อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 18 มิ.ย. 63
อัปเดตข่าวสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 18 มิ.ย. 63
เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2563 มีผู้ใช้เฟสบุ๊กเผยแพร่รูปภาพและข้อความเพื่อเป็นอุทาหรณ์สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ปล่อยให้ลูกใช้เวลาอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน เคสนี้ลูกชายของเธอเข้าผ่าตัดดวงตาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา เหตุเพราะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ซึ่งเธอได้โพสต์ข้อความเพื่อเป็นอุทาหรณ์ว่า “เรื่องมือถือพ่อเเม่อย่าชะล่าใจ สำคัญมาก อย่าปล่อยเขาอยู่กับมือถือนาน ๆ ควรมีลิมิตให้เขา อย่ามองข้าม อย่าละเลย”
โดยอาการของลูกชายเกิดจากสายตาสั้นและเอียง จากนั้นเริ่มมีอาการตาเข เพราะจ้องหน้าจอโทรศัพท์มากจนเกินไป จึงต้องใส่แว่นตาประคองไว้ตลอด ซึ่งตอนแรกคิดว่าลูกชายเป็นเพียงสายตาสั้น หมอพบว่าน้องมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ตั้งแต่ช่วงที่น้องอายุ 4 ขวบ แต่หมอบอกว่า สามารถผ่าตัดได้เมื่ออายุ 5 ขวบขึ้นไป
ทั้งนี้จึงตัดสินใจให้ลูกชายผ่าตัดเพื่อทำการรักษาในวัย 7 ขวบ เพราะลูกชายโตขึ้นและสามารถให้ความร่วมมือกับแพทย์ได้ดี อีกทั้งหมอแนะนำว่าถ้าผ่าตัดตั้งแต่ตอนนี้ มีโอกาสหายมากกว่า ส่วนอาการของน้องตอนนี้ยังมีอาการตึงรอบดวงตา ซึ่งต้องใช้เวลารักษาไปอีกระยะหนึ่ง โดยหลังจากนี้ลูกชายของเธอยังคงต้องใส่เเว่นตาเพื่อประคับประคองดวงตาเอาไว้ เธอจึงอยากเตือนเพื่อเป็นอุทาหรณ์ และแนะนำว่าควรแบ่งเวลาให้ลูกในการใช้โทรศัพท์ ไม่ให้ใช้โทรศัพท์มากจนเกินไป และทำกิจกรรมอย่างอื่นแทนการใช้โทรศัพท์
ด้าน รศ.นพ.อัมพร จงเสรีจิตต์ แพทย์ผู้ชำนาญด้านจักษุ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ให้ข้อมูลระบุว่า โทรศัพท์มือถือกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของหลายคน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ถ้าจ้องจอโทรศัพท์มากจนเกินไปอาจทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ โดยเฉพาะเด็กถ้าไม่ได้เป็นตั้งแต่กำเนิด หรืออุบัติเหตุตอนคลอด ก็จะเริ่มจากสายตาสั้นและเอียง หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้ตาเขได้ ส่วนในผู้ใหญ่จะเกิดจากการไม่ได้บริหารกล้ามเนื้อตา เมื่อจ้องหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานานก็จะทำให้ตาเขได้เช่นกัน
ทั้งนี้ เด็กส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์ ปัญหาอันดับหนึ่งคือสายตาสั้น-เอียง 10-15% รองลงมาคืออาการตาเขหรือตาเหล่ 2-3 % และสุดท้ายเกิดจากโรคกรรมพันธุ์ต่าง ๆ รวมทั้งเด็กคลอดก่อนกำหนดก็จะมีปัญหาที่จอประสาทตาด้วย ซึ่งถ้าหากให้แนะนำการใช้โทรศัพท์ในวัยเด็ก ควรใช้งานไม่ควรเกิน 2-3 ชั่วโมงต่อวัน พ่อแม่ผู้ปกครองควรหา หรือ เพิ่มกิจกรรมที่ไม่อยู่กับโทรศัพท์มือถือ เพราะโทรศัพท์มือถือมีส่วนกระตุ้นทำให้ตาเข แย่ลงได้ ยิ่งจ้องหน้าจอโทรศัพท์มือถือนาน กล้ามเนื้อตาก็จะยิ่งอ่อนแรง หรือแม้แต่การนอนดู อาจจะทำให้ตำแหน่งการเคลื่อนที่ของตาเปลี่ยนไป ทำให้ตาเขมากขึ้น และเกิดภาพซ้อนได้ด้วย