ความแตกต่างระหว่าง โทรทัศน์ดิจิตอลระบบภาคพื้นดิน และโทรทัศน์ระบบดาวเทียม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โทรทัศน์ทีวีดิจิตอลที่รับชมได้ทั้งจากดาวเทียม และเสาอากาศดิจิตอลภาคพื้นดิน ถึงจะมีช่องเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างในหลายด้าน โดยเฉพาะสิทธิในการรับชมรายการจากต่างประเทศ

หลายๆ คนอาจจะสับสนและไม่รู้ว่าช่องโทรทัศน์ที่เราดูอยู่ในปัจจุบันมาเป็นประเภทอะไร ผู้ชมที่ใช้ระบบรับสัญญาณผ่านดาวเทียม ไม่ว่าจะเป็น KU Band (พวกจานสี) หรือ C Band (จานดำใหญ่โปร่ง) ปัจจุบันจะสามารถรับชม โทรทัศน์ดิจิตอลในระบบภาคพื้นดินได้ (19 ช่อง) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ชมจะไม่รู้ว่าตนเองกำลังชมโทรทัศน์ประเภทใดอยู่ 

การที่ โทรทัศน์ระบบดาวเทียม สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลได้นั้นมาจาก กฎ Must Carry ที่ กสทช. สั่งให้โครงข่ายทีวีดาวเทียม/เคเบิลทีวี ต้องดึงสัญญาณช่องทีวีดิจิทัลเชิงพาณิชย์  และช่องบริการสาธารณะ  ขึ้นระบบการส่งสัญญาณในระบบดาวเทียมด้วย พร้อมทั้งจัดการเรียงช่องให้เหมือนกันทุกช่องทางการรับชม เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ผู้ชมรายการโทรทัศน์ให้สามารถเข้าถึงและรับชมฟรีทีวีได้อย่างเสมอภาคเท่าเทียม ไม่จำกัดว่าจะเป็นการรับชมผ่านช่องทางใด

แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้จริง เนื่องจากขัดกับกฎหมายลิขสิทธิ์ เช่น การซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศของช่องโทรทัศน์ จะซื้อตามระบบหรือแพลตฟอร์ม เช่น สิทธิ์ในการออกอากาศเฉพาะระบบดิจิตอลภาคพื้นดินเท่านั้น ไม่สามารถนำไปออกอากาศผ่านระบบอื่นๆ ได้

ผู้ประกอบการทีวี - กสทช. ถกไม่จบ ปัญหากฎ Must Carry เหตุขัดกฎหมายลิขสิทธิ์

ระบบการรับชมโทรทัศน์ในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ  ระบบภาคพื้นดิน ระบบดาวเทียม ระบบเคเบิ้ล ซึ่งแต่ละระบบจะมีวิธีการรับสัญญาณที่แตกต่างกัน 

1. ระบบภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) คือ การส่งสัญญาณโทรทัศน์ ด้วยการแพร่กระจายสัญญาณไปในอากาศ และใช้เสาอากาศ เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณ 

2. ระบบดาวเทียม (Satellite Television) คือ  การส่งสัญญาณโทรทัศน์ ผ่านระบบดาวเทียมไปยังเครื่องรับของผู้ชม ซึ่งจะต้องมีกล่องรับสัญญาณจากจานดาวเทียม เพื่อแปลงสัญญาณให้กลายเป็นภาพ แสดงผลหน้าจอโทรทัศน์

3. ระบบเคเบิ้ล (Cable Television)  คือ การส่งสัญญาณโทรทัศน์ไปตามสาย หรือช่องนําสัญญาณ หรือสายเคเบิลไปยังกล่องเคเบิ้ลรับสัญญาณ เพื่อแปลงสัญญาณให้กลายเป็นภาพ แสดงผลหน้าจอโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างสถานีส่งกับผู้รับสัญญาณ
 

กล่าวโดยสรุป ความแตกต่างระหว่างระบบการรับชมโทรทัศน์ คือ วิธีการส่งสัญญาณโทรทัศน์ไปยังผู้รับชม

โทรทัศน์แบบดิจิทัล (Digital TV) คือ การส่งสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลระบบภาคพื้นดิน ที่มาแทนที่การส่งแบบอนาล็อก (ทีวี 6 ช่องเดิม) ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดิน  เป็นระบบที่แตกต่างจากโทรทัศน์ดิจิทัลผ่านดาวเทียมและเคเบิ้ล

ปัจจุบันทีวีดิจิทัลมีทั้งหมด 19 ช่อง แบ่งเป็น ช่องธุรกิจ จำนวน 15 ช่อง (ทีวีดิจิทัลประเภทธุรกิจ กสชท.เปิดให้ประมูลทั้งหมด 24 ช่อง เลิกกิจการไป 2 ช่อง, ขอคืนใบอนุญาต 7 ช่อง) และช่องสาธารณะ จำนวน 4 ช่อง

 

การที่โทรทัศน์ระบบดาวเทียมสามารถนำช่องโทรทัศน์ดิจิทัลในระบบภาคพื้นดินไปออกอากาศได้ เนื่องจากเป็นการทำตามกฎ Must Carry ที่กสทช. กำหนดให้ผู้มีใบอนุญาตกิจการทีวีทุกประเภท ได้แก่ ทีวีดาวเทียมเคเบิลทีวี และ IPTV ต้องออกอากาศช่องสถานีทีวีดิจิทัลระบบภาคพื้นดินด้วย เพื่อให้ผู้ชมทั่วประเทศสามารถรับชมทีวีดิจิทัลทั้งหมดได้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากโทรทัศน์แบบอนาล็อกไปสู่แบบดิจิทัล

 

วิธีการรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย

1. รับชมผ่านเสาหนวดกุ้ง – ก้างปลา (UHF) เดิมที่มีอยู่
เสาอากาศแบบเดิมทั้งหนวดกุ้งและก้างปลาสามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้  โดยเสานั้นต้องเป็นเสาที่รับสัญญาณย่าน UHF  สังเกตง่ายๆ หากสามารถรับชมช่อง ThaiPBS ได้ จะสามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้เช่นกัน ขึ้นกับทีวีที่ใช้ด้วย แบ่งเป็น 2 กรณี


กรณีที่ 2 เป็นทีวีที่รองรับระบบดิจิตอลแบบ DVB-T2 กรณีที่ 1 ทีวีที่ไม่รองรับระบบดิจิตอลแบบ DVB-T2 
ต้องมีอุปกรณ์เสริมคือกล่องรับสัญญาณ set top box โดยเสียบสายรับสัญญาณที่มาจากเสาหนวดกุ้งหรือก้างปลาเข้ากับ set top box แล้วนำสาย AV หรือสาย HDMI เสียบเชื่อมต่อระหว่างทีวีกับ Set top box 

ให้เสียบสายรับสัญญาณที่มาจากเสาหนวดกุ้งหรือก้างปลาเข้ากับทีวีได้เลย กรณีหนวดกุ้ง ให้ติดตั้งเสาหนวดกุ้งบริเวณใกล้ๆ หน้าต่าง เพื่อรับสัญญาณที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเสาชนิดก้างปลาหากติดตั้งภายนอกอาคารจะมีประสิทธิภาพในการรับสัญญาณได้ดีที่สุด 



2. รับชมผ่านเสาทีวีดิจิตอลใหม่
ปัจจุบันมีเสาทีวีดิจิตอลแบบใหม่หลายรูปแบบ โดยมีขนาดเล็กลงพร้อมกับรูปแบบที่แปลกใหม่ จะมีขนาดเล็กลงกว่าเสาก้างปลาแบบเก่า มีความเหมาะสมกับการรับชมในเขตเทศบาลเมือง หรือบริเวณใกล้กับสถานีส่งสัญญาณ แบ่งเป็น 2 กรณี


กรณีที่ 2  เสาอากาศชนิดมีภาคขยายสัญญาณในตัว (Active Antenna)  
กรณีที่ 1  เสาอากาศชนิดไม่มีภาคขยายสัญญาณในตัว (Passive Antenna)  
เสาอากาศชนิดนี้จะมีขนาดเล็กมาก น้ำหนักเบา ราคาไม่สูง ติดตั้งง่าย แต่คุณภาพในการรับสัญญาณไม่ดี เหมาะสำหรับการรับชมในบริเวณใกล้สถานีส่ง และมีความเข้มของสัญญาณแรงมาก ๆ 

เสาชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าแบบแรกเล็กน้อย น้ำหนักมากขึ้น ราคาสูงกว่า จำเป็นต้องป้อนไฟเลี้ยงเสาอากาศด้วยจึงทำงานได้ดีที่สุด หากใช้งานร่วมกับ Set Top Box สามารถตั้งค่าให้เปิดไฟเลี้ยงเสาอากาศได้

การออกอากาศทีวีดิจิตอลของไทยเป็นการออกอากาศบนมาตรฐานทีวีดิจิตอลแบบ DVB-T2  ควรสังเกตอุปกรณ์ที่ซื้อ ต้องรองรับดิจิตอลทีวี แบบ DVB-T2  หรือสังเกตสัญลักษณ์ของ กสทช. แสดงการรับรองว่าสามารถใช้รับชมทีวีดิจิตอลได้

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ