พบดีเอ็นเอแบคทีเรียโบราณที่เคยก่อ “กาฬโรค” เมื่อ 4,000 ปีก่อน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิจัยค้นพบดีเอ็นเอของแบคทีเรีย “เยอร์ซีเนีย เพสติส” ที่ก่อให้เกิดการระบาดของ “กาฬโรค” เมื่อ 4,000 ปีก่อน

ทีมนักวิจัยที่ขุดค้นสถานฝังศพในอังกฤษ ได้ตรวจพบดีเอ็นเอ (DNA) ของแบคทีเรีย “เยอร์ซีเนีย เพสติส” (Yersinia pestis) ในซากโครงกระดูกของมนุษย์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิด “กาฬโรค” (Plague) เมื่อ 4,000 ปีก่อน นับเป็นเชื้อก่อโรคที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยพบในเกาะบริเตนใหญ่

กาฬโรคโรคระบาดรุนแรงที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส ซึ่งมักพบใน หมัดหนู (Rodent Flea) และเมื่อคนถูกหมัดหนูที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้กัด ก็จะป่วยเป็นกาฬโรคได้

คอนเทนต์แนะนำ
ตรวจหวยงวดนี้ - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ลอตเตอรี่ 1/6/66
ตรวจสลากออมสินพิเศษ 2 ปี และสลากออมสินพิเศษดิจิทัล 2 ปี งวดวันที่ 1 มิถุนายน 2566
โปรแกรมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ศึกเนชั่นส์ ลีก 2023 วันที่ 1 มิ.ย.66

 

 

พูจา สวาลี นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากห้องปฏิบัติการสก็อกลุนด์ของสถาบันฟรานซิสคริกในลอนดอน ผู้ค้นพบดีเอ็นเอแบคทีเรียโบราณดังกล่าว บอกว่า ก่อนหน้านี้ ดีเอ็นเอของแบคทีเรีย เยอร์ซีเนีย เพสติส ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยพบมาจากเมื่อ 1,500 ปีก่อน ทำให้นี่เป็นดีเอ็นเอที่เก่าแก่กว่านั้นมาก

สำหรับตัวอย่างของแบคทีเรีย เยอร์ซีเนีย เพสติส ที่ก่อให้เกิดกาฬโรคนั้น ถูกพบที่สถานฝังศพที่แตกต่างกัน 2 แห่ง แห่งหนึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษในเขตซัมเมอร์เซต และอีกแห่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเขคคัมเบรีย ใกล้ชายแดนอังกฤษและสกอตแลนด์

“เจมส์ เว็บบ์” บันทึกปรากฏการณ์ “ไอน้ำพวยพุ่ง” จากดวงจันทร์ของดาวเสาร์

พบสิ่งมีชีวิตใหม่กว่า 5,000 สายพันธุ์ใต้มหาสมุทรแปซิฟิก

พบหลักฐาน มนุษย์รู้จัก “การจูบ” ตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมีย 4,500 ปีก่อน

สวาลีกล่าวว่า ระยะห่างระหว่างสถานฝังศพทั้งสองบ่งชี้ว่า โรคที่เกิดจาก เยอร์ซีเนีย เพสติส นี้แพร่หลายในช่วงปลายยุคหินใหม่และยุคสำริด

หากถามว่า นักวิจัยค้นหาแบคทีเรียอายุ 4,000 ปีเจอได้อย่างไร รายงานการวิจัยระบุว่า ทีมวิจัยได้เก็บตัวอย่างจากซากโครงกระดูกของบุคคล 34 คนจากสถานฝังศพทั้งสองแห่ง จากนั้นนักวิจัยจึงเจาะเข้าไปในฟันของซากกระดูกโบราณเหล่านี้และดึงเอา “เนื้อเยื่อฟัน” ออกมา ซึ่งสามารถดักจับเศษดีเอ็นเอของโรคติดเชื้อได้

“ความสามารถในการตรวจหาเชื้อโรคโบราณจากตัวอย่างเมื่อหลายพันปีก่อนเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อ จีโนมเหล่านี้สามารถบอกให้เราทราบเกี่ยวกับการแพร่กระจายและการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการของเชื้อโรคในอดีต และหวังว่าจะช่วยให้เราเข้าใจว่ายีนใดที่อาจมีความสำคัญในการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ” สวาลีกล่าว

เมื่อใช้การวิเคราะห์ทางพันธุกรรม นักวิจัยระบุว่า มีช่วงเวลาที่แตกต่างกัน 2 ช่วงที่กาฬโรคปรากฏขึ้นในอังกฤษ คือช่วงแรกเกิดขึ้นก่อนหรือประมาณ 4,000 ปีที่แล้ว และอีกครั้งเมื่อประมาณ 1,500 ปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม สวาลีบอกว่า ตัวอย่างของเยอร์ซีเนีย เพสติส ที่พบในสถานฝังศพทั้งสองแห่งนั้นไม่มียีนที่ทำให้มันแพร่เชื้อผ่านตัวหมัดได้ ซึ่งการแพร่เชื้อผ่านหมัดหนูเป็นลักษณะเฉพาะของเชื้อที่ก่อให้เกิดกาฬโรคช่วงยุคกลาง

จึงเป็นไปได้ว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส โบราณที่พบนี้ อาจเป็นคนละตัวกับที่ก่อกาฬโรคที่ทำลายล้างยุโรปในช่วงยุคกลาง และวิทยาศาสตร์อาจไม่มีทางรู้อย่างแท้จริงถึงความรุนแรงของกาฬโรคเมื่อ 4,000 ปีที่แล้วว่าแตกต่างจากกาฬโรคช่วงยุคกลางอย่างไร

สวาลีบอกว่า ในขณะที่บันทึกทางประวัติศาสตร์สามารถอธิบายเกี่ยวกับการระบาดของกาฬโรคได้ในระดับหนึ่ง การศึกษาดีเอ็นเอของแบคทีเรียโบราณอาจทำให้เรามองย้อนกลับไปได้ไกลกว่านั้น

“จะมีการวิจัยในอนาคตมากขึ้นเพื่อทำความเข้าใจว่า จีโนมของเราตอบสนองต่อโรคดังกล่าวในอดีตอย่างไร รวมถึงเข้าใจการแข่งขันทางวิวัฒนาการกับเชื้อโรค ซึ่งสามารถช่วยให้เราเข้าใจผลกระทบของโรคในปัจจุบันหรืออนาคตได้” เธอกล่าว

 

เรียบเรียงจาก CNN

ภาพจาก Getty Image

คอนเทนต์แนะนำ
“คลื่นลมแรง-ฝนตกหนัก” อุตุฯประกาศฉบับที่ 4 เตือน 10 จว. เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
หวยสัญจร : สลากดิจิทัลแตก 108 ล้านบาท พบคนเดียวถูก 6 ใบรับ 36 ล้านบาท
"Pride Month" คืออะไร ทำไมตรงกับเดือนมิถุนายนและสำคัญกับ "LGBTQIAN+"

เอเชียนกมส์2022-B เอเชียนกมส์2022-B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ