“ยาฆ่าหญ้า-ฆ่าแมลง” ตัวการโรคเนื้อเน่า พร้อม 5 วิธีเบื้องต้น หากเป็นแผล

โดย PPTV Online

เผยแพร่

สำนักงานป้องกันและควบคุมโรค เผย 2 ปัจจัย ทั้งยาฆ่าแมลงเข้าแผล ถูกกิ่งไม้ ใบหญ้าบาด พร้อมแนะ 5 วิธีป้องกัน

หลังจากมีการนำเสนอข่าวมีเกษตรกรชาวจังหวัดน่านป่วยด้วยโรคเนื้อเน่าหนังเน่า หรือแบคทีเรียกินคน จนต้องส่งเข้าห้องไอซียู 3 ราย ในจำนวนนี้ได้เสียชีวิตลงแล้ว 1 ราย ล่าสุดนายแพทย์สุเมธ องค์วรรณดี ผอ.สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ (สคร.1 เชียงใหม่) ระบุว่า ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ พบว่า เกือบ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยมีความเสี่ยงจากการมีบาดแผลเรื้อรัง รองลงมาเป็นการถูกของมีคมบาด/ทิ่มแทง และเกือบครึ่งเกิดบริเวณขาหรือบริเวณเท้า ที่มีอาการบวมแดงมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีอาการปวดมีไข้อุญภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาฯ ความดันโลหิตต่ำกว่า 80/60 มม.ปรอท ผู้ป่วยเสียชีวิตร้อยละ 10

ไทยป่วย “โรคเนื้อเน่า” 200 คนต่อปี

โดยเมื่อปี 61 พบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ รพ.น่าน รวม 65 ราย ส่วนปีนี้(2562) พบผู้ป่วยประปรายตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา กระทั่งเดือนมิถุนายน พบ 2 ราย เดือนกรกฎาคม พบแล้ว 26 ราย ซึ่งเป็นเดือนที่พบมากที่สุดทุกปี

นายแพทย์สุเมธ ระบุว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรงเนื้อเน่าหนังเน่า เกิดจาก 1.เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดแมลงและวัชพืช เมื่อร่างกายสำผัสสารเคมีด้วยวิธีการใดๆจะคันแล้วเกาจนเป็นแผล และไม่ได้รับการรักษา เกิดการติดเชื้อจากการทำเกษตรกรรมหรือกิจกรรมอื่น ลุกลามถึงเนื้อ จนเกิดสภาพผิวหนังและเนื้อตาย

น่านพบ “โรคเนื้อเน่า” ระบาดหนักช่วงหน้าฝน

เปิดชีวิตผู้ป่วยโรคเนื้อเน่าพบมีประวัติสัมผัส “พาราควอต”

2.เมื่อเกิดแผลตามร่างกายจากการถูกกิ่งไม้-ใบหญ้าบาดหรือตำ รวมทั้งของมีคมต่างๆแล้วไม่สัมผัสกับสารเคมี ทำให้คัน-เกา จนแผลขยายขนาดและมีเชื้อเข้าสู่บาดแผล

จึงแนะนำวิธีป้องกันรักษา ดังนี้

1.สวมรองเท้าบูท กางเกง เสื้อผ้า คลุมร่างกาย เพื่อป้องกันการถูกของมีคมบาด และป้องกันการสัมผัสสารเคมี

2.หลังจากเสร็จการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ทำนา ทำสวน ให้รีบอาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาด

3.สำรวจร่างกาย หากพบบาดแผล ให้รีบล้างแผลโดยใช้น้ำสะอาดไหลผ่าน ซับด้วยผ้าสะอาด และปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ ถ้ามียาฆ่าเชื้อโพวิโดนไอโอดีน สามารถใช้ทาแผลได้ แล้วรีบไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อตรวจรักษา

4.กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายคือ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ได้แก่ คนมีประวัติดื่มสุราประจำ เป็นโรคตับ โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และการรับประทานยาสเตียรอยด์ ซึ่งต้องระมัดระวังหากเกิดบาดแผล

5.ผู้ป่วยบางรายที่ไม่ได้ลงไปที่นาหรือไม่มีบาดแผล ก็อาจเกิดการติดเชื้อดังกล่าวได้ โดยการเกาหรือมีบาดแผลถลอกเล็กน้อย เชื้อที่อยู่บริเวณผิวหนังอาจจะเข้าไปในแผลแล้วเกิดการติดเชื้อ ถ้าผู้ใดมีผิวหนังบวมแดงอย่างรวดเร็ว และมีตุ่มพุพองที่ผิวหนัง แนะนำให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจรักษาก่อนที่อาการจะลุกลาม

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามสายด่วนกรมควบคุมโรคได้ที่ โทร.1422 ฟรี ตลอด 24 ชม.

พบเกษตรกรป่วยโรคเนื้อเยื่อเน่า เสียชีวิตเฉลี่ยปีละกว่า 10 คน

Bottom-BDMS Bottom-BDMS

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

Arena 36

Arena 36

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ