“สาธิต” ยอมรับวิกฤตจริง ผู้ป่วยรอเตียงนับร้อย มาตรการไม่เข้มข้น ทำติดโควิดพุ่ง หมอเหนื่อยล้า

โดย PPTV Online

เผยแพร่

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย สถานการณ์โควิด-19 ในกทม. เข้าขั้นวิกฤต มีผู้ป่วยรอเตียงหลายร้อยคน ชี้มาตรการไม่เข้มข้นพอ ทำยอดติดเชื้อพุ่งสูง บุคลากรทางการแพทย์เหนื่อยล้า

“หมอนิธิพัฒน์” เสนอแผนล็อกดาวน์ กทม. สกัดโควิด ระงับเดินทาง - เร่งค้นหาผู้ติดเชื้อ

เสียชีวิตอีก 44 คนจากโควิด ติดเชื้อ +3,644 ส.ว.จี้นายกฯ ล็อกดาวน์ 3 พื้นที่ สำคัญ

ศบค.ชุดเล็ก จ่อชง ศบค.ใหญ่ ล็อกดาวน์ กทม. - “อนุทิน” ลั่น ระบบสาธารณสุขไม่มีวันล่ม

เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2564 นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าว PPTV ระบุว่า ยอมรับ กทม. และปริมณฑล ขณะนี้เข้าขั้นวิกฤต ในเรื่องจำนวนเตียง  ขณะนี้มีผู้ป่วยหาเตียงไม่ได้หลายร้อยคน และยังไม่ทราบว่าที่ติดเชื้อแล้ว แต่ยังไม่แจ้ง 1668 มีอีกเท่าไหร่  และยังพบข้อมูลในชุมมชนว่า มีผู้ที่ติดเชื้อบางรายยังคงประกอบอาชีพเนื่องจากไม่มีอาการ

 

ทั้งนี้ การจัดการโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข มี 4 ส่วน โดยส่วนสุดท้าย คือ การรักษาผู้ป่วย ตอนนี้ในทุกส่วนตกอยู่ที่ส่วนของการรักษา ทำให้เกิดสถานการณ์วิกฤต เนื่องจาก ใน 3 ส่วนแรกนั้นยังไม่ดำเนินการได้อย่างเต็มที่

  • ส่วนแรก คือ ความเข้าใจของพี่น้องประชาชน และให้ความร่วมมือในมาตรการ
  • ส่วนที่สองมาตรการรัฐบาลที่จะกำหนดลดกิจกรรม หรือลดการพบปะคนที่เสี่ยงแพร่เชื้อ
  • ส่วนที่สาม การควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่าย

ใน 3 ส่วนนี้ กระทรวงสาธารณสุขส่งสัญญาณไม่เข้มข้นพอ จึงทำให้มีการติดเชื้อสูงขึ้น และคนสอบสวนโรคก็ตามไม่ทัน ซึ่งเมื่อคนติดเชื้อเยอะ อัตราคนเสียชีวิต และอาการหนัก ก็จะอยู่ที่โรงพยาบาลทั้งหมด เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดตอนนี้

 

สำหรับ การแก้ไขระยะสั้น กระทรวงสาธารณสุข กำลังจัดหาเตียงให้กับผู้ป่วยสีเหลืองเพิ่มขึ้น และอาจเสนอแผนให้ผู้ป่วยสีเขียวอยู่ที่บ้านได้ แต่ต้องถูกเลือกมีเงื่อนไข คือ เช่น อยู่บ้านพักคนเดียว ชุมชนบริเวณไม่คัดค้าน ต้องส่งตรวจสอบอาการที่โรงพยาบาลใกล้เคียง หรือคนที่ไม่มีอาการ ต้องถ่ายรูปลงแพลตฟอร์มที่ตรวจสอบได้ว่าไม่เดินทางไปที่อื่น ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข กำลังจะได้เตียงสนามไอซียู เพิ่มอีกประมาณ 50 เตียนง ซึ่งเป็นการแก้ไขระยะสั้น

“อย่างที่ผมบอก คือมันไม่ใช่เรื่องเตียงอยู่แล้วละ มันเป็นเรื่องคนที่หมด เขาเรียกอยู่ในสภาพเหนื่อยล้าที่ทำไม่ได้  เพราะมันมีการปรับจำนวนหมอที่ดูคนไข้ 10 คน มาเป็น 15 คน  ทีมพยาบาลดู 7 มาดู 10 เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นพออัตราคนติดเชื้อเยอะขึ้นเนี่ย อัตราส่วนคนอาการหนัก กับเสียชีวิต มันมีมากขึ้นเนี่ย คนที่ทำงานก็ทำงานไม่ไหว ผมเพิ่งไปเยี่ยม รพ.ราชวิถี มาเมื่อเช้า เขาบอกไม่ไหวแล้ว” นายสาธิต กล่าว

 

ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการมีมาตรการที่เข้มข้น ประชาชนต้องเข้าใจให้ความร่วมมือ ตนจะไม่ใช้คำว่าล็อกดาวน์ อาจจะมีคำว่า “เซอร์กิตเบรกเกอร์”  แต่ใช้อย่างน้อย 14 วัน พอผู้ป่วยต้นทางลดลง ก็จะค่อย ๆ ลดปลายทาง แม้จะต้องใช้เวลา แต่ต้องยอมเจ็บ ส่วนผู้ที่ประกอบธุรกิจ เข้าใจว่าเดือดร้อยแน่นอน แต่การเดือดร้อนของเขา ถ้าอยู่ในสภาวะแบบนี้ จะเดือดร้อนแน่นอน เพราะฉะนั้นต้องอธิบายให้ฟังว่า ถ้าเราสามารถมีแผน และเขาต้องมั่นใจว่าสถานการณ์โควิดจะจบลงได้  ซึ่งขณะเดียวกันเราอยู่ระหว่างฉีดวัคซีน หากฉีดได้ครบ และเกิดภูมิต้านทานหมู่ได้ 70 % ในกรุงเทพมหานคตร และปริมณฑล ก็จะสามารถได้ แก้ไขสถานการณ์ได้

 

อย่างไรก็ตาม นายสาธิต ยังเสนอแนะว่า แผนระยะสั้นต้องปรับมาตรการให้เข้มข้นมากขึ้น ลดการเคลื่อนย้ายของคนในกุรงเทพมหานคร และฝ่ายความมั่นคงต้องหยุดแรงงานไม่ให้เดินทางเข้ามาให้ได้ 

นอกจากนี้ เสนอให้เร่งฉีดวัคซีนเฉพาะ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มโรคเสี่ยงให้หมดก่อน เนื่องจากหากฉีดแอสตร้าเซเนก้า ภูมิจะขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ จะไปลดการทำงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้ ส่วนบุคคลทั่วไปให้เลื่อนฉีดออกไปก่อน เพราะคนหนุ่นสาวที่ติดเชื้อ อาการหนักจะน้อย 

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ