วันแห่งผู้ล่วงลับไม่ได้มีแค่ “ฮาโลวีน” รู้จัก 9 เทศกาลผีจากทั่วโลก

โดย PPTV Online

เผยแพร่

“วันฮาโลวีน” ต่างเป็นที่รู้จักว่าเป็นคืนปล่อยผี แต่ที่จริงแล้ววันที่เกี่ยวพันกับโลกหลังความตายไม่ได้มีเพียงแค่วันนี้เท่านั้น

คืนแห่งผู้ล่วงลับไม่มีแค่ “ฮาโลวีน” (วันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี) เท่านั้น ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่มีความเชื่อเกี่ยวกับโลกหลังความตาย และจัดเทศกาลเพื่อเฉลิมฉลอง หรือบ้างก็จัดพิธีรำลึกถึงผู้ล่วงลับไปแล้วตามความเชื่อท้องถิ่น เพื่อแสดงถึงความกตัญญูหรืออุทิศบุญกุศลให้

ใกล้คืนสุดหลอนนี้กันแล้ว พีพีทีวีขออาสาพาทุกคนไปรู้จักมนต์เสน่ห์เทศกาลผีของแต่ละภูมิประเทศกัน

คอนเทนต์แนะนำ
รวมตำนานผีในมหาวิทยาลัย ขนหัวลุกรับฮาโลวีน เด็กปีหนึ่งรู้หรือยัง?
"ผี" มีจริงไหม? ไขคำตอบโลกหลังความตายด้วยเหตุผลที่อธิบายได้

เทศกาลฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา Shutterstock/Summer_Wind
Halloween Festival

ฮาโลวีน สหรัฐอเมริกา

“ฮาโลวีน” หรือ “Halloween” เป็นเทศกาลปล่อยผีของสหรัฐอเมริกาที่จัดขึ้นทุกวันที่ 31 ตุลาคม โดยมีความเชื่อว่าผีที่ออกมาปรากฎตัวเพราะจะเอามนุษย์ไปอยู่ด้วย เพื่อเป็นการป้องกันจึงให้มนุษย์ทุกคนแต่งตัวเป็นผี ให้กลมกลืนเหมือนกับผีจริงๆ ซึ่งเทศกาลฮาโลวีนเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เด็กๆ และสิ่งทำกันเป็นประจำในเทศกาลนี้ คือการไปขอลูกกวาดหรือขนมจากบ้านต่างๆ สำหรับผู้ใหญ่ก็จะมีการจัดปาร์ตี้สังสรรค์

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 3 อิทธิพลพายุ “จ่ามี” ฝนถล่มไทย 26-29 ต.ค. นี้

เช็กชื่อ 7 จำเลยคดีตากใบ! ที่ยังจับดำเนินคดีไม่ได้

ตาราง MotoGP 2024 ! โปรแกรมถ่ายทอดสด โมโตจีพี 2024 พร้อมลิงก์ดูโมโตจีพี

วันสารทจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน

“วันสารทจีน” หรือ “The Hungry Ghost Festival” เป็นวันที่ชาวพุทธและลัทธิเต๋าลูกหลานชาวจีนจะทำพิธีไหว้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วที่จะกลับมายังโลกมนุษย์ และอุทิศส่วนบุญกุศลให้กับเหล่าผีไร้ญาติ ในวันประตูเทวโลก และยมโลกเปิด ซึ่งจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินทางจันทรคติ

เทศกาลนี้ประกอบไปด้วยพิธีต่างๆ เพื่อเอาใจและเลี้ยงอาหารให้กับผู้ตายในชีวิตหลังความตาย ซึ่งต่อมาก็จะมีการเผากระดาษเงินกระดาษทองเพื่อตอบสนองความต้องการของวิญญาณ ที่ชาวจีนเชื่อว่าเขาจะสามารถนำไปใช้ในชีวิตอีกภพภูมิหนึ่งได้

โดยผู้คนจะนำอาหารพิเศษมาไหว้บริเวณหน้าแท่นบูชาและจุดธูปตามบ้าน ร้านค้า และตามท้องถนนของตัวเอง และในระหว่างมื้ออาหารของครอบครัวจะจัดที่นั่งว่างเอาไว้สำหรับผู้ล่วงลับที่จะกลับมาอีกด้วย

ชูซอก สาธารณรัฐเกาหลี

“ชูซอก” หรือ “Chuseok” เป็นวันแห่งความกตัญญู และจริงๆ แล้วเป็นเทศกาลเก็บเกี่ยวประเภทหนึ่งของเกาหลีที่จัดขึ้นในเดือนกันยายนหรือตุลาคม ซึ่งจะตรงกับวันที่ 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินทางจันทรคติ และจะถือว่าเป็ยวันหยุดราชการ 3 วัน จึงทำให้ในเทศกาลนี้ชาวเกาหลีมักจะเดินทางไปยังบ้านเกิดของบรรพบุรุษที่เสียชีวิตของพวกเขาที่ให้ความมั่นใจในการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่มาให้วันสำคัญนี้ถูกเรียกว่า “วันขอบคุณพระเจ้าของเกาหลี”

โดยชาวเกาหลีจะเดินทางไปเยี่ยมหลุมศพของบรรพบุรุษ ทำความสะอาดสุสานของพวกท่าน และทำพิธีรำลึก แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงพิธีรำลึกอาหารเป็นส่วนสำคัญของงานเฉลิมฉลอง ดังนั้นชาวเกาหลีจะจัดเตรียมอาหารอันโอชะในลักษณะเฉพาะเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ดวงวิญญาณบรรพชนด้วย

“ซงพยอน” เป็นเค้กข้าวโบราณรูปพระจันทร์เสี้ยวที่มักทำกันในช่วงเทศกาล และยังมีเกมพื้นบ้านที่นิยมเล่นกันอีก อาทิ Samulnori (วงดนตรีดั้งเดิม), Talchum (รำหน้ากาก), Ganggangsullae (รำวงเกาหลี) Ssireum (มวยปล้ำ) และ Ganggangsullae (รำวงเกาหลี) เป็นการเต้นรำ ที่เหล่าสาวๆ จะแต่งกายด้วยชุดฮันบก จับมือกันเป็นวงกลมขนาดใหญ่ ร่วมร้องเพลงเต้นรำกัน ในคืนวันเพ็ญวันแรกในช่วงเทศกาลชูซอก

เทศกาลผี เนปาล Shutterstock/Rojen's Collection
Gai Jatra ประเทศเนปาล

คยะ ยาตรา ประเทศเนปาล

“คยะ ยาตรา” หรือ “Gai Jatra” เทศกาลสำหรับวัว ที่จัดขึ้นทุกวันที่ 27 สิงหาคมของทุกปี เทศกาลนี้ถูกเชื่อมโยงกับนิทานเรื่องเล่าที่ย้อนกลับไปเมื่อศตวรรษที่ 17 เมื่อพระราชินีมีแต่ความทุกข์ระทม ไม่สามารถยิ้มได้ พระโอรสของนางจึงจัดงานพาเหรดสังสรรค์ขึ้น สำหรับพระมารดาและใครก็ตามที่สูญเสียผู้เป็นที่รักไป โดยการให้มีไฟหลากสีส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา แต่งตัวด้วยสีสันสดใส ให้กับวัว ซึ่งจะเป็นสิ่งที่อยู่หน้าขบวนพาเหรด ว่ากันว่าการแต่งตัวสีสันให้กับวัวจะสามารถสร้างเสียงหัวเราะได้และตามความเชื่อท้องถิ่นในตำนาน ถือว่าวิญญาณที่จากไปจำเป็นต้องมีหางวัวเพื่อไปสวรรค์

ปจุมเบน ประเทศกัมพูชา

“ปจุมเบน” หรือ “Pchum Ben” เป็นเทศกาลของกัมพูชาที่กินเวลา 15 วัน และเป็นหนึ่งในวันหยุดราชการที่สำคัญที่สุดในประเทศ เชื่อกันว่าประตูยมโลกจะเปิดในช่วงเวลานี้ ซึ่งอยู่ระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม ผู้มีชีวิตจึงต้องช่วยวิญญาณบรรพบุรุษในการชดใช้และบรรเทาทุกข์

กิจกรรมในวันนี้ชาวกัมพูชาบางคนอาจถวายอาหารแก่พระภิกษุ แต่บางคนก็ชอบวิธีการเลี้ยงวิญญาณโดยตรงมากกว่า โดยการโยนข้าวปั้นตามพิธีกรรมในสุสาน วัด หรือทุ่งนา อย่างไรก็ตามว่ากันว่าหากบุคคลล้มเหลวในการเลี้ยงวิญญาณเหล่านี้ พวกเขาจะได้รับความโกรธ แต่ผู้ที่ถวายอาหารจะได้รับพรด้วยกรรมดีและความเจริญรุ่งเรือง และในวันสุดท้ายของเทศกาล ชาวบ้านจะทำนำใบตองมาทำเป็นเรือลำเล็กๆ ใส่ผลไม้ ขนม เงิน และธูป จากนั้นลอยลงน้ำไปพร้อมกับดวงวิญญาณเหล่านั้นในการเดินทางกลับไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

ปิตรู ภัคชา ประเทศอินเดีย

“ปิตรู ภัคชา” หรือ “Pitru Paksha” เป็นพิธีกรรม 15 วันของชาวฮินดู เพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษสามรุ่นก่อนหน้าของพวกเขา โดยบุตรชายคนโตของผู้ล่วงลับจะเป็นผู้ประกอบพิธี ถวายอาหารเป็นเครื่องบูชาแก่บรรพบุรุษ พิธีกรรมนี้จะเริ่มต้นทุกวันที่ 16 ตามปฏิทินทางจันทรคติในช่วงดาวเคราะห์ดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีกันย์ไปสู่ราศีพิจิก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวันที่เหมาะที่สุดสำหรับการประกอบพิธีกรรมที่จะทำให้บรรพบุรุษอิ่มเอิบตลอดทั้งปี เพราะตรงกับเวลาที่ดวงวิญญาณเดินทางจาก “ปิตรูโลกา” (ที่พำนักของดวงวิญญาณของบรรพบุรุษอยู่ระหว่างโลกและสวรรค์) ไปยังบ้านของผู้สืบเชื้อสายและอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลาหนึ่งเดือน

การทำพิธีนี้ถือเป็นข้อบังคับของชาวฮินดูเพื่อให้แน่ใจว่าวิญญาณของบรรพบุรุษรุ่นแรกจะถูกรับไปสวรรค์เพื่อนำพวกเขาให้ใกล้ชิดกับพระเจ้ามากขึ้น นอกจากการถวายเครื่องบูชาแก่บรรพบุรุษแล้ว ยังจะมีการมอบเสื้อผ้าให้แก่พราหมณ์หรือบริจาคให้กับคนยากจน และให้อาหารวัว กา และสุนัข เป็นธรรมเนียมปฏิบัติอีกด้วย ที่สำคัญชาวฮินดูจะงดงานเฉลิมฉลองรื่นเริงทุกอย่างรวมถึงบางคนถึงขั้นงดเว้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

สารทเดือนสิบ ประเทศไทย

“สารทเดือนสิบ” เป็นประเพณีที่สำคัญที่สุดของจังหวัดนครศรีธรรมราช และถือปฏิบัติกันโดยทั่วไปของพุทธศาสนิกชนในพื้นที่ภาคใต้ โดยเชื่อกันว่าในช่วงเดือนสิบตามปฏิทินจันทรคติ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว จะกลับมาพบลูกหลาน และเปรตที่มีกรรมหนักจะได้รับการปล่อยตัวขึ้นมาจากยมโยม ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เรียกว่า “วันรับตายาย” และจะต้องกลับสู่นรกภูมิในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เรียกว่า “วันส่งตายาย”

ด้วยความเชื่อนี้พุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชจะจัดงานคืนสู่เหย้า กลับมารวมตัวกันทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่บรรพชนในสองวันดังกล่าว แต่วิถีชีวิตในปัจจุบันอาจทำให้ในแต่ละบ้านมีวิธีถือปฏิบัติยิ่งหย่อนต่างกัน โดยส่วนมากจะนิยมให้ความสำคัญกับการทำบุญ “วันส่งตายาย” มากว่า “วันรับตายาย” 

เทศกาลผี เม็กซิโก Shutterstock/J. Martin
Dia De Los Muertos ประเทศเม็กซิโก

แอล เดีย เดอ ลอส เมอร์โต้ ประเทศเม็กซิโก

“แอล เดีย เดอ ลอส เมอร์โต้” หรือ “El Dia de los Muertos” เป็นเทศการผีในวันที่ 2 พฤศจิกายน เพื่อให้ผู้คนระลึกถึงญาติที่ตายจากไป ความคิดของชาวเม็กซิโกนั้น วันระลึกถึงคนตายไม่จำเป็นต้องมีพิธีที่เศร้าเสมอไป มีพิธีแบบสนุกสนานร่าเริงดีกว่า จึงมีการแต่งหน้าเป็นผีและมีการร้องเล่นเต้นรำในสไตล์ของขบวนพาเหรดให้คนได้ชมกัน

โอบ้ง ประเทศญี่ปุ่น

“โอบ้ง” หรือ “Obon” เป็นเทศกาลที่คล้ายกับเทศกาลผีหิวโหยของจีน คือ ผู้คนเชื่อว่าเป็นช่วงที่ผีจะออกมาอยู่บนโลกมนุษย์ ผู้คนจึงมักจะกลับไปที่บ้านและไปยังสุสานเพื่อไปหาญาติที่เสียชีวิต โปรยทานและให้อาหารผ่านเครื่องเซ่นไหว้ นอกจากนี้ยังมีพิธีการเต้นรำสังสรรค์และแขวนโคมลอยบนป้ายหลุมศพ ถือว่าเป็นเทศกาลที่สวยที่สุดของชาวญี่ปุ่น

ขอบคณข้อมูลจาก : เว็บไซต์ Traveller และ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ