โดยทั่วไปอาการจากความดันโลหิตสูงมักจะมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ ซึ่งมักจะเป็นตอนตื่นนอนใหม่ ๆ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ แบบไมเกรน
ส่วนใครที่เป็นมานานจะมีอาการอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ ตามัว มือเท้าชา หรือมีเลือดกำเดาไหล
จึงทำให้หลายคนมีความเชื่อว่า ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วไปออกกำลังกาย จะทำให้หัวใจเต้นแรง เสี่ยงทำให้เส้นเลือดแตก จนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือทำให้เสียชีวิตได้
คนเป็นโรคความดันโลหิตสูง ต้องปรับพฤติกรรมทำตาม 5 วิธีนี้ ช่วยลดความดันได้
การดูแล “ผู้ป่วยภาวะโรคอ้วน” ลดความเสี่ยง “โควิด-19”
ซึ่งความจริงแล้ว การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ แต่ต้องเลือกที่เหมาะสมควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคุมอาหารซึ่งจะได้ผลดีกว่าการพึ่งยาเพียงอย่างเดียว
แต่การออกกำลังกายในผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ และหมั่นติดตามผลสม่ำเสมอ
ซึ่ง "นิวมีเดีย พีพีทีวี" ได้รวบรวมวิธีการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมาฝากกัน
Warm Up ก่อนออกกำลังกาย
อบอุ่นร่างกายประมาณ 5-10 นาที ต่อด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 10 นาที
ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อผลลัพธ์ที่ดี
ออกกำลังกายในระดับปานกลางคืออัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 50-70% จากในช่วงปกติ โดยคิดจาก 220 - อายุของเรา เช่นเราอายุ 20 จะได้อัตราการเต้นสูงสุดอยู่ที่ 200 การออกกำลังกายระดับปานกลางที่เหมาะสมคืออัตราหัวใจจะเต้นอยู่ที่ 100-140 ครั้ง/นาที
ออกกำลังกายให้ได้ระยเวลาอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยแบ่งการออกกำลังกายอย่างน้อย 10 นาทีต่อช่วง ให้ได้อย่างน้อย 20-30 นาทีต่อวัน
ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถออกกำลังกายได้ทั้งแบบแอโรบิคและมีแรงต้าน ซึ่งแนะนำให้ออกกำลังกายแบบมีแรงต้านอย่างน้อย 40-60 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น ดัมเบล, ยางยืด หรืออุปกรณ์ในฟิตเนส
ส่วนการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น เดิน, วิ่ง, ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ เป็นต้น
สิ่งที่ไม่ควรทำเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
ไม่ควรกลั้นหายใจขณะออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน และหากวัดความดันโลหิตได้มากกว่า 180/110 mmHg ควรงดออกกำลังกาย
และอย่าลืมพบแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามอาการ และขอคำปรึกษาในการออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวันที่เหมาะสม
ที่มา รพ.กรุงเทพพัทยา