จรวดยักษ์ของ “อิลอน มัสก์” ระเบิดกลางท้องฟ้า

โดย PPTV Online

เผยแพร่

บริษัทสเปซเอ็กซ์ของ อิลอน มัสก์ ได้ทำการทดสอบจรวดสตาร์ชิป จรวดที่ทรงพลังมากที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา แต่ได้เกิดระเบิดขึ้นขณะบินขึ้นสู่ท้องฟ้า

จรวดสตาร์ชิปได้เกิดระเบิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีหลังจากทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าจากฐานปล่อยจรวดสตาร์เบส (Starbase)ซึ่งเป็นสถานีขนส่งด้านอวกาศของบริษัทสเปซเอ็กซ์ในเขตโบคา ชิกา (Boca Chica)รัฐเท็กซัส เมื่อเวลา 09.33 น. เมื่อวานนี้ ตามเวลาสหรัฐฯ 

ตามแผนของการทดสอบ จรวดในส่วนที่เป็นยานสตาร์ชิป ซึ่งเป็นแคปซูลต้องแยกออกจากส่วนที่เป็นจรวดเครื่องยนต์ที่มีชื่อว่าซูเปอร์เฮฟวี่ (Super Heavy) ในเวลา 3 นาทีหลังจากปล่อยขึ้นสู่อากาศ

คอนเทนต์แนะนำ
เลือกตั้ง 2566 : วิธีดูบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ - สีบัตร ป้องกันความผิดพลาด! ก่อนเข้าคูหา
เช็กที่จัดงานทั่วไทย "วันไหล 2566" สงกรานต์พระประแดง-บ้านบึงเล่นตรงไหน
เลือกตั้ง 2566 : การมีส่วนร่วมของประชาชน คือ หัวใจของการเลือกตั้ง

 

แต่ปรากฎว่ายานแคปซูลไม่สามารถแยกออกมาจากจรวดที่เป็นส่วนเครื่องยนต์ได้ ก่อนระเบิดขึ้นกลายเป็นลูกไฟขนาดใหญ่เหนือทะเลอ่าวเม็กซิโก 

อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายเหตุระเบิดดังกล่าว ขณะที่สำนักงานบริหารการบินของสหรัฐฯในฐานะผู้ออกใบอนุญาตการปล่อยจรวดในสหรัฐฯจะเข้ามาทำการสืบสวนหาสาเหตุ 

คอนเทนต์แนะนำ
เขินทั้งไทม์ไลน์! “พลอย เฌอมาลย์” เผยรูปคู่ “โต้ง ทูพี” ชัดเจนแบบไม่ต้องเดา ถูกใจกองเชียร์
ตาแดงโควิด-19 ต่างกับ เยื่อบุตาอักเสบธรรมดาอย่างไร?
เลือกตั้ง 2566 : เลือกตั้งล่วงหน้า ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

แม้ว่าจรวดสตาร์ชิปได้เกิดระเบิดขึ้นทำให้ไม่สามารถอยู่ในอากาศได้ครบ 90 นาที และบินไปไม่ถึงวงโคจรตามที่วางแผนไว้  แต่บริษัทสเปซเอ็กซ์ ยืนยันว่าการทดสอบที่ได้ดำเนินการไปนับว่าประสบความสำเร็จแล้ว เนื่องจากบริษัทได้เรียนรู้และหาวิธีปรับปรุงการทำงานของจรวดสตาร์ชิป 

เช่นเดียวกับ อิลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสเปซเอ็กซ์ ที่แสดงความยินดีต่อการทดสอบจรวดสตาร์ชิป ซึ่งแม้เกิดเหตุระเบิดขึ้น แต่ก็เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทดสอบครั้งต่อไปในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

โดยก่อนหน้านี้ มัสก์เคยเตือนว่าการทดสอบจรวดขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดปัญหาทางเทคนิค  ซึ่งหากจรวดสตาร์ชิปสามารถทะยานออกจากฐานปล่อยขึ้นสู่อากาศได้ในระดับหนึ่งก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว 

สำหรับจรวดสตาร์ชิป สามารถบรรทุกน้ำหนักบรรทุกขึ้นสู่วงโคจรได้มากกว่า 100 ตัน โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ยานสตาร์ชิป ที่ทำหน้าที่ขนส่งลูกเรือและสิ่งของต่างๆไปยังอวกาศ และ อีกส่วนคือ จรววดเครื่องยนต์ ซุปเปอร์ เฮฟวี ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องยนต์ขับดัน หรือ บูสเตอร์ ที่พายานสตาร์ชิปขึ้นสู่วงโคจร ซึ่งการทดสอบเมื่อวานนี้เป็นครั้งแรกที่มีการนำยานสตาร์ชิปขึ้นบินร่วมกับจรวดซูเปอร์เฮฟวี่ 

โดยยานสตาร์ชิป ได้รับการคัดเลือกจากองค์การนาซ่าให้ทำหน้าที่พานักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ในปี 2025 ภายใต้โครงการอาร์ทิมิส3  (Artemis 3) ซึ่งจะเป็นการพามนุษย์กลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งของสหรัฐฯนับตั้งแต่โครงการอพอลโลสิ้นสุดลงเมื่อปี 1972 

ขณะที่เมื่อวานนี้ยังมีปรากฏการณ์สำคัญบนท้องฟ้าในภูมิภาคเอเชีแปซิฟิกนั่นคือสุริยุปราคา  โดยเมืองเอ็กซ์เมาท์ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย เป็นพื้นที่เพียงแห่งเดียวที่สามารถชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงได้

โดยท้องฟ้าเหนือเมืองดังกล่าวได้มืดสนิทเมื่อเงาดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์เต็มดวงในเวลา 11.27 น. ตามเวลาท้องถิ่น และกินระยะเวลานาน 58 วินาที

ส่วนในพื้นที่อื่นๆ ทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์  ฟิลิปปินส์ และปาปัวนิวกินี ประชาชนได้เห็นเพียงสุริยุปราคาบางส่วน 

คอนเทนต์แนะนำ
ปฏิทินวันหยุดเดือนพฤษภาคม 2566 วันหยุดราชการ-ธนาคาร วันไหนบ้าง
รู้แล้ว! ทำไมปีนี้ร้อนตับแตก ไฟป่าปะทุ เหตุปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังแรง
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566

Bottom-BDMS Bottom-BDMS

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ