ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ผู้ที่เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ ก็คือ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ รัชทายาทอันดับ 1
โดยการตัดสินพระทัยแรกของ ตือการเลือกพระนามที่จะทรงใช้ในฐานะกษัตริย์ 4 ชื่อ จากพระนามเต็ม ชาร์ลส์ ฟิลิป อาเธอร์ จอร์จ และทรงเลือกใช้พระนาม ชาร์ลส์
"London Bridge is down" รหัสลับ "สะพานลอนดอนล่ม" เมื่อควีนเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคต
ประวัติ “ควีนเอลิซาเบธที่ 2” กษัตริย์ผู้ครองราชย์ยาวนานที่สุดของสหราชอาณาจักร
โลกอาลัย! สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคตอย่างสงบ
ทั้งนี้ ทรงเป็นกษัติร์ย์แห่งสหราชอาณาจักรพระองค์ที่ 3 ที่เลือกใช้พระนาม ชาร์ลส์ จึงมีพระนามในฐานะกษัตริย์ว่า “สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3” หรือ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3”
คาดว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะทรงได้รับการประกาศให้เป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการในวันเสาร์นี้ (10 ก.ย.) โดยสภาภาคยานุวัติหรือสภาการสืบราชบัลลังก์ ประกอบด้วยคณะองคมนตรี คณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาวุโสทั้งในอดีตและปัจจุบัน ข้าราชการระดับ ข้าหลวงใหญ่เครือจักรภพ และนายกเทศมนตรีลอนดอน
ในพิธีการ ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในลอนดอน ประธานองคมนตรีแห่งสภาองคมนตรีจะประกาศการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และประกาศการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3
จากนั้น พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะเสด็จร่วมพิธีการกับสภาภาคยานุวัติ เพื่อทรงประกาศพระปฐมบรมราชโองการ ซึ่งมักมีข้อความตามธรรมเนียมโบราณปะปนอยู่ด้วย เช่น จะทรงปฏิญาณว่า จะอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนจักรแห่งสกอตแลนด์ ตามธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18
ต่อจากนั้น จะมีการอ่านประกาศต่อสาธารณชนจากระเบียงเหนือลาน Friary Court ในพระราชวังเซนต์เจมส์ ว่า พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 เป็นประมุขแห่งสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพพระองค์ใหม่อย่างเป็นทางการ โดยจะมีเสียงสรรเสริญขึ้นว่า “ขอพระเจ้าคุ้มครองพระราชา (God save the King)” และจะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1952 ที่เพลงชาติของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีชื่อเดียวกับข้อความสรรเสริญดังกล่าว จะเปลี่ยนเนื้อที่ร้องว่า “God save the Queen” เป็น “God Save the King”
นอกจากนี้ จะมีการยิงสลุตในไฮด์พาร์ค หอคอยแห่งลอนดอน และขบวนเรือหลวง และคำประกาศที่ว่าพระเจ้าชาร์ลส์เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่จะถูกอ่านในเอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟาสต์ ด้วย
หลังจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ขึ้นครองราชย์ จะต้องมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งคาดว่าอาจใช้เวลาหลายเดือนในการเตรียมการ จึงคาดว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกไม่น่าจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้
แม้แต่สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 เอง ก็ทรงขึ้นครองบัลลังก์ในเดือน ก.พ. 1952 แต่มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นในเดือน มิ.ย. 1953
ตลอด 900 ปีที่ผ่านมา พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะจัดขึ้นที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ โดยพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต (William the Conqueror) เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่นั่น และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะเป็นพระองค์ที่ 40
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะมีขึ้นตามแนวทางของศาสนจักรอังกฤษ ประกอบพิธีโดยอัครมุขนายกแห่งแคนเทอร์เบอรี ผู้นำนิกายแองกลิกัน
จุดสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอยู่ที่การสวมพระมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด ซึ่งทำขึ้นตั้งแต่ปี 1661 ด้วยทองคำล้วนหนัก 2.23 กิโลกรัม ลงบนพระเศียรของกษัตริย์พระองค์ใหม่ รวมทั้งพิธีกรรมการเจิมน้ำมันหอม ที่ทำจากส้ม กุหลาบ อบเชย มัสก์ และแอมเบอร์กริส พิธีรับคทาและลูกโลกประดับกางเขนจากอัครมุขนายกแห่งแคนเทอร์เบอรี
หลังเสด็จขึ้นครองราชย์ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะเป็นประมุขแห่งสหราชอาณาจักร และจะทรงมีสถานะเป็นผู้นำเครือจักรภพ ซึ่งเป็นสมาคมจาก 56 ประเทศหรือรัฐอิสระที่มีประชากรรวม 2.4 พันล้านคน ในจำนวนนี้ มี 14 ประเทศที่จะมีพระเจ้าชาร์ลส์ทรงเป็นประมุข ได้แก่ ออสเตรเลีย แอนติกาและบาร์บูดา บาฮามาส เบลีซ แคนาดา เกรนาดา จาเมกา ปาปัวนิวกินี เซนต์คริสโตเฟอร์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ นิวซีแลนด์ โซโลมอน และหมู่เกาะตูวาลู
เรียบเรียงจาก BBC
พรีเมียร์ลีก จ่อเลื่อนหลังสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต