นอกจากความชุ่มฉ่ำ ที่โปรยปรายลงมาในช่วงฤดูฝน ยังมีโรคภัยไข้เจ็บที่ตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่มักมีการระบาดในช่วงฤดูฝน ที่มีพาหะนำโรคเป็นยุงลาย ซึ่งหากยุงลายจะกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกในช่วงที่เป็นไข้สูง แล้วไปกัดคนอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ก็จะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อ ๆ ไปได้
สถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–8 มีนาคม 2564 มีจำนวน 1,621 ราย เสียชีวิต 1 ราย ช่วงอายุที่พบมากสุด คือ 15-24 ปี รองลงมา 25-34 ปี
“ไข้เลือดออก” รู้ทัน ป้องกัน รักษาได้
นวัตกรรมธรรมชาติสร้างผลิตภัณฑ์ไล่ยุงอัจฉริยะ
สธ.ชวนกำจัดลูกน้ำยุงลายในวันไข้เลือดออกอาเซียน คาดไทยอาจติดเชื้อไข้เลือดออก 7 หมื่นคนในปี 58
อย่างไรก็ตาม ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ไข มีสมุนไพรในชุมชนที่สามารถนำมาใช้ป้องกันยุงกัดได้ หาได้ง่าย และราคาไม่แพง
1.ตะไคร้หอม
2.ยูคาลิปตัส
3.ผิวมะกรูด
4.ผิวส้ม
5.โหระพา
6.สะระแหน่
วิธีการ คือ นำสมุนไพรข้างต้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ มาทุบ หรือขยี้ แล้วนำไปวางในมุมอับ ที่ยุงชุกชุม น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร จะช่วยไล่ยุงได้
นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาทำเป็นสเปรย์ไว้ใช้งานได้ด้วย โดยมีวิธีการดังนี้ ดังนี้
1.นำตะไคร้หอม มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 200 กรัม
2.นำผิวมะกรูด มาหั่นเล็กๆ ประมาณ 50 กรัม
3.นำทั้ง 2 อย่าง ห่อด้วยผ้าขาวบางแล้วใส่ลงในโหลแก้ว
4.เท เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร ใส่โหลแก้ว
5.ใส่การบูร 10 กรัม แล้วปิดฝาให้แน่น และต้องหมั่นเขย่าโหลแก้วทุกวัน
6.เมื่อครบ 7 วัน เทใส่ขวดสเปรย์ ใช้ฉีดไล่ยุงตามมุมอับต่าง ๆ ภายในบ้าน
ที่มา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก