เอกชน คาด พิษโควิด-19 ทำเศรษฐกิจถดถอยคนตกงาน 7 ล้านคน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




3 ภาคเอกชนแนะทางออกวิกฤตโควิด-19 หลังประเมินว่าเดือนมิ.ย.จะมีคนตกงานราว 7 ล้านคน เศรษฐกิจเสียหายล้านล้านบาท

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 สะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ชัดเจนขึ้น นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอชน 3 สถาบัน (กกร.)

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 9 เม.ย. 63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 9 เม.ย. 63

“ โดยเกือบทุกเครื่องชี้เศรษฐกิจหลักหดตัวลง ทั้งการท่องเที่ยว การส่งออก การผลิตและการลงทุน”  มีเพียงการบริโภคสินค้าไม่คงทนที่ยังขยายตัว 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน เครื่องชี้เศรษฐกิจจะยังอยู่ในภาวะที่แย่ลงต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม ถึง 30 เมษายน 2563 และมีมาตรการขอความร่วมมือปิดสถานประกอบการในหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑล  ทำให้เศรษฐกิจไทยหนีไม่พ้นที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563

ซึ่งทาง กกร.ประเมินว่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยจะมีมูลค่าสูงถึงล้านล้านบาท จนถึงเดือน มิ.ย. ทำให้คาดว่าจะมีคนตกงานประมาณ 7 ล้านคนจากแรงงานทั้งระบบ 38 ล้านคน ในจำนวนนี้มี ล้านคนที่มีรายได้กว่า 20,000 บาทต่อเดือน

ดุสิตธานีหยุดกิจการโรงแรม 7 แห่งชั่วคราว รับมาตรการป้องกันโควิด-19

พิษโควิด-19 แรง! ทั่วโลกอาจมีคนว่างงานเพิ่ม 25 ล้านคน!

หากไปดูตามรายภาคธุรกิจพบว่า ธุรกิจห้างค้าปลีกจะกระทบแรงงาน 4.2 ล้านคน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 7.76 หมื่นคน ธุรกิจสิ่งทอ แสนคน ธุรกิจก่อสร้าง ล้านคน ธุรกิจบันเทิง หมื่นคน ร้านอาหาร 2.5 แสนคน สปาร้านนวดทั้งในและนอกระบบ 2.39 แสนคน ธุรกิจโรงแรม 9.78 แสนคน

โรงแรมทยอยปิดกิจการ “เหตุขาดทุนสะสม - ผลกระทบโควิด-19”

กฟน.แจงใช้ไฟฟรี 3 เดือน 2 แสนคนได้ประโยชน์

อัปเดตข่าวล่าสุด โควิด-19 (Covid-19) ในวงการฟุตบอล วันที่ 9 เม.ย. 63

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ เมื่อสถานการณ์เป็นไปในแบบที่กล่าวมาข้างต้น ภาคชนได้มีข้อเสนอถึงรัฐบาลเกี่ยวมาตรการดูแลเยียวยาผลกระทบ แม้ว่าจะเดินหน้าไปแล้วในระยะที่ 1 และ 2 แต่มองว่า ไม่สามารถทดแทนผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อภาคธุรกิจและประชาชน จากการขาดรายได้และการหยุดหรือปิดกิจการ”  ดังนั้น จึงเสนอมาตรการช่วยเหลือเริ่มจากผู้ประกอบการ คือ 

1. ขอให้ภาครัฐ “พิจารณาออกคำสั่งปิดกิจการของรัฐ ให้กับผู้ประกอบการโรงแรมหรืองานบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว” เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าข่ายกิจการที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการของรัฐ และพนักงานจะได้เงินชดเชยตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด (โดยยกเว้นให้โรงแรมหรือบริการอื่นๆ ที่มีความจำเป็น สามารถเปิดกิจการโดยความสมัครใจ  เช่น เป็นที่พักบุคคลากรทางการแพทย์ หรือ ที่พักของผู้กักตัว เป็นต้น)

2. ขอให้ “ปรับลดค่าไฟฟ้า 5% ทั่วประเทศ” และปัจจุบันต้นทุนค่าน้ำมันได้ลดลงอย่างมาก จึงขอให้ค่า FTสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงด้วย

 3. เพิ่มสภาพคล่องโดยการ “อัดฉีดวงเงินใหม่ให้กับภาคธุรกิจ” ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% โดยให้ บสย.ค้ำประกันวงเงินกู้เพิ่มจาก 40% เป็น 80% 

 4. ให้ภาคเอกชน “หักค่าใช้จ่ายในการป้องกันการระบาดของ Covid-19 ได้ 3 เท่า” 

5. รัฐจัดสรรงบประมาณในการจ้างงาน ซื้อสินค้า จากผู้ผลิตในประเทศ (Made-in-Thailand) ในราคาที่เหมาะสม โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องใช้ใน Covid-19 

ต่อมาเป็น มาตรการด้านแรงงาน

1. พิจารณามาตรการเพิ่มเติมให้แรงงาน ลูกจ้าง ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ได้รับการชดเชยรายได้  โดยพนักงานที่เข้าระบบ Leave without pay จะไม่สามารถได้รับเงินชดเชยการหยุดกิจการของสถานประกอบการชั่วคราวจากคำสั่งของรัฐ และไม่เข้าหลักเกณฑ์เยียวยา 5,000 บาท ดังนั้น ควรชดเชยช่วยเหลือจากสำนักงานประกันสังคม โดยจ่ายเงิน 50%  ของค่าจ้าง ตามที่ส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม

 2. อนุญาตให้มีการจ้างงานรายชั่วโมง เพื่อป้องกันปัญหาการเลิกจ้างแรงงาน โดยกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 325 บาทต่อวัน คิดเป็น ชั่วโมงละ 40-41 บาท ต่อการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง และ ไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน (ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน) 

 3. ลดอัตราเงินสมทบของนายจ้าง จาก 4% เหลือ 1% ให้เท่ากับผู้ประกันตน  ตามมาตรา 33 

 4. เสนอให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือแรงงานที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาทโดยยังได้รับเงินเดือน 75% และไม่ตกงาน รวมทั้งสามารถช่วยเหลือ โดย บริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่มีโอกาสปลดแรงงานออก สามารถที่จะจ่ายเงินเดือนในจำนวนเงิน 75% ของเงินเดือนที่ได้รับปกติ โดยภาครัฐสนับสนุนค่าจ้างเงินเดือน 50%  (จากประกันสังคม) และบริษัทเอกชนจ่ายอีก 25% ให้พนักงานและแรงงานที่มีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท

 5. บริษัทสามารถนำค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนค่าจ้างแรงงานมาใช้หักภาษีได้ 3 เท่าในช่วงระหว่าง COVID-19 ระบาด

 นอกจากนั้นแล้ว ยังมีมาตรการด้าน Logistic สำหรับการขนส่ง โดยออกมาตรการจากส่วนกลางเพื่อปฎิบัติเหมือนกันทั่วประเทศ โดยขอให้ กกร. มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการเพื่อให้สามารถปฎิบัติได้

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ