นักวิทย์อังกฤษ-สหรัฐฯ พัฒนาเอนไซม์ย่อยพลาสติก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทีมนักวิทยาศาสตร์จากอังกฤษและสหรัฐฯ พัฒนาเอนไซม์ของแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เพื่อนำมาใช้ในการย่อยสลายขวดพลาสติก ที่กำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญของหลายประเทศ 

ผลงานดังกล่าวเป็นของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพอร์ทสมัธ ในประเทศอังกฤษและศูนย์ทดลองพลังงานหมุนเวียนแห่งชาติ ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ โดยทีมวิจัยได้ทำการศึกษาแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “ไอดีโอเนลลา ซากาอิเอนซิส”  (Ideonella sakaiensis ) ซึ่งพบในตะกอนที่ปล่อยออกมาจากโรงงานรีไซเคิลขวดพลาสติก ของเมืองซากาอิ ประเทศญี่ปุ่น โดยจากการศึกษาพบว่า แบคทีเรียชนิดนี้กินวัสดุพอลิเมอร์ที่เรียกว่า  “พอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต” หรือ ที่เรียกโดยย่อว่า “เพ็ท” (PET) ซึ่งนิยมนำมาผลิตเป็นขวดน้ำพลาสติกใส จึงเรียกขวดน้ำแบบนี้ว่า “ขวดเพ็ท”  


ขณะที่ตอนแรกทีมวิจัยเพียงแค่ต้องการทำความเข้าใจโครงสร้างของแบคทีเรียดังกล่าว แต่เกิดไปตัดแต่งเอนไซม์ของมันเข้าโดยบังเอิญ ซึ่งผลปรากฎว่าเอนไซม์ดังกล่าวสามารถย่อยพลาสติกเพ็ทได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ ทีมนักวิจัยกำลังพัฒนาต่อยอดการค้นพบดังกล่าว เพื่อให้เอมไซม์ของแบคทีเรียชนิดนี้สามารถนำไปใช้ย่อยพลาสติกได้ในต้นทุนที่ไม่สูงมาก

         


ศาสตราจารย์ จอห์น แมคกีแฮน หนึ่งในทีมวิจัยเชื่อว่า เอนไซม์ของแบคทีเรียที่ผ่านการตัดแต่งแล้ว จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่แก้ปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่อังกฤษเพียงประเทศเดียวมีการใช้ขวดพลาสติกมากถึงปีละ13,000 ล้านขวด

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ