาหมัด อัล ทานี เจ้าผู้ครองกาตาร์ ได้พบกับฮาเบค และทั้งสองได้หารือถึงวิธีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคพลังงาน
โฆษกกระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนียืนยันว่า ข้อตกลงได้รับการสรุปแล้ว “บริษัทต่าง ๆ ที่เดินทางมาที่กาตาร์พร้อมกับฮาเบ็ค จะเข้าสู่การเจรจาสัญญากับฝ่ายกาตาร์”
ในแถลงการณ์ กาตาร์กล่าวว่า กาตาร์พยายามจัดหาก๊าซธรรมชาติให้กับเยอรมนีมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ก่อนหน้านี้การหารือไม่เคยก้าวไปสู่ข้อตกลงที่เป็นรูปธรรมเลย
กาตาร์กล่าวว่า ยังได้ตกลงกับเยอรมนีว่า “หน่วยงานทางการค้าของตนจะมีส่วนร่วมอีกครั้ง และดำเนินการหารือเกี่ยวกับการจัดหา LNG ในระยะยาว”
นอกจากนี้ ฮาเบ็คยังได้พบกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกาตาร์ด้านกิจการพลังงาน ซาด เชริดา อัล-คาบี ซึ่งพวกเขาได้หารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างเยอรมนีและกาตาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก
หลังจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย เยอรมนีระงับโครงการท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 2 (Nord Stream 2) ที่ออกแบบมาเพื่อส่งก๊าซธรรมชาติของรัสเซียมายังเยอรมนีโดยตรงผ่านทะเลบอลติก
อย่างไรก็ตาม มีความกังวลว่า พลังงานในเยอรมนีจะเยงพอหรือไม่หากลดการพึ่งพารัสเซีย เพราะเยอรมนีตั้งใจที่จะยุติการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ภายในสิ้นปีนี้
ที่ผ่านมา เยอรมนีนำเข้าก๊าซธรรมชาติประมาณ 5.2 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรจากรัสเซียในปี 2020 หรือคิดเป็นเกือบ 65% ของการนำเข้าก๊าซธรรมชาติของเยอรมนี ส่วนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติทั้งหมดของสหภาพยุโรปจากรัสเซียอยู่ที่ประมาณ 1.55 แสนล้านลูกบาศก์เมตร
ยูเครนยืนยัน ไม่มีวันยอมวางอาวุธยกเมืองมาริอูโปลให้รัสเซีย
รู้จัก"เดลตาครอน" โควิด-19ลูกผสมตัวใหม่ที่โลกจับตา
ขณะที่ในปี 2020 กาตาร์ส่งออก 1.06 แสนล้านลูกบาศก์เมตร แต่ส่วนมากขายให้กับตลาดในเอเชีย กาตาร์คาดว่าจะเพิ่มการผลิต LNG ได้เกือบ 2 เท่าภายในปี 2025
เรียบเรียงจาก Al Jazeera
ภาพจาก AP