รายงานการประเมินผลที่สนับสนุนโดยสหประชาชาติ ยืนยันว่า “พิธีสารมอนทรีออล” เกี่ยวกับการควบคุมสารเคมีที่ทำลายบรรยากาศชั้นโอโซน ประสบความสำเร็จด้วยดี หลังบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 1987 รายงานฉบับนี้พบว่าสารเคมีประเภทต่างๆ ถึง 99% ที่ทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนได้ถูกยุติการใช้งานไปแล้ว และประเมินว่าหากนโยบายเช่นนี้ยังดำเนินต่อไป ภายในปี 2040 บรรยากาศชั้นโอโซนเกือบทั้งโลก
ฤดูหนาวที่ไม่หนาว! ยุโรปเผชิญคลื่นความร้อนรับปีใหม่
สภาพอากาศวันนี้! เหนืออากาศเย็นถึงหนาว อีสานเจอฝนบางแห่ง
ยกเว้น ทวีปแอนตาร์กติก และ ทวีปอาร์กติก จะกลับไปมีสภาพเหมือนเมื่อช่วงก่อนปี 1980 ซึ่งยังไม่พบรูโหว่ ส่วนบรรยากาศชั้นโอโซนเหนือทวีปอาร์กติกจะฟื้นสภาพโดยสมบูรณ์ในปี 2045 ส่วนทวีปแอนตาร์กติกา จะเกิดขึ้นประมาณปี 2066 สำหรับบรรยากาศชั้นโอโซนเป็นบรรยากาศชั้นบางๆ ที่ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี ไว้เกือบทั้งหมด ซึ่งหากบรรยากาศในชั้นนี้มีขนาดลดลงไป จะทำให้รังสีดังกล่าวส่องลงมายังพื้นโลกได้มากขึ้น และ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่นเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังในมนุษย์
บรรยากาศชั้นโอโซนเริ่มมีขนาดเล็กลงตั้งแต่ช่วงปี 1970 ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการใช้สารเคมีประเภท “คลอ-โร-ฟลู-ออ-โร-คาร์-บอน หรือ สาร CFCs ที่มักพบในสีกระป๋อง ตู้เย็น ฉนวนโฟม และเครื่องปรับอากาศ
โดยในปี 1985 มีการค้นพบรูโหว่ในชั้นบรรยากาศชัดเจนเป็นครั้งแรก และพบว่าในปี 2000 รูโหว่ในบรรยากาศชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์ติกาขยายขนาดใหญ่ที่สุดคือ 29.9 ล้านตารางกิโลเมตร แต่หลังจากนั้นเริ่มมีขนาดเล็กลง โดยเมื่อเดือน ต.ค.ปี 2022 สถาบันสมุทรศาสตร์ของสหรัฐฯรายงานว่ารูโหว่มนส่วนนี้มีขนาดเล็กลงเหลือ 23.2 ล้านตารางกิโลเมตร