กิจวัตรประจำวัน ทั้งการออกไปทำงาน พบปะผู้คน หลายครั้งที่ความเครียดส่งผลเสียต่อสุขภาพเราทั้งในระยะสั้น และก็ส่งผลในระยะยาว การเข้าใจ “ความเครียด” อาจเป็นอีกหนทางที่ช่วยจัดการได้ดี
คงเป็นไปได้ยากที่ในชีวิตเราจะไม่เจอความเครียดเลย และหลายครั้งพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความเครียดเพราะเชื่อว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเชื่อว่า “ความเครียด” ไม่มีข้อดี และไม่ควรเจอ!
จิตแพทย์แนะ 5 วิธีกำจัดความเครียดช่วงโควิด ก่อนป่วยทางใจ
6 โรคที่มนุษย์ออฟฟิศพึงระวัง
ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพจริง
ความเครียดส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย และใจทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
The US National Institute of Mental Health (NIMH) อธิบายถึงผลที่ตามจากสภาวะเครียดไว้หลากหลายอาการอย่างเช่น มีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหาร, ปวดหัว หรือหงุดหงิดได้ อาจจะเกิดขึ้นไม่กี่วัน แต่ในระยะยาวส่งผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และยังเชื่อมโยงถึงสุขภาพจิตอย่างโรคหดหู่ และโรควิตกกังวล
ความเครียดมีแต่ข้อเสีย?
ไม่จำเป็นเสมอไป ในชีวิตประจำวันปกติ เรามีโอกาสที่จะเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้เราตกอยู่ในความเครียดได้
ความเครียดจะบอกเราให้ “สู้” หรือ “หนี” ชีพจรเราจะเต้นเร็วขึ้น, หายใจแรงขึ้น กล้ามเนื้อเกร็ง และสมองต้องการออกซิเจนมากขึ้น ซึ่งร่างกายจะพยายามทำงานเพื่อตอบสนองต่อความเครียดนั้น
แต่ความเครียดกลับมีประโยชน์ในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเรา หากเราไม่ได้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่อันตราย หากเรามีความเครียดอย่างเหมาะสม
จัดการกับความเครียดอย่างไร?
องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้เผยแพร่แนวทางการจัดการกับความเครียดสามารถเข้าไปดาวน์โหลดฟรีได้ที่ (ภาษาอังกฤษ) >>Doing What Matters in Times of Stress (who.int) ซึ่งจะบอกถึงกระบวนการในการปรับสภาพจิตใจของเราให้สู่สภาวะที่เหมาะสม, การระบุ และหาสาเหตุของปัญหาได้
มาเต้นกันเถอะ! วางสเต็ปร่างกายให้ตรงจังหวะ เป็นการบำบัดที่ดีต่อใจ
"ผมร่วงเป็นหย่อม" เกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมวิธีดูแล
ที่มา World Economic Forum