งานวิจัย เผยระดับแอนติบอดีในผู้ป่วย อาจกำหนดว่า ใครเป็น “Long Covid”

โดย PPTV Online

เผยแพร่

อีกปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ คือ อาการป่วยที่ยังคงเรื้อรัง หลังผู้ป่วยคนนั้นหายป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว เรียกกันว่า “Long Covid”

อาการ LONG COVID ผลกระทบระยะยาวกับโรคสมองและระบบประสาท

อัปเดต "ภาวะ Long COVID" ทั้งเกิดขึ้นใหม่และเป็นต่อเนื่อง หลังติดเชื้อโควิด-19

LONG COVID อาการต่อเนื่องของคนเคยป่วยโควิด ที่ไม่ควรมองข้าม

รูปแบบของอาการมีความหลากหลายมาก ตั้งแต่เจ็บป่วยทางกายไปจนถึงจิตใจ และยังไม่ชัดเจนว่าจำนวนผู้ป่วยมีมากน้อยแค่ไหน แต่นักวิทยาศาสตร์ประมาณการณ์ว่า ราว 1 ใน 3 ของอดีตผู้ป่วยมักเผชิญกับ Long Covid ตามมา ด้วยรูปแบบอาการที่ไม่ต่างจากการเจ็บป่วยทั่วไปทำให้ยากที่จะวินิจฉัยได้ว่า อาการที่กำลังเกิดขึ้นนี้เป็น Long Covid หรือไม่

แต่ล่าสุดมีงานวิจัยใหม่ที่บ่งชี้ว่า ระดับของแอนติบอดีในตัวผู้ป่วยสามารถช่วยให้แพทย์ประเมินได้ว่า บุคคลนั้นๆ มีความเสี่ยงที่จะเป็น Long covid หรือไม่

งานวิจัยล่าสุดถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยเป็นงานวิจัยจาก ดร.โอนัวร์ บอยแมน นักวิจัยด้านภูมิคุ้มกันจากโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ดร.บอยแมน เริ่มวิจัยตั้งแต่ต้นปี 2020 ในช่วงของการระบาดระลอกแรก โดยติดตามอาการของอดีตผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 6 เดือนจนถึงหนึ่งปี ในจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 500 คนที่ทำการศึกษา บางคนมีอาการ Long Covid บางคนไม่มี ปัจจัยมาจากแอนติบอดีสองชนิดที่ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรค ที่เรียกว่า IgM และ IgG3 ในคนที่มีแอนติบอดีชนิดนี้มาก โอกาสจะเกิด Lobg Covid จะมีน้อยกว่า

นอกจากนั้นในงานวิจัยยังพบว่ามีปัจจัยเสริมอีก เช่น อายุ และโรคประจำตัวอย่าง โรคหอบหืด  โดยพบว่า หากบุคคลนั้น ๆ มีระดับของแอนติบอดีดังกล่าวน้อย ประกอบกับมีอายุช่วงวัยกลางคน และมีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด คนกลุ่มนี้จะมีโอกาสถึงร้อยละ 75 ที่จะเป็น Long Covid

นอกจากนั้นยังมีข้อมูลจากมหาวิทยาลัยไมอามี ในรัฐฟลอริดา ที่พบว่า ส่วนใหญ่ของผู้ที่ป่วยเป็น Long Covid มักมีประวัติเป็นโรคหอบหืด หรือป่วยเป็นภูมิแพ้อยู่แล้วตั้งแต่ก่อนติดเชื้อ

ท่ามกลางความสนใจในประเด็น Long Covid ที่เริ่มพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดเมื่อวานนี้มีรายงานการศึกษาจากสหราชอาณาจักรและอิสราเอลพบว่า คนที่ฉีดวัคซีนครบสองเข็มอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนที่จะตรวจพบเชื้อโควิด โอกาสที่คนกลุ่มนี้จะเป็น Long Covid นั้นจะลดลงถึงร้อยละ 41.1 งานวิจัยนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 500,000 คน ช่วงเดือนเมษายน จนถึงเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา

และยังพบว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างการฉีดวัคซีนแบบ mRNA อย่างไฟเซอร์และโมเดอร์นา หรือวัคซีนแบบ Viral Vector อย่างแอสตร้าเซนเนก้า

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ