เปิดปัจจัยเสี่ยง! ผู้ชายเสี่ยงโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือน


โดย BDMS Wellness Clinic

เผยแพร่




หัวใจ ทำหน้าที่เป็นเหมือนศูนย์รวมของชีวิต เราจึงต้องดูแลหัวใจให้แข็งแรง ด้วยแนวทางการป้องกันเชิงรุกเพื่อให้สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรงมีประสิทธิภาพดีอยู่เสมอ 

ทำไมต้องตรวจสุขภาพหัวใจ
-    เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญและทำงานหนักตลอดเวลามีความเสี่อมสภาพง่าย และคนมักจะมีปัจจัยเสี่ยงอยู่เสมอที่จะเกิดโรคหัวใจโดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจตีบ ยกตัวอย่างเช่น 
o    ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งได้แก่
• อายุ : โดยปกติแล้ว ความเสี่ยงของโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
• พันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
• เพศ : ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือน

เคล็ด(ไม่)ลับ สารอาหารสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ 

สูงวัยควรทำ 11 สิ่งนี้ เสริม "หัวใจ" แข็งแรงยาวนาน

checklist 5 สัญญาณโรคหัวใจ | DigiHealth EP.6 | “โรคหัวใจ” ไม่เลือกวัย เสี่ยงได้แม้อายุน้อย

o    ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ ซึ่งได้แก่
• โรคความดันโลหิตสูง : การปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน ๆจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดมาเลี้ยงร่างกาย กล้ามเนื้อหัวใจจะหนาขึ้น หัวใจจะโตขึ้นหลอดเลือดตีบแข็งและอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย และนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด
• การสูบบุหรี่ : ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 2 – 4 เท่าเนื่องจากสารอนุมูลอิสระที่อยู่ภายในบุหรี่จะทำให้เซลล์ที่เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อมทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน ซึ่งนำไปสู่สภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
• ระดับไขมันในเลือด : ผู้ที่มีระดับไขมันแอลดีแอลโคเลสเตอรอลสูง จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงขึ้นไขมันดังกล่าวจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น และหลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนน้อยลงในที่สุดหลอดเลือดหัวใจก็อุดตันและเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย
• โรคเบาหวาน : ทำให้ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและหัวใจสูงขึ้นเบาหวานจะทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ เสื่อมลง
• การขาดการออกกำลังกาย : ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายจะมีความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดและหัวใจสูงขึ้นการออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจได้และยังสามารถช่วยควบคุมปัจจัยความเสี่ยงอื่น ๆ เช่นความดันโลหิต ระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดเบาหวานและน้ำหนักที่มากเกิน หรืออ้วน
• ความอ้วน : ผู้ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กก. / เมตร2 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจโดยสามารถคำนวณดัชนีมวลกายได้จากน้ำหนักตัว(หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง(หน่วยเป็นเมตร)ยกกำลัง 2อย่างไรก็ตามหากมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย แม้มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กก. / เมตร2ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
• มลพิษและฝุ่น PM2.5 ที่ร่างกายได้รับเป็นเวลานาน 

อาการผิดปกติ ที่บ่งบอกความเสี่ยงของโรคหัวใจ
•    ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ แต่ในผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันค่อนข้างมากจะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างมาก
จนทนไม่ได้ เหมือนมีอะไรหนัก ๆ กดทับตรงกลางหน้าอก หรือการเจ็บจากหน้าอกขึ้นไปถึงคางหรือเจ็บลงไปถึงแขนซ้าย
•    หายใจหอบ เหนืื่อย และเหนื่อยง่ายกว่าปกติที่เคยเป็น 
•    เหงื่อแตกใจสั่น
•    หมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น (Heart Attack)

การตรวจสุขภาพหัวใจ ต้องทำอย่างไร
•    สำรวจตัวเองและหาความเสี่ยง
•    ตระหนักถึงความสำคัญของอาการแสดงต่างๆที่กี่ยวข้องกับอาการแสดงของโรคหัวใจ ดังกล่าวข้างต้น 
•    การเจาะเลือดเพื่อหาโรคต่าง ๆ
•    การใช้การเดินสายพาน
•    การตรวจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงหรือ Echocadiogram 
•    การใช้ -CT เพื่อดู Calcium score หรือหารอยตีบของหลอดเลือด 
•    การตรวจด้วย Ultrasound Carotid เพื่อหาตระกันในหลอดเลือดที่คอ 
•    การวัดความแข็งของหลอดเลือดและดูว่ามีหลอดเลือดส่วนปลายที่ขาตีบหรือไม่ `ABI 

แนะนำแพคเกจ ตรวจสุขภาพด้วย BWC Ultrasound Carotid มีความสำคัญอย่างไร
-    ด้วยการสีบหาโรคด้วยการตรวจที่ครบครันและทันสมัยเพื่อหารอยโรคในหลอดเลือดของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงมี Package ที่รวบรวมการตรวจที่เฉพาะเจาะจงในส่วยของ Cardiovascular จึงได้ข้อมูลที่ครบและถูกต้องมากที่สุดเพื่อวางแผนป้องกันตัวเองจากโรคหลอดเลือดและหัวใจ 

นอกเหนือจากนั้น การปฏิบัติตัวสำหรับที่พบว่ามีรอยโรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ-ตัน
1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
2. รับประทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
3. รับประทานอาหารแต่พออิ่ม และควรพักหลังอาหารประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง
4. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดีที่สุด คือการเดิน เริ่มโดยการเดินช้า ๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทางแต่อย่าให้เกินกำลังตนเอง
5. ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน และหาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่นการดูเกมการแข่งขันที่เร้าใจ
6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด
7. งดดื่มสุรา และหลีกกเลี่ยงการสูบบุหรี่
8. หลีกเลี่ยงงานหนัก งานรีบเร่ง และงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนาน ๆ
9. เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมนั้น ๆ ทันที ให้รีบไปพบแพทย์ได้ทันที

BDMS Wellness Clinic มุ่งมั่นพัฒนาและวิจัยเรื่องสุขภาพ เพื่อมอบเป็นของขวัญสุขภาพแก่คนไทยทุกคน เพราะสุขภาพที่ดี คือของขวัญที่ดีที่สุด Live longer, Healthier and Happier
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic)  ไลน์ : @bdmswellnessclinic or  https://lin.ee/rdIDv1A เว็บไซต์ : www.bdmswellness.com

บทความโดย: นายแพทย์ชาติทนง ยอดวุฒิ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหลอดเลือดและหัวใจ

 

คอนเทนต์แนะนำ
รู้จักเครื่อง ECMO  พยุงหัวใจและปอดให้ผู้ป่วยโควิด-19
รู้จัก "โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ" ซ่อนตัวเงียบแต่อันตรายถึงชีวิต

 

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ