ส่องอาชีพนักผจญเพลิงในหลายประเทศ มองเป็นอาชีพสุดเท่ ที่สาวกรี๊ด ได้รับค่าตอบแทนสูง มีการฝึกอบรมหลักสูตรเข้มข้น บางประเทศเปิดหลักสูตรสอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ยันกระบวนการตัดสินใจ แถมมีการพัฒนาเรื่องการดูแลความปลอดภัยเพื่อให้เสี่ยงน้อยที่สุด ขณะที่หลังจากสังคมออนไลน์บ้านเรา วิจารณ์เรื่องการดูแลความปลอดภัยของเหล่านักผจญเพลิง ที่อยู่หน้างานในวันเกิดเหตุระเบิดและเพลิงโหมไหม้โรงงานหมิงตี้ ซอยกิ่งแก้ว 21 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
แห่อาลัย "พอส" หนุ่มกู้ภัยเสียชีวิต เหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้
เราไปรู้จักอาชีพนักผจญเพลิงในประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ และ ประเทศที่แสนจะเจ้าระเบียบอย่างญี่ปุ่น นักผจญเพลิงที่สหรัฐได้เงินเดือนเฉลี่ยประมาณ 1.77 ล้านบาทต่อปี สำหรับนักดับเพลิงท้องถิ่นมีเงินเดือนราว 1.85 ล้านบาทต่อปี หากมีประสบการณ์ทำงานสูงขึ้นจะได้รับเงินเพิ่ม ในสหรัฐมีนักดับเพลิงมืออาชีพมากกว่า 3 แสนคน พวกเขาช่วยชีวิตคนนับล้านและปกป้องทรัพย์สินจากความเสียหายได้มหาศาล นักดับเพลิงถูกมองว่าเป็นวีรบุรุษในชุมชนและได้รับการชื่นชมจากเด็กและผู้ใหญ่
นักผจญเพลิงในสหรัฐฝึกเข้มรายได้สูง
ที่สหรัฐกว่าจะมาเป็นนักผจญเพลิงต้องการการฝึกอบรมที่เข้มงวด พวกเขาต้องได้รับการฝึกฝน การปฏิบัติงาน ควบคุมเพลิง ทั้งแบบใช้ปั๊มฉีดพ่นน้ำโฟมและสารเคมีจากท่อถังดับเพลิงแบบพกพาและอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อดับไฟและกระจายหรือทำให้เป็นกลางของสารอันตราย ต้องเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการฝึกอบรมชั้นเรียนช่วยเหลือการฝึกซ้อมการสาธิตและหลักสูตรเทคนิคฉุกเฉินและการดับเพลิง
ข้อกำหนดในการเป็นพนักงานดับเพลิง คือ ต้องมีใบรับรองแพทย์เทคนิคการแพทย์ฉุกเฉิน (EMT) การศึกษาและการฝึกอบรม ต้องมีปริญญาด้านวิทยาศาสตร์ไฟ วิชาเอกวิทยาศาสตร์ไฟในระดับปริญญาตรีอาจรวมการเรียนในชั้นเรียนกับการฝึกภาคสนามและหรือการฝึกงาน พวกเขายังศึกษาหลายๆ ด้านของอาชีพบริการดับเพลิง เช่น พฤติกรรมการดับเพลิงการดับเพลิงขั้นตอนการช่วยเหลือและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม หลักสูตรทั่วไปนอกเหนือจากชั้นเรียนการศึกษาทั่วไป
นักผจญเพลิงญี่ปุ่นอาชีพสาวกรี๊ด
ส่วนที่ญี่ปุ่น สาวๆ อยากได้แฟนเป็นนักดับเพลิง เพราะเป็นอาชีพหนึ่งที่สาวญี่ปุ่นกรี๊ดและอยากได้มาเป็นคู่ครอง ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกเขาหุ่นดี เพราะต้องฟิตร่างกายอยู่เสมอ ถึงจะไม่มีไฟไหม้ก็ต้องเทรนนิ่ง ฟิตร่างกายทุกวัน ทำให้ร่างกายมีกล้าม ดูเฟิร์ม สุขภาพก็ต้องแข็งแรง
เหนือสิ่งอื่นใด อาชีพนักดับเพลิงมีรายได้ที่มั่นคง เพราะเป็นอาชีพข้าราชการ ตราบใดที่ไม่ทำผิดร้ายแรง เงินเดือนไม่มีทางลด แถมเงินเดือนค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น และไม่มีทางถูกไล่ออก ถึงแม้จะเจ็บป่วยก็มีกินมีใช้ไปตลอดชีวิต แก่ไปไม่ลำบากแน่
ฐานเงินเดือนต่อปีของนักดับเพลิงญี่ปุ่นคร่าวๆ
- อายุ 20 ต้น ๆ ประมาณ 2.8 - 3.25 ล้านเยน หรือ ไม่ต่ำกว่า 8.4 แสนบาท
- อายุ 20 ปลายๆ รายได้ขยับเป็น 3-4 ล้านเยน หรือ ไม่ต่ำกว่า 9 แสนบาท
- อายุ 40 ต้นๆ รายได้สูงถึง 5.6- 6 ล้านเยนหรือไม่ต่ำกว่า 1.6 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีเงินเบี้ยเลี้ยงเพิ่มเติม ยิ่งอายุเยอะ ยิ่งได้เงินเพิ่มตามไปด้วย
ส่วนสวัสดิภาพ หรือ ความปลอดภัยในการทำงาน มีการออกแบบให้พวกเขาหลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่เสี่ยงโดยตรง เช่น มีรถฉีดโฟมเพื่อดับเพลิงอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้คนขับ
นักผจญเพลิงออสเตรเลียได้รับการดูแลอย่างดี
ในออสเตรเลีย นักดับเพลิงเป็นอีกกลุ่มอาชีพหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูง ไฟป่าที่เผาผลาญอย่างรุนแรง ทำให้ได้เห็นบทบาทของนักดับเพลิงชาวออสเตรเลีย ที่ทำหน้าที่เป็นแนวหน้าเข้าไปผจญเพลิงและดับไฟที่โหมไหม้ ทำลายทั้งป่าและสัตว์ป่า นักผจญเพลิงที่ออสเตรเลียส่วนใหญ่เป็นอาสามัคร พวกเขาได้รับค่าตอบแทนราว 104,000 บาท ซึ่งถูกมองว่าน้อยนิดเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่ต้องเจอ ทำให้นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียประกาศเพิ่มค่าชดเชยให้เมื่อปีที่แล้ว
บริษัทเอกชนของออสเตรเลียคำนึงถึงความปลอดภัยของนักดับเพลิง แม้ในระดับการฝึกซ้อมผจญเพลิง บริษัทที่ชื่อ FLAIM Systems สร้างระบบจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง หรือ VR (Virtual Reality) ที่ให้นักผจญเพลิงสามารถซ้อมดับเพลิงได้เสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง โดยมีทั้งควัน เปลวไฟ น้ำ รวมถึงโฟมที่เจ้าหน้าที่ใช้ดับเพลิง
เทคโนโลยีนี้สามารถจำลองสถานการณ์ได้หลากหลาย ทั้งไฟไหม้บ้าน ไฟไหม้ในเครื่องบิน รวมถึงไฟป่า เทคโนโลยีวีอาร์ ทำให้ผู้ฝึกซ้อมสัมผัสกับความร้อนมากกว่า 100 องศาเซลเซียสได้ในเวลาสั้นๆ จำลองแรงดันจากสายฉีดน้ำ รวมถึงยังมีการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ และ อัตราการหายใจของผู้รับเข้ารับการทดสอบได้อีกด้วย
นักผจญเพลิงในสหราชอาณาจักร
เงินเดือนโดยเฉลี่ยของนักดับเพลิงในสหราชอาณาจักรอยู่ที่ ราวๆ 1 แสนบาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นตามประสบการณ์
พนักงานดับเพลิงในสหราชอาณาจักรหรือยูเค มีหน้าที่ช่วยเหลือในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วย พวกเขาจะช่วยส่งอาหาร เก็บศพและขับรถฉุกเฉินด้วย
ในประเทศอังกฤษมีหลักสูตรกู้ภัย ที่ที่สอนด้านการให้ความช่วยเหลือ หรือกู้ภัยเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้นโดยตรง โดยมีมหาวิทยาลัยถึง 4 แห่งที่เปิดสอนหลักสูตร มุ่งเน้นไปที่อาชีพหน่วยกู้ภัยและนักผจญเพลิง ทั้งเรื่องของการปฏิบัติการณ์ และการประเมินสถานการณ์ในกรณีฉุกเฉิน หลักสูตรกู้ภัยและการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน และ หลักสูตรปริญญาโทนานาชาติที่เน้นเรื่องของวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัยโดยเฉพาะ
ย้อนกลับมาที่บ้านเรา ถ้าเป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จะมีค่าตอบแทนให้บ้างประมาณครั้งละ 100-500 บาท ส่วนนักดับเพลิงของไทย ถ้าเป็นข้าราชการของกทม. เงินเดือนเริ่มต้นที่ 10,000 กว่าบาท ไปจนถึงตำแหน่งสูง ๆ ก็จะได้ประมาณ 50,000-60,000บาท