เป็นที่ทราบกันดีว่า ประจำเดือน หรือระดู หรือรอบเดือน คือเลือดที่เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก มีฮอร์โมนสองชนิดคือ เอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรน (progesterone) ควบคุมการสร้างและหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งระดับฮอร์โมนทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กับการตกไข่จากรังไข่ โดยแต่ละรอบเดือนจะมีช่วงเวลาประมาณ 26-30 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ทำให้ประจำเดือน เกิดขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง
ปวดท้องรุนแรง อย่า! ... กินยาแก้ปวด เสี่ยงทำแพทย์วินิจฉัยผิด ยิ่งอันตรายถ้าเป็นไส้ติ่งอักเสบ
และในช่วงของการมีประจำเดือนบางคนเลือดไหลออกมามาก หรือบางคนก็ออกมากะปริดกะปรอย และในระหว่างนี้
ยังมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งอาการที่ว่ามาบางครั้ง มันคือสัญญาณเตือนเกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ
โดยส่วนใหญ่สามารถสังเกตได้จาก
- ประจำเดือนมานานขึ้นหรือมากกว่า 7 วัน
- ระหว่างวันประจำเดือนมามาก ทำให้ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ ชั่วโมง
- ระหว่างนอนหลับตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนผ้าอนามัย
- อายุเข้าสู่เลข 5 แล้ว แต่ประจำเดือนมามากกว่าปกติ จากที่ควรจะน้อยลง
ซึ่งหากใครพบอาการเหล่านี้ให้สันนิฐานไว้ก่อนเลยว่า มดลูกอาจเข้าข่ายเสี่ยงมีปัญหา หรืออาจเกิดโรค อาทิ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, เนื้องอกนอกมดลูก, อุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นต้น ควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาโรคที่แท้จริง
ประจำเดือนมาไม่ปกติ กับภาวะ PCOS (ภาวะถุงน้ำรังไข่) ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม!
“สอบท้องถิ่น 2564” เช็กวัน-เวลา รายชื่อสถานที่ พร้อมกฎระเบียบผู้เข้าสอบ
ที่มา : ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ