เช็กที่จัดงานทั่วไทย "วันไหล 2566" สงกรานต์พระประแดง-บ้านบึงเล่นตรงไหน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วิถีการทำบุญของชาวทะเลช่วงหลังสงกรานต์ ที่เรียกว่า “ประเพณีวันไหล” เริ่มขึ้นแล้ว เช็กที่จัดงานทั่วไทย สงกรานต์พระประแดง-บ้านบึงเล่นน้ำตรงไหน

ช่วงเวลาที่สนุกสนาน บ่อยครั้งที่หลายคนก็ไม่อยากให้จบลง โดยเฉพาะถ้าได้หยุดยาวหลายๆ วันเหมือนอย่าง “วันสงกรานต์” ถ้าได้ไปสาดน้ำกันต่อ คงฟินกันสุดๆ

แน่นอนว่าก็มีเทศกาลหนึ่งของไทย ที่เป็นประเพณีจัดขึ้นต่อเนื่องหลังวันสำคัญนั้น ซึ่งเราคุ้นหูกันว่า “วันไหล” ที่สานต่อความรื่นเริงไปได้อีกประมาณหนึ่งสัปดาห์

แต่ในปีนี้จะมีสถานที่ไหนจัดงานบ้าง มาเช็กกันเลย!

คอนเทนต์แนะนำ
สงกรานต์ 2567 กับ 12 คำทัก-คำถามสุดจี๊ด วันรวมญาติที่ลูกหลานไม่ปลื้ม
“ราชพฤกษ์” ดอกไม้ประจำชาติ สัญลักษณ์เทศกาลสงกรานต์
เปิดประวัติ “วันสงกรานต์” กำเนิดเทศกาลเฉลิมฉลองของคนไทย

จังหวัดชลบุรี

วันที่ 16-17 เมษายน 2566 งานวันไหลบางแสน

วันที่ 18 เมษายน 2566 งานวันไหลนาเกลือ ณ ลานโพธิ์นาเกลือ

วันที่ 19 เมษายน 2566 งานวันไหลพัทยา ณ ชายหาดพัทยากลาง

วันที่ 20 เมษายน 2566 งานวันไหลบางเสร่

วันที่ 21-23 เมษายน 2566 งานวันไหลบ้านบึง ณ หน้าที่ว่าการอำเภอบ้านบึงและวัดบึงบวรสถิตย์ (วัดบึงล่าง)
 

จังหวัดระยอง

วันที่ 16-17 เมษายน 2566 งานวันไหลปลวกแดง ณ ตำบลบ้านปลวกแดง
 

จังหวัดสมุทรปราการ

วันที่ 21-23 เมษายน 2566 งานสงกรานต์พระประแดง  ณ บริเวณตลาดพระประแดง

"สงกรานต์ปากลัด"งานวันไหลยอดนิยมที่หลายคนสนใจ

ประเพณีสงกรานต์พระประแดง เดิมเรียกว่า "สงกรานต์ปากลัด" เป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีศิลปวัฒนธรรมซึ่งสืบทอดกันมา หัวใจของงาน คือ การจัดขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนแห่รถปุปผาชาติ การประกวดนางสงกรานต์และหนุ่มลอยชาย การฟื้นฟูสืบสานการละเล่นพื้นบ้าน สะบ้ามารัญ วัฒนธรรมการแต่งกายและวิถีชีวิตของชาวมอญ (ชาวไทยเชื้อสายรามัญ) 

ในปีนี้เป็นอีกปีที่มีกิจกรรมพิเศษเช่นกัน ได้แก่

  • วันที่ 21 เมษายน 2566 เวลา 18.00 น. จะมีการประกวดนางสงกรานต์พระประแดงและหนุ่มลอยชาย ณ เวทีประกวดหน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง
  • วันที่ 21-23 เมษายน 2566 เวลา 20.00 – 24.00 มีจัดการละเล่นสะบ้ารามัญตามหมู่บ้านต่างๆ การแสดงทะแยมอญ การแสดงแสงสี ณ อุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า การแสดงดนตรีไทย จากศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองพระประแดง ชมการกวนกาละแม ของดีเมืองพระประแดง
  • วันที่ 23 เมษายน 2566 เวลา 16.00 น. มีพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง ขบวนแห่นางสงกรานต์และขบวนรถบุปผาชาติที่สวยงามตระการตา ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองพระประแดง พิธีปล่อยนก ปล่อยปลา ณ พระอารามหลวงวัดโปรดเกศเชษฐาราม นอกจากนี้ตลอดงานยังชมการละเล่นพื้นเมือง (สะบ้ารามัญ) ได้ที่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า และหมู่บ้านรามัญ รวมถึงดูการแสดงทะแยมอญ การกวนกาละแมของดีเมืองพระประแดงได้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่าประเพณีสงกรานต์พระประแดง มีกิจกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้ทุกคนได้ทำมากมาย และยังจัดงานเป็นที่ท้ายๆ เอาใจใครหลายๆ คน ที่ยังไม่อยากให้ความสนุกของเทศกาลสงกรานต์จบลง ได้ไปร่วมสนุกกันจนเกือบถึงสิ้นเดือน หลายคนจึงให้ความสนใจและพิมพ์ค้นหากันมาก จนติดเทรนด์ยอดนิยมบนโซเชียลมีเดียขณะนี้

จากประเพณีขนทรายเข้าวัด สู่ “วันไหล”

“วันไหล” หรือที่เดิมมีชื่อเรียกว่า “ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล” เป็นวันทำบุญขึ้นปีใหม่ที่นิยมปฏิบัติต่อๆ กันมาในภาคตะวันออกและเขตภาคกลางบางจังหวัด ในพื้นที่ติดทะเล โดยจะกำหนดหลังวันสงกรานต์ประมาณ 5-6 วัน ประมาณวันที่ 17-18 เมษายนของทุกปี

มีจุดเริ่มต้นมาจากในสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ประชาชนผู้ศรัทธามักจะนิยมสร้างพระเจดีย์ภายในวัด ไม่ว่าจะวัดใหญ่หรือวัดเล็ก ต้องมีเจดีย์เชิดหน้าชูตากันทุกแห่ง แต่แน่นอนว่าการสร้างเจดีย์ ย่อมต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่สำคัญ ซึ่ง “ทราย” เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่ขาดไม่ได้

ชาวทะเล ได้รับอิทธิพลมาจากธรรมเนียมการขนทรายเข้าวัดเช่นเดียวกัน โดยในช่วงฤดูร้อนใกล้ฤดูฝน ชาวบ้านจะรวมตัวกันขนทรายตามชายหาดใกล้ๆ เข้ามาในวัด เพื่อใช้ในการก่อสร้างเจดีย์ และปรับปรุงซ่อมแซมตัววัดแบบสารพัดประโยชน์ จนเกิดเป็นประเพณีที่เรียกว่า “ก่อพระทรายน้ำไหล” นั่นเอง

นานวันเข้า “วันก่อพระทรายน้ำไหล” เริ่มพัฒนามีลูกเล่นมากขึ้น โดยชาวบ้านจะนำทรายที่ขนเข้ามา ก่อเป็นรูปกรวยเล็กๆ ให้ครบ 84,000 กอง เท่ากับจำนวนของพระธรรมขันธ์ พร้อมทั้งบรรจงนำดอกไม้มาตกแต่งกองทรายเหล่านั้นสวยงาม เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีการละเล่นพื้นเมือง ไปจนถึงงานทอดผ้าป่าทำบุญครั้งใหญ่

แต่ในปัจจุบัน ยานพาหนะเองก็พัฒนาขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด เราจึงใช้รถยนต์ขนทรายเข้าวัดแทน ประกอบกับสภาพบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป หลายวัดไม่จำเป็นจะต้องใช้ทรายขนาดนั้นแล้ว ทำให้ “งานก่อพระทรายน้ำไหล” จางหายไป

สุดท้ายเมื่อไม่ได้มีการก่อพระทราย จึงลดชื่อให้สั้นลงเหลือแค่ “ประเพณีวันไหล” คงความสนุกสนานความรื่นเริงไว้เหมือนเดิม และจัดต่อเนื่องสืบทอดกันมา

คอนเทนต์แนะนำ
10 ไอเดีย ของขวัญให้ผู้ใหญ่ใน "สงกรานต์ 2566" การันตีความน่าเอ็นดู
50 คำอวยพร "สงกรานต์ 2567" ความหมายดี ผู้ใหญ่เอ็นดู
“5 กิจกรรมวันสงกรานต์” ทำอะไรดี ถ้าสงกรานต์นี้ไม่อยากเปียก!?

กิจกรรม “วันไหล” ในปัจจุบัน

แม้ชื่อเรียกในปัจจุบันจะสั้นลง และรายละเอียดของกิจกรรมอาจเปลี่ยนไปบ้างตามยุคตามสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งเค้าโครงหลัก โดยจะมีการทำกิจกรรมดังนี้

  • การทำบุญใส่บาตร
  • การสรงน้ำพระพุทธรูป
  • การเล่นสาดน้ำสงกรานต์
  • การก่อพระเจดีย์ทราย
  • การแข่งขันกีฬาพื้นเมือง
  • การแข่งขันด้านอาชีพ

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของประเพณีวันไหล ใครที่อยากไปสาดความสนุกกันต่อ ลองไปตามสถานที่ต่างๆ ที่เราแนะนำกันได้ แต่อย่าลืมดูแลสุขภาพของตัวเองด้วย หลังจากวันหยุดยาวจะได้มีความสุขทั้งกายและใจ กลับมาพร้อมสู้งานกันต่อ!

คอนเทนต์แนะนำ
นายกฯ ขอบคุณโพลอันดับ 1 ที่คนกทม. อยากชวนเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย
เช็กให้ชัวร์ก่อนส่งของ บริษัทขนส่งหยุดสงกรานต์ 2566 วันไหนบ้าง?
วันหยุดเดือนเมษายน 2566 เช็กวิธีลางานอย่างไรให้คุ้มที่สุด

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ