ดาวเคราะห์น้อยใหญ่กว่า “วาฬสีน้ำเงิน” โคจรเฉียดโลกโดยปลอดภัย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา องค์การนาซาเฝ้าจับตาดูดาวเคราะห์น้อย 2018 CB ที่พุ่งเข้ามาใกล้โลกในระยะประชิด ล่าสุด ดาวเคราะห์น้อยดวงดังกล่าวได้เคลื่อนผ่านโลกไปแล้วเมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา โดยไม่ได้ส่งผลอันตรายใดๆ ต่อโลก

เมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา ตามเวลาประเทศไทย ดาวเคราะห์น้อย 2018 CB ขนาดประมาณ 15-40 เมตร ซึ่งถือว่าใหญ่กว่าวาฬสีน้ำเงิน ได้โคจรเฉียดผ่านโลกไปในระยะประชิด คือระยะ 69,700 กิโลเมตรจากพื้นโลก ซึ่งถือเป็นระยะที่สูงกว่าดาวเทียมทั่วไปที่อยู่ในวงโคจรถึง 2 เท่า และใกล้กว่า 1 ใน 5 ของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานว่าดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวเป็นภัยอันตรายใดๆ กับโลก

ทั้งนี้ ดาวเคราะห์น้อย 2018 CB เพิ่งถูกค้นพบเมื่อ 5 วันก่อน โดยโครงการสำรวจท้องฟ้าคาตาลินา ในรัฐแอริโซนาของสหรัฐฯ โดยโครงการนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากองค์การนาซา ให้คอยติดตามและเฝ้าระวังดาวเคราะห์น้อยที่อาจเป็นอันตรายต่อโลก

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เพิ่งจะมีดาวเคราะห์น้อยที่ชื่อ 2018 CC โคจรเฉียดโลกในระยะ 184,000 กม. แต่ก็ไม่เป็นภัยอันตรายกับโลกเช่นกัน

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ