ขอยกตัวอย่างห้าเคล็ดลับดี ๆ ช่วยให้ห่างไกลซึมเศร้า
1.เหนื่อยนักก็พักซะก่อน
หลายครั้งที่คนมีอาลมเศร้ามักจะไม่รู้ตัวเวลาเจอปัญหายากยากมองไปทางไหนก็ยังไม่เห็นหนทางแก้ปัญหาถ้าหากเราได้หยุดพักสักนิดให้ร่างกายและจิตใจได้พักผ่อนพอรู้สึกดีขึ้นก็มักจะเริ่มเห็นช่องทางแก้ไขปัญหาต่อไปได้
2.ไม่ต้องบังคับให้ตัวเองคิดบวกลองหาวิธีผ่อนคลายความรู้สึกเข้ม ๆ ลงบ้าง
ความเครียดหรืออารมณ์เศร้าจะทำให้เรารู้สึกว่าทุกอย่างแย่ทุกอย่างไม่มีทางออกซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าเป็นเรื่องปกติในภาวะอารมณ์ดิ่ง ๆ แบบนี้
เช็ก 7 สัญญาณเตือน "อาการป่วยทางจิต" ที่ควรปรึกษาแพทย์
เครียดเรื้อรังเสี่ยงซึมเศร้า แนะ 3 วิธีบำบัดความเครียด
ดังนั้นการไปบังคับให้ตัวเองรู้สึกในทางตรงกันข้ามก็จะเป็นสิ่งที่ฝืนความรู้สึกมากเกินไปและอาจทำให้รู้สึกเครียดหนักไปกว่าเดิม เช่น ในคนที่ซึมเศร้ามาก ๆ จะรู้สึกไม่ค่อยดีเวลาได้ยินคนบอกว่า ให้คิดบวกสิ หรือสู้ ๆ ซิ คนอื่นยังผ่านมาได้เลย เพราะเค้าจะรู้สึกกดดันและคิดว่าตัวเองทำไม่ได้ จริง ๆ แล้วในสภาวะที่อารมณ์ดิ่งมาก ๆ การเปิดโอกาสให้ตัวเองได้มีช่องทางได้ระบายความรู้สึกที่อัดอั้นออกมาจะเป็นผลดีมากกว่าทั้งทางตรง เช่น การพูดระบาย บ่น ปรับทุกข์ ร้องไห้ หรือทางอ้อม เช่น การทำกิจกรรมต่าง ๆ ยิ่งการระบายมีได้หลายช่องทางยิ่งดี เช่น ได้ปรับทุกกับคนที่ไว้ใจ ได้ทำกิจกรรมอะไรบางอย่างที่ตัวเองเคยชอบ ได้ทำกิจกรรมที่ทำแล้วรู้สึกผ่อนคลาย หากการระบายทำได้ดีความรู้สึกที่เข้ม ๆ หรือดิ่งมาก ๆ ก็จะจางลง
4.พยายามอย่าอยู่คนเดียว
ธรรมชาติของอารมณ์เศร้าจะดึงรั้งให้เราอยากอยู่คนเดียว คนที่ซึมเศร้าจะมีความคิดว่าตนเป็นภาระของคนอื่น หรือมองว่าตัวเองไม่ดี ไม่เก่งเหมือนเดิม จึงไม่อยากเข้าสังคมแบบก่อน ตรงนี้เป็นจุดละเอียดอ่อนตรงที่หากเราเก็บตัวอยู่คนเดียวไปเรื่อย ๆ โอกาสที่จะซึมเศร้าจะเป็นมากขึ้นก็มีสูง แต่หากจะให้ออกไปทำอะไรก็ไม่อยากออกไป เพราะอารมณ์ไม่ดีเพียงพอที่จะออกไปไหน คำแนะนำคือให้ลองสังเกตอารมณ์ของตัวเองในแต่ละวัน และใช้หลักพบกันครึ่งทาง หากวันไหนอารมณ์ไม่ดีจริง ๆ ก็อยู่คนเดียวไปก่อนได้ แต่ต้องหากิจกรรมที่ชอบทำร่วมไปด้วยไม่ใช่อยู่คนเดียวเฉย ๆ แต่หากวันไหนที่อารมณ์ดีขึ้นบ้างแล้วก็ลองหากิจกรรมที่ทำร่วมกับคนอื่น หรือเปลี่ยนบรรยากาศอยู่บ้าง เช่น ออกไปกินข้าวกับเพื่อน หรือออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ้างก็เป็นทางออกที่ดี
5.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญการพบจิตแพทย์นั้นไม่จำเป็นต้องให้มีความเครียดมากหรือซึมเศร้ามากก็มาพบได้ หากเดิมเคยเป็นคนเก่ง คนร่าเริง แต่เดี๋ยวนี้ชักเริ่มเครียด เริ่มไม่มั่นใจในตัวเอง ร่วมกับประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลง อาการดังกล่าวนี้หากได้ประเมินได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญแล้วก็จะช่วยลดโอกาสที่จะทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้
ภาวะเบิร์นเอ้าต์ (BURNOUT) อย่ารอให้หมดไฟในการทำงาน
แยกให้ออกระหว่าง "ซึมเศร้า" กับ "ไบโพลาร์" เหมือนหรือต่างอย่างไร