เช็กเลย! คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด เข็ม 3 สำหรับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

 ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ออกข้อแนะนำสูตรการฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น หรือเข็ม 3 สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ใครฉีดยี่ห้อไหน สูตรไขว้ ควรฉีดเข็ม 3 อย่างไร

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศข้อแนะนําการให้วัคซีนโควิด 19 เข็ม 3 แก่ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เนื่องด้วยผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (immunocompromised patients) มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด 19 ที่รุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก จึงควรได้รับวัคซีนโควิด 19 ให้ครบ 2 เข็มโดยเร็ว ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มักมีการตอบสนองต่อวัคซีนไม่ดี แม้จะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว จึงมีความจําเป็นต้องได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 ซึ่งมีคําแนะนําสําหรับผู้ป่วยดังกล่าวในหลายประเทศ

เปิดสูตรฉีดเข็ม 3 ล่าสุด ศบค. กางแผนระดมปัก 23 ล้านโดส ภายในมีนาคม 65

เช็กพิกัด! รวมจุดฉีดวัคซีนโควิด เข็ม 3 ทั้งจองคิวออนไลน์ - walk in เริ่ม 23 ธ.ค. 64

เปิดลงทะเบียนฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ที่สถาบันบำราศนราดูร เริ่ม18-29 ธ.ค.นี้

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โดยคณะอนุกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร่วมกับสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทยและสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย จึงพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ออกข้อแนะนําการให้วัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 3 แก่ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ํา เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ําได้รับวัคซีนโควิด 19 เพิ่มเติม ดังนี้

1. ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ได้แก่

1.1 ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ

1.2 ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบหรือแพ้ภูมิตนเองที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive drugs) ดังต่อไปนี้

- Corticosteroids
prednisolone ≥10 มก./วัน >4 สัปดาห์ ในช่วง 3 เดือนก่อนที่จะรับวัคซีน
prednisolone ≥20 มก./วัน >10 วัน ในช่วง 1 เดือนก่อนที่จะรับวัคซีน
prednisolone ≥40 มก./วัน >1 สัปดาห์ ในช่วง 1 เดือนก่อนที่จะรับวัคซีน

- ยากดภูมิคุ้มกัน ได้แก่ methotrexate, azathioprine, mycophenolate mofetil, leflunomide, cyclophosphamide หรือ cyclosporine ในช่วง 3 เดือนก่อนที่จะให้วัคซีน

- ยาชีววัตถุและยาสังเคราะห์มุ่งเป้าฯ ได้แก่ ยายับยั้ง JAK, ยายับยั้งTNF, ยายับยั้งไซโตไคน์ ได้แก่ IL-6R, IL-1, IL-17, IL-12/23 หรือ IL-23 ในช่วง 3 เดือนก่อนที่จะรับวัคซีนและ rituximab ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

2. ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ตามข้อ 1 มีความเสี่ยงต่อการเกิดโควิด 19 ที่รุนแรงและเสียชีวิต รวมทั้งมีการตอบสนองต่อวัคซีนโควิด 19 ได้ไม่ดีแม้จะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ทั้งผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตาย ได้แก่ วัคซีนของบริษัทซิโนแวค (Sinovac) และบริษัทซิโนฟาร์ม (Sinopharm) หรือวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ ได้แก่ วัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) หรือวัคซีนชนิด mRNA ได้แก่ วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) และบริษัทโมเดอร์นา (Moderna) ดังนั้นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ําที่ได้รับได้รับวัคซีนสูตรต่าง ๆ ครบ 2 เข็มแล้ว ควรพิจารณาให้วัคซีนชนิด mRNA (Pfizer หรือ Moderna) ในขนาดปกติเพิ่มเติม ดังนี้

  • รับ Sinovac หรือ Sinopharm 2 เข็ม สูตรแนะนำ คือ วัคซีน mRNA จำนวน 3 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน โดยเริ่มหลังจากได้รับวัคซีนเข็มสุดท้าย 1 เดือน
  • รับ AstraZeneca, Pfizer หรือ Moderna 2 เข็ม สูตรแนะนำ คือ วัคซีน mRNA จำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน โดยเริ่มหลังจากได้รับวัคซีนเข็มสุดท้าย 1 เดือน
  • วัคซีนสูตรไขว้ ได้แก่
    - Sinovac หรือ Sinopharm 1 เข็ม + AstraZeneca 1 เข็ม หรือ
    - Sinovac หรือ Sinopharm 1 เข็ม + mRNA 1 เข็ม หรือ
    - AstraZeneca 1 เข็ม + mRNA 1 เข็ม
    สูตรแนะนำ คือ วัคซีน mRNA จำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน โดยเริ่มหลังจากได้รับวัคซีนเข็มสุดท้าย 1 เดือน

3. ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและเคยเป็นโควิด 19 พิจารณาให้วัคซีน mRNA ดังนี้

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ