“พลังงานนิวเคลียร์” จำเป็นต่อการลดภาวะโลกร้อนของเอเชีย?

โดย PPTV Online

เผยแพร่

“พลังงานนิวเคลียร์” ถูกพูดถึงอีกครั้ง หลังภูมิภาคเอเชียยังคงมีอัตราการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่สูง ท่ามกลางภารกิจลดภาวะโลกร้อนที่ดูไม่คืบหน้า

เมื่อพูดถึงปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หนึ่งในตัวการสำคัญที่ทั่วโลกพยายามสื่อสารมาโดยตลอด คือการปล่อยคาร์บอนจำนวนมากจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยเฉพาะการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จำพวก น้ำมัน ถ่านหิน ในการเป็นแหล่งพลังงาน

“เอเชีย” เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ยังคงมีการเผาถ่านหินเป็นจำนวนมาก เพื่อกระตุ้นการเติบโตการเศรษฐกิจ และต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนพลังงาน โดยมีหลายประเทศที่ถูกมองว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะจีนและอินเดีย

ไม่ใช่แค่โลกร้อน มนุษย์กำลังทำให้สภาพภูมิอากาศโลก “โกลาหล”

“เพนกวินจักรพรรดิ” ขั้วโลกใต้ เสี่ยงสูญพันธุ์ เมื่อธารน้ำแข็งกำลังละลาย

“โอกาสสุดท้ายในการลดโลกร้อน” ต้องลดระดับการปล่อยคาร์บอนให้ได้ใน 3 ปี

เรื่องของ “พลังงานนิวเคลียร์” จึงเริ่มกลับมาเป็นกระแสพูดกันหนาหูมากขึ้น ว่าเป็นพลังงานที่ใช้ได้นาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในเอเชีย พลังงานนิวเคลียร์ยังมีสถานะเป็นเหมือนปีศาจร้าย จากความเสี่ยงต่อสุขภาพ ชีวิต และทรัพย์สิน หากโรงงานนิวเคลียร์เกิดการรั่วไหลหรือระเบิด

ทั้งนี้ พลังงานนิวเคลียร์ เป็นแหล่งพลังงานที่มีข้อมูลว่า สามารถผลิตพลังงานได้โดยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าถ่านหิน 70 เท่า น้อยกว่าก๊าซธรรมชาติ 40 เท่า น้อยกว่าพลังงานแสงอาทิตย์ 4 เท่า น้อยกว่าไฟฟ้าพลังน้ำ 2 เท่า และปล่อยคาร์บอนเทียบเท่ากับพลังงานลม แต่พลังงานที่ได้รับเหนือกว่ามาก

ในรายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) เตือนว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกจะอยู่ในระดับสูงสุดได้ถึงแค่ปี 2025 เท่านั้น และหลังจากนั้นภายใน 5 ปีจะต้องลดลงอย่างมาก หากต้องการรักษาโลกไม่ให้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส

ศาสตราจารย์จิม สเกีย จากอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน ประธานร่วมของผู้จัดทำรายงาน บอกว่า “ต้องเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ถ้าเราต้องการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส หากไม่มีการลดการปล่อยมลพิษในทุกภาคส่วนในทันทีและอย่างลึกซึ่ง ก็จะเป็นไปไม่ได้เลย”

ด้านอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า “มันเลวร้าย มันเป็นความอัปยศ เป็นคำมั่นสัญญาที่ว่างเปล่า เรากำลังก้าวไปสู่โลกที่จะอาศัยอยู่ไม่ได้ เรากำลังอยู่บนเส้นทางที่จะนำไปสู่ภัยพิบัติสภาพภูมิอากาศ”

กูเตอร์เรสเสริมว่า “การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ ที่ยังคงเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล ถือเป็นเรื่องบ้าทั้งทางเศรษฐกิจและศีลธรรม”

ในการประชุม COP26 ที่กลาสโกว์ในเดือน พ.ย. 2021 พลังงานนิวเคลียร์เป็นประเด็นที่ถูกนำเสนอต่อเกือบ 200 ประเทศที่เข้าร่วม ในฐานะหนึ่งในกลยุทธ์การลดคาร์บอนที่มีศักยภาพ และรัฐบาลทั่วเอเชียต่างกำลังพิจารณาการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้มากขึ้น

สิงคโปร์เป็นประเทศล่าสุดที่ประกาศจะเปลี่ยนแปลงแหล่งพลังงานของประเทศ โดยในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา อัลวิน แทน รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ ได้แจกแจงตัวเลือกพลังงานที่จะนำมาใช้ในสิงคโปร์ในอนาคต ทั้งพลังงานไฮโดรเจน พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังงานนิวเคลียร์

ทั้งนี้ การพูดคุยเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ถือเป็นการปฏิวัติสำหรับสังคมสิงคโปร์ เพราะเมื่อปี 2012 ผลการศึกษาในประเทศมีข้อสรุปว่า “เทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดใหญ่ไม่เหมาะสำหรับการปรับใช้ในสิงคโปร์”

แต่โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในปัจจุบันอาจมีขนาดเล็กกว่ามาก มีระบบระบายความร้อนที่ดีขึ้น ปิดเครื่องได้เร็วขึ้น และตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้เร็วขึ้น

“สิ่งเหล่านี้รวมถึงเครื่องปฏิกรณ์แบบแยกส่วนขนาดเล็กหรือ SMR และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ Generation IV ซึ่งมีระบบความปลอดภัยขั้นสูงที่อาจเป็นไปไม่ได้สำหรับเทคโนโลยีรุ่นเก่า” แทนกล่าว

อนามัยโลกชี้ “ฝีดาษลิง” เป็น “ภัยเสี่ยงระดับปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโลก

เข้าใจ “นิวเคลียร์” และ “ไอน์สไตน์” ในวันที่รัสเซีย-ยูเครนอาจเกิด “สงครามนิวเคลียร์”

“ความยั่งยืน-ปัญหาแรงงาน-อัตราเงินเฟ้อ” 3 การเปลี่ยนแปลงสำคัญในปีนี้

สิงคโปร์จัดสรรเงิน 63 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 1.57 พันล้านบาท) ในปี 2014เพื่อศึกษาความปลอดภัยและการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ แต่แทนยอมรับว่า รัฐบาลยังไม่ได้ประเมินสัดส่วนแหล่งพลังงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสิงคโปร์

อนิล กาโกธาร์ นักฟิสิกส์นิวเคลียร์และอดีตประธานคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูของอินเดีย กล่าวว่า “ไม่มีกิจกรรมใดที่ไม่มีความเสี่ยง คุณอาจพูดว่ารังสีทำให้เกิดมะเร็ง ผมอาจพูดว่ารังสีรักษามะเร็งได้ และทั้งสองอย่างเป็นความจริง”

เขาเสริมว่า “ถ้าเรามีพลังงานนิวเคลียร์อยู่ในระบบพลังงานเพียงพอ และเราประสบความสำเร็จในการหลีกเลี่ยงการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนและลดภาวะโลกร้อนได้ เราก็จะหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตของคนจำนวนมากอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้”

 

เรียบเรียงจาก Nikkei Asia

ภาพจาก AFP

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ