"เสียสมาธิขณะทำงาน" … ปัญหานี้มีวิธีแก้ไข

โดย PPTV Online

เผยแพร่

จัดการสิ่งรบกวนขณะทำงาน แก้ปัญหา “เสียสมาธิขณะทำงาน” เพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

มีหลายสิ่งมากมายที่ชวนเราเสียสมาธิ ตั้งแต่โซเชียล ยันเพื่อนรวมงานแผนกข้างกัน การได้พักจากการทำงานบ้างเป็นเรื่องที่ดี แต่การเสียสมาธินี่สิคือเรื่องที่ต้องแก้

เป็นที่รู้กันว่าการทำงานต่อเนื่องยาวนานไม่ได้ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานมากนัก การได้มีช่วงเวลาพักผ่อนบ้างเป็นเรื่องที่ดี ที่ทำให้เราพร้อมกลับมามีสมาธิในการทำงานต่อ หรือแม้แต่หัวหน้าที่กำลังพูดคุยกับทีมอยู่ และเสียสมาธิไปกับการแจ้งเตือนของมือถือจนลืมสิ่งที่คนในทีมกำลังบอกถึงปัญหา ซึ่งอาจจะกลายเป็นการสื่อสารที่ไม่สมบูรณ์ได้

เช้าวันจันทร์ "ไม่อยากทำงาน" ใครเป็นบ้าง มีวิธีแก้
7 วิธีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดี และดียิ่งขึ้น

หากปล่อยไว้เรื่อยจนกลายเป็นพฤติกรรม ย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในระยะยาวอย่างแน่นอน

ลองมาเรียนรู้กันว่าทำอย่างไรเราถึงจะมีสมาธิอย่างแน่วแน่ในเวลาที่เราต้องการ

1. รู้ทันแรงกระตุ้นจากภายใน (Internal Triggers) และจัดการได้ 

ทำความเข้าใจถึงแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นภายในตัวเราที่ส่งผลต่อพฤติกรรม ซี่งแรงกระตุ้นภายในของเรา เกิดจากความรู้สึกที่อยากจะหนีออกจากความไม่สบายใจ หรือความกังวลใจต่าง ๆ หากรู้สึกว่าเราเล่นเกม หรือส่องโซเชียลมากเกินไป แสดงว่าเรากำลังมีปัญหาทางสุขภาพจิตในด้านความกังวลใจ

เราควรทำความเข้าใจถึงแรงกระตุ้นจากภายในว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และเราสามารถแก้ไข หรือเรียนรู้ที่จะควบคุม และตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้น

เราไม่จำเป็นต้องรู้สึกแย่เมื่อเกิดแรงกระตุ้นจากภายใน เพียงแค่รับรู้ว่ากำลังเกิด และลองทำความเข้าใจว่าสาเหตุไหนถึงเกิดแรงกระตุ้นนี้ขึ้น ยิ่งเรียนรู้ และเข้าใจได้เร็วมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลดีต่อการจัดการแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นจากภายในได้ดีมากขึ้นเท่านั้น

2. กำหนดเวลาที่จะมีสมาธิ 
ง่าย ๆ เลยคือการวางแผนในการทำงาน ว่าเราจะกำหนดช่วงตั้งใจอย่างมีสมาธิตอนไหน และเท่าไหร่

จากนั้นหาเวลาพักผ่อน เพื่อผ่อนคลายจากนั้นกลับไปทำงานต่อ ลองนึกถึงคุณค่าที่เราได้จากผลสำเร็จของงานนั้น อย่างเช่นเวลาที่เราทำ Presentation เพื่อนำเสนอให้กับที่ประชุม จะมีคุณค่า หรือความสามารถบางอย่างที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากผลสำเร็จของงานชิ้นนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบการนำเสนอ, วิธีการนำเสนอ หรือแม้แต่ได้เรียนรู้ในเรื่องที่เรากำลังนำเสนอ

จากนั้นลองแบ่งช่วงเวลาที่ใช้ในการทำ Presentation ว่าใน 1 วันเราจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร อย่างเช่น

ช่วง 08:00-09:00 น. หาไอเดีย และวิธีนำเสนอที่น่าสนใจ แล้วร่างไว้คร่าว ๆ / 09:00-09:20 น. ผ่อนคลายสายตา และสมองพักจิบน้ำ / 09:20-10:30 น. เริ่มทำ Presentation ครึ่งแรกให้เสร็จจากที่ร่างไว้ / 10:30-10:40 น. ผ่อนคลายสายตา และสมองพักจิบน้ำ / 10:40-12:00 น. ทำ Presentation จนสำเร็จ และส่งให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อช่วยดู และเช็กอีกครั้ง จากนั้นลองกลับมาแก้ไข

ในช่วงบ่ายอีกรอบพร้อมนำเสนอ ซึ่งแต่ละคนจะมีช่วงเวลา และระยะเวลาที่ไม่เหมือนกันลองวางแผนการทำงานในแต่ละวันที่เหมาะสมกับเรา

3. รับมือกับแรงกระตุ้นจากภายนอก 
ตั้งแต่เสียงแจ้งเตือนโทรศัพท์ของเรา ไปจนถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวที่จะคอยดึงสมาธิเราได้อย่างง่ายดาย

ลองมองหาสภาพแวดล้อมที่เราจะถูกทำให้ไขว้เขวได้ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน ให้เราลองหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

และมือถือ อุปกรณ์ที่ดึงสมาธิจากการทำงานของเราได้ดีที่สุด แนะนำว่าถ้าเราเราถูกกระตุ้น และแก้ไขได้ยากให้ลบแอพที่ทำให้เราเสียสมาธิได้ง่ายที่สุด และใช้ผ่านอุปกรณ์อื่น อย่างคอมพิวเตอร์ หรือปรับโหมดมือถือให้อยู่ในโหมด “ปิดการแจ้งเตือน” ซึ่งจะช่วยลดแรงกระตุ้นจากภายนอกได้ดี

4. ให้สัญญากับตัวเอง 
ลองตั้งเงื่อนไขที่สนุก และท้าทายตัวเองอย่างเช่น ถ้าเราเขียนบทความนี้ไม่เสร็จก่อน 5 โมงเย็น เราจะเลี้ยงหมูกระทะเพื่อนเรา 1 มื้อ และถ้าทำสำเร็จเราจะให้รางวัลกับตัวเองเป็นของที่มูลค่าใกล้เคียงหมูกระทะก็ได้

มองหางานใหม่ ใช้ 5 ขั้นตอนนี้ เพื่อหางานที่ใช่สำหรับเรา

สิ่งที่ควรทำเมื่อ "ทำงานเป็นกะ" เพื่อสุขภาพในระยะยาว

ลองมองหาแรงจูงใจที่ทำให้เรามีสมาธิ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจในการช่วยเรารักษาสมาธิเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานที่เราทำ

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ