เคล็ดลับการกินอาหารหลังผ่าตัดถุงน้ำดี


โดย BDMS Wellness Clinic

เผยแพร่




ถุงน้ำดีมีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหาร น้ำดีของมนุษย์ถูกผลิตขึ้นที่ตับ แล้วถูกนำมาเก็บที่ถุงน้ำดี เพื่อให้มีปริมาณและความเข้มข้นที่เหมาะสม

เมื่อเรารับประทานอาหาร ถุงน้ำดีจะเกิดการบีบตัว เพื่อปล่อยน้ำดีทั้งหมดไปยังทางเดินอาหาร ทำให้ไขมันแตกตัวและพร้อมที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือ น้ำดีมีหน้าที่ช่วยย่อยไขมันจากอาหารที่เรารับประทานนั่นเอง

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับถุงน้ำดีที่พบได้บ่อย เช่น นิ่วในถุงน้ำดี หรือ ถุงน้ำดีอักเสบ อาจทำให้มีอาการปวดจุกแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ

กินอย่างไรเมื่อ "ไม่มีถุงน้ำดี" ปรับพฤติกรรม เปลี่ยนอาหาร เพื่อร่างกาย

อาการ "ปวดท้อง" อย่าปล่อยไว้ รีบตรวจเช็ก บางโรคอาจต้องผ่าตัด 

 

เพื่อลดบางรายอาจมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน หรือมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งคนไข้มักได้รับคำแนะนำให้ตัดถุงน้ำดีออก

การรับประทานอาหารภายหลังการตัดถุงน้ำดี

หลังจากการตัดถุงน้ำดี น้ำดีจะถูกส่งจากตับเข้าสู่ลำไส้เล็กโดยตรง แม้ร่างกายจะยังผลิตน้ำดีได้ตามปกติ แต่ปริมาณน้ำดีและความเข้มข้นอาจไม่เพียงพอสำหรับกระบวนการย่อยไขมันทำให้เกิดอาการท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสีย เพื่อลดอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัด คนไข้ควรรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามคำแนะนำดังนี้

1. เริ่มจากรับประทานอาหารย่อยง่าย สัปดาห์แรกภายหลังการผ่าตัดควรเลือกรับประทานอาหารอ่อน จำพวก ซุปใส โจ๊ก หรือข้าวต้ม เพื่อติดตามความอยากอาหาร และดูว่าร่างกายสามารถย่อยอาหารได้ตามปกติหรือไม่

2. รับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง  โดยลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลงและปรับความถี่ให้เพิ่มขึ้นเป็น 5 –6 มื้อต่อวัน เพื่อให้การย่อยอาหารเกิดขึ้นได้สมบูรณ์มากขึ้น

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน ชีส เนย ขนมอบ นมไขมันเต็มส่วน วิปปิ้งครีม เป็นต้น เลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันลดลง และเป็นไขมันชนิดดี เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า เลือกรับประทานแหล่งโปรตีนไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เต้าหู้ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น 

4. เพิ่มการรับประทานใยอาหาร จำพวกข้าวไม่ขัดสี ธัญพืชต่างๆ ผักและผลไม้ เพราะใยอาหารส่งผลดีต่อการทำงานของลำไส้ อย่างไรก็ตามควรเพิ่มปริมาณอย่างช้าๆ เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของลำไส้ เนื่องจากใยอาหารมักทำให้เกิดลม อาจทำให้รู้สึก ปวดท้อง ท้องอืด

5. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติเผ็ด น้ำตาลสูง คาเฟอีน น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาหารเหล่านี้มักระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด และอาจท้องเสียมากยิ่งขึ้น

6. จดบันทึกอาหาร เนื่องจากร่างกายของแต่ละบุคคลตอบสนองต่ออาหารแต่ละชนิดแตกต่างกัน การจดบันทึกอาการที่เกิดขึ้นหลังการรับประทาน ช่วยให้คนไข้เลือกรับประทานอาหารแต่ละชนิดได้ดีขึ้น

สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลเรื่องโภชนาการ คือ การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีพลังงานเพียงพอเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ควบคู่กับการออกกำลังที่เหมาะสมกับสภาวะของร่างกาย รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอยู่เสมอ

BDMS Wellness Clinic มุ่งมั่นพัฒนาและวิจัยเรื่องสุขภาพ เพื่อมอบเป็นของขวัญสุขภาพแก่คนไทยทุกคน เพราะสุขภาพที่ดี คือของขวัญที่ดีที่สุด Live longer, Healthier and Happier

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) ​ ไลน์ : @bdmswellnessclinic or  https://lin.ee/rdIDv1A เว็บไซต์ : www.bdmswellness.com

แหล่งที่มา

- Altomare D, Rotelli M, Palasciano N. Diet After Cholecystectomy. Current Medicinal Chemistry. 2019;26(19):3662-3665.

สปสช.แจงยกเลิกสัญญา 9 รพ.เอกชน เหตุผลสอบพบเบิกจ่ายไม่ถูกต้อง

"โพรไบโอติกส์" แบคทีเรียดี ยิ่งมีสุขภาพยิ่งแข็งแรง!

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ