แนวทางปฏิบัติ 13 หมูป่าออกจากถ้ำหลวง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลังจากที่เจ้าหน้าที่สามารถนำทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตออกมาจากถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนได้ หลังจากนี้ไปจะเข้าสู่การฟื้นฟูสภาพร่างกาย และจิตใจ เพราะการติดอยู่ในถ้ำเป็นเวลานานย่อมส่งผลต่อผู้ที่ประสบภัย การปฏิบัติกับเด็กๆในทีมหมูป่าหลังจากนี้ ควรเป็นอย่างไร ไปพูดคุยกับรองศาสตราจารย์ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเด็กและวัยรุ่น และผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

วันนี้(11 ก.ค.61) รองศาสตราจารย์ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเด็กและวัยรุ่น และผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับทีมข่าวพีพีทีวี ถึง แนวทางปฏิบัติหลังนักฟุตบอลเยาวชน และโค้ช ทีมหมูป่าอะคาเดมี่ทั้ง 13  คน ออกจากถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน

สำหรับเด็กๆถือว่ามีสภาวะจิตใจที่เข้มแข็ง และอยู่ในระยะที่ปลอดภัย สิ่งที่จะต้องปฏิบัติ คือ การเพิ่มปฏิสัมพันธ์ และความดีใจซึ่งกันและกัน หลังเด็กๆพบเจอบุคคลภายนอกหลังออกมานอกถ้ำ แม้จะมีห้องกระจกกั้นก็จะรู้สึกว่าระบายความตึงเครียด อัดอั้นตันใจที่อาจจะมีอยู่ และความรู้ที่ดีใจ และการกำลังใจซึ่งกันและกัน

โดยหลังจากนี้ ถ้าพ้นระยะวิกฤตที่ไม่ได้มีปัญหาใดๆ การพูดคุยเรื่องเหตุการณ์อาจจะมีเกิดขึ้น อยากแนะนำว่า อยากให้คนที่ไปเยี่ยมอาจจะใช้คำถามปลายเปิดพูดคุยทั่วๆไป เช่น ลูกรู้สึกอย่างไรบ้าง แล้วลูกวางแผนอย่างไรบ้าง แทนการเติมข้อมูลอะไรมากมายให้เด็กๆ

แต่ข้อมูลที่สามารถใส่ได้ ถ้าเด็กถามถึงขั้นตอนขึ้นมาว่า ตอนที่ช่วยเหลือ เขาอยู่ข้างใน เขาไม่ได้เห็นภาพบรรยากาศตรงส่วนนี้ ก็จะเล่าให้เขาฟังคร่าวๆถึงเรื่องนี้ ทำเขาเห็นบรรยากาศว่าข้างนอกช่วยเหลือกันมากน้อยขนาดไหน พ่อแม่อย่าลืมตบท้ายว่าเรามาชวนกันให้กำลังใจพี่ๆที่ช่วยเหลือเราอย่างเต็มที่ดีไหม

โดยส่วนตัวเคยรักษาเด็กๆที่อาการตอนแรกแย่ๆ และตอนหลังค่อยๆดีขึ้น ในที่สุดก็ฟื้นตัวขึ้นมาได้ ก็จะเอากระดาษมาวาดรูป แล้วเมื่อวาดรูปก็จะวาดรูปตัวเอง เป็นการระบายความตึงเครียดได้

ทั้งนี้ แม้ว่าสภาพจิตใจเด็กๆจะเข้มแข็ง ไม่ควรไปถามในเชิงลึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ควรให้เด็กๆเล่าในส่วนของเรื่องที่เขาอยากเล่ามากกว่า

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ