เมือง Grenoble โมเดล “สมาร์ทซิตี้” จากฝรั่งเศสสู่ไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หนึ่งในการพัฒนาพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมผ่านงานวิจัยที่นำมาใช้ต่อยอดในด้านต่าง ๆ ได้จริง จึงสร้างพื้นที่ EECi ไว้สำหรับพัฒนานวัตกรรม ปตท. หนึ่งในบริษัทที่พัฒนา EECi ในพื้นที่วังจันทร์ วัลเล่ย์ จังหวัดระยอง เตรียมนำองค์ความรู้จาก เมือง Grenoble ( เกรอ-น็อบล์ ) เมืองที่เคยทำอุตสาหกรรมหนัก สู่เมืองสมาร์ทซิตี้ด้านนวัตกรรม ติดตามจาก คุณมาสิรี กล่อมแก้ว รายงานมาจากประเทศฝรั่งเศส

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมือง Grenoble ตั้งตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ที่นี่เคยเป็นที่ตั้งของธุรกิจอุตสาหกรรมหนัก อย่างพวกโรงงานเหล็ก นับเป็นเวลากว่า 100 ปี ที่ภาคเอกชน รัฐบาลและประชาชน เปลี่ยนแปลงที่นี่ สู่เมืองที่เป็น ผู้นำในเรื่องนวัตกรรม ผ่านการเป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัย ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก ซึ่ง ปตท. มาที่นี่เพราะต้องการเห็นโมเดลสมาร์ทซิตี้ด้านนวัตกรรมได้ ที่จะพยายามให้เกิดขึ้นในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์

โดยห้องปฎิบัติสำหรับการวิจัยและพัฒนาไมโครกริด เพื่อนำผลสัมฤทธิ์ไปใช้ในการบริหารจัดการไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GIANT ที่บริษัท schneider electric ในเมือง Grenobe  เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าศึกษา ภายในอาคารนี้ยังมีระบบการกักเก็บพลังงาน ที่ได้จาก โซลาเซลล์ ไฮโดรเพาเวอร์ และลม แล้วนำกระแสไฟฟ้าที่ได้ มาใช้ในการบริหารจัดการไฟฟ้าในอาคาร รถยนต์ และ รถโดยสารสาธารณะในพื้นที่ 

สำหรับ GIANT เป็นโครงการใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 4 ของเมือง Grenoble  ถือเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนา การศึกษา หน่วยงานอุตสาหกรรม ร้านค้า และที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศด้าน 1. ไมโครและนาโนเทคโนโลยี 2.พลังงานและสิ่งแวดล้อม 3. สุขภาพ

ปตท.นำโมเดล ”สมาร์ทซิตี้” ปท.ออสเตรีย ปรับใช้ในไทย

นายเอริค เพิล นายกเทศมนตรีเมือง Grenoble ระบุว่า การเปลี่ยนจากเมืองอุสาหกรรมหนัก สู่ผู้นำสมาร์ทซิตี้ด้านนวัตกรรมได้ จำเป็นต้องมีส่วนขับเคลื่อนจากภาคเอกชน เช่น Schneider Electric รวมถึงต้องร่วมถึงฟังความคิดเห็นของประชาชน

ด้าน นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นอกจากนำองค์ความรู้เรื่องสมาร์ทซิตี้ไปพัฒนาวังจันทร์วัลเลย์แล้ว ยังเตรียมเชิญชวนบริษัท Schneider Electric ผู้นำเรื่องระบบดิจิทัลเพื่อการประหยัดพลังงานที่มีระบบ Oil&Gas ที่ลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียภาคอุตสาหกรรม ขยายสำนักงานไปยังวังจันทร์วัลเลย์อีกด้วย นอกเหนือจากนี้ จะจัดกิจกรรมโรดโชว์ข้อมูลและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของวังจันทร์วัลเลย์ หวังดึง สตาร์ทอัพ และ กลุ่มอุตสาหรรมไบโอเทค เริ่มจากประเทศ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี และยุโรป แม้จะหวังดึงนักวิจัยจากประเทศ OECD หรือ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรป แต่ ระยะแรกให้ความสำคัญกับการดึงคนไทยในต่างประเทศ กลับมาเป็นฐานของสมาร์ทซิตี้เพื่อสร้าง Solutionใหม่ ๆ ประเทศ  ปตท. ตั้งเป้าดึงคนเข้าพื้นที่ระยะแรก 5,000 คน  โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลสนับสนุนการเข้าอยู่ในพื้นที่จากรัฐบาล ทั้งสิทธิประโยชน์ด้านภาษี การอำนวยความสะดวกเรื่องวีซ่า เป็นต้น

นอกจากนี้ ปตท.คาดการณ์เมื่อโรดโชว์ดึงนักวิจัยมายังพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จะประจวบเหมาะกับจังหวะที่การก่อสร้างโครงพื้นฐานและสาธารณโภคต่างๆในวังจันทร์วัลเลย์และแล้วเสร็จพร้อมรองรับนักวิจัยในปี 2564 แต่ สมาร์ทซิตี้ด้านนวัตกรรมของไทย จะเกิดเร็วหรือช้ามากน้อยแค่ไหน ส่วนสำคัญคือ การมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมเป็นสำคัญ

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ