ใกล้วันสำคัญของ “พระแม่ลักษมี” เข้ามาแล้ว คือ “เทศกาลดิวาลี” (Diwali) ซึ่งตามความเชื่อของชาวอินเดียจะเฉลิมฉลองกันเป็นเวลา 5 วัน เพราะถือว่าวันขึ้นปีใหม่ของพวกเขา คือในวันที่ 28 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2567
และในวันที่สามของการเฉลิมฉลองนั้น บ้างก็เชื่อว่าเป็นวันเกิดของพระแม่ลักษมี
“ดิวาลี 2567” ตรงกับวันไหน เปิดประวัติเทศกาลแห่งแสงสว่าง-บูชาพระแม่ลักษมี
วันหยุดพฤศจิกายน 2566 เช็กปฏิทินวันหยุดราชการ-วันสำคัญ
ทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี จึงขออาสาพามารู้จักกับ “พระแม่ลักษมี” มหาเทวีผู้ที่ชาวอินเดียให้ความเคารพนับถือกันมาก และเชื่อว่าพระแม่จะประทานพรในด้านความรักและโชคลาภให้กับผู้ศรัทธา
ประวัติ “พระแม่ลักษมี”
ตามตำนานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเชื่อว่า “พระแม่ลักษมี” (Lakshmi) มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวที่เหล่าเทวดาและอสูรกวนเกษียรสมุทรเพื่อทำน้ำอมฤต โดยขณะที่ผุดขึ้นมานั้นทรงประทับนั่งในดอกบัวและพระหัตถ์ถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกพระนามว่า “ปัทมา” หรือ “กมลา”
แต่ด้วยขณะที่กวนเกษียรสมุทรนั้น ได้เกิดของวิเศษผุดขึ้นมาตามลำดับ ได้แก่ พิษ เพชร พระแม่ลักษมี จันทรา ช้าง ม้า วัว และกระบือ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระแม่ลักษมีทรงนำเพชรขึ้นมาก่อน ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูจึงเชื่อกันว่าพระองค์ยังเป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และโชคลาภ
พระแม่จะประทานทรัพย์สินเงินทอง ความมั่งคั่งร่ำรวย และความสำเร็จในการทำมาค้าขาย เการจรจาต่อรอง และการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้บูชาและประกอบความดีอยู่เป็นนิจ
นอกจากนี้พระแม่ลักษมี เป็นพระชายาคู่บารมีของพระวิษณุ ไม่ว่าพระองค์จะอวตารไปอยู่ในปางไหน พระแม่ก็จะอวตารไปเป็นชายาของพระองค์เสมอ เช่น อวตารไปเป็นพระนางสีดาคู่กับพระราม อวตารไปเป็นพระนางรุกมิณี หรือพระนางธาราเทวี คู่กับพระกฤษณะ เป็นต้น ด้วยความรักอันมั่นคงของทั้ง 2 พระองค์ จึงทำให้ผู้คนนิยมมาขอพรในเรื่องของความรัก ชีวิตคู่ ชีวิตครอบครัว อีกด้วย
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 3 อิทธิพลพายุ “จ่ามี” ฝนถล่มไทย 26-29 ต.ค. นี้
เช็กชื่อ 7 จำเลยคดีตากใบ! ที่ยังจับดำเนินคดีไม่ได้
ตาราง MotoGP 2024 ! โปรแกรมถ่ายทอดสด โมโตจีพี 2024 พร้อมลิงก์ดูโมโตจีพี
เทวีแห่งความงามของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ตามคติความเชื่อของชาวอินเดียกล่าวกันว่า พระแม่ลักษมีทรงเป็นเทวีแห่งความงาม และทรงงามเลิศกว่าเทวนารีใด โดยรัศมีแห่งองค์พระแม่ สุกปลั่งเป็นประกายอย่างสายฟ้าแลบ และกลิ่นหอมจากพระวรกายนั้น ประหนึ่งกลิ่นดอกบัว หอมจรุงไปไกลถึงหลายร้อยโยชน์
นอกจากนี้สิ่งที่พระแม่ลักษมีทรงถืออยู่ที่เห็นกันบ่อยที่สุด คือ “ดอกบัว” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และมักจะถือไว้ 2 ดอก หรือไม่ก็ทรงถือ “หม้อน้ำ” พระหัตถ์หนึ่ง อีก พระหัตถ์หนึ่งหงายลงสู่พื้น “มีเหรียญทองโปรยปราย” ลงจากใจกลางพระหัตถ์ หรือไม่ก็เทออกมาจากในหม้อ เป็นสัญลักษณ์ของเทวีแห่งโชคลาภและความร่ำรวย บางครั้งก็ทรงอาวุธบ้าง เช่น “จักร” อันบ่งความหมายถึงพระวิษณุเทพนั่นเอง
ส่วนพาหนะขององค์พระแม่ลักษมี คือ “ช้าง” เพราะคนอินเดียถือว่า ช้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งบุญญาธิการ พลังอำนาจ และความมั่งคั่ง ดังกำเนิดพระลักษมีที่มีช้างโปรยน้ำถวาย
กำเนิด “พระแม่ลักษมี” จุดเริ่มต้นหญิงสู่ขอชาย
อย่างไรก็ตามด้วยความที่พระแม่งามเลิศกว่าเทวนารีใด ทำให้มีเทพเจ้าและอสูรมากมายที่หมายปอง จนองค์พระพรหมต้องเสด็จมารับและให้นางเลือกคู่ ครองเอง จนพระนางเลือกพระวิษณุเป็นเทพสวามี ตรงนี้เองเป็นที่มาของพิธีวิวาห์แบบหนึ่งที่หญิงต้องไปสู่ขอผู้ชายจากผู้ใหญ่ฝ่ายชาย หรือเป็นผู้เลือกฝ่ายชายเป็นสามีเองที่เรียกกันว่า “สยุมพร”
อย่างไรก็ตามประเพณีนอกจากจะพบในอินเดียแล้ว ยังคงพบในบางจังหวัดของประเทศไทย อย่างจังหวัดแพร่แถบอำเภอสอง ก็ยังมีประเพณีทำนองนี้ให้พบเห็นอยู่
“พระแม่โพสพ” ตามความเชื่อของไทย
ที่จริงแล้วมีความเชื่อหนึ่งของไทยที่มีความเกี่ยวพันกับ "พระแม่ลักษมี" อยู่ด้วย โดยสันนิษฐานว่าปางหนึ่งของพระแม่ลักษมี ชื่อว่า “พระธัญญลักษมี” คือ "พระแม่โพสพ" ที่คนไทยให้ความเคารพนับถือกันนั่นเอง
ตามตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งเกิดทุกขภัยแห้งแล้งกันดารขึ้นในโลก เวลานั้นแสงอาทิตย์ร้อนแรงจนผู้คนออกจากบ้านไม่ได้ เมื่อถึงยามค่ำคืนบรรดาเกษตรกรจึงพากันบูชา “พระวิษณุ” แต่เวลานั้นพระวิษณุบรรทมหลับอยู่ ไม่ได้ยินเสียงวิงวอนของผู้คนในโลก
“พระแม่ลักษมี” ทรงได้ยิน เนื่องจากไม่กล้าปลุกบรรทม จึงแบ่งภาคมาเป็น “พระธัญญลักษมี” หรือ “พระแม่โพสพ” ตามความเชื่อของไทยนั่นเอง เพื่อช่วยเหลือมนุษย์โลก โดยทรงนำมหาสังข์ใส้น้ำมาโปรยปรายเป็นฝน และเนรมิตข้าวในนาให้เจริญงอกงาม
การบูชาพระแม่โพสพที่เราเคยได้เรียนได้อ่านกันมาก็คือการบูชาพระแม่ลักษมีในปางนี้
สำหรับใครที่สนใจบูชาพระแม่โพสพ เราได้รวบรวมคำกล่าวมาให้ดังนี้
โอม โพสะวะโภชะนัง อุตตะมะ ลาภัง มัยหัง สัพพะสิทธิ หิตัง โหตุ
บทสวดบูชาพระแม่ลักษมี
สำหรับบทสวดบูชาของพระแม่ลักษมี มีคำกล่าวดังต่อไปนี้
- เริ่มต้นด้วยการตั้งนะโม 3 จบ
- จากนั้นสวดถึงพระพิฆเนศ คือ “โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา” 3 จบ
- ต่อมาให้กล่าวบทสวดถึงพระแม่ลักษมี ดังนี้
โอม ชยะ ศรี ลักษมี มาตา (3 จบ)
โอม ศรี ลักษะมิไย นะมะห์ (3 จบ)
โอม มหาลักษะ มิไย นะโม นะมะห์
โอม วิษณุ ปรียาไย นะโม นะมะห์
โอม ธะนะ ประทาไย นะโม นะมะห์
โอม วิศวา จะนันไย นะโม นะมะห์
ยา เทวี สะระวะ ภูเตชุลักษมี รูเปนะ สัม สะถิตานะมัส ตัสไย
นะมัส ตัสไย นะมัส ตัสไย นะโม นะมะห์
- หรือ สามารถสวดคาถาบูชาพระแม่ลักษมี แบบย่อ (ทางพราหมณ์)
โอม ศรี มหาลักษมี เจ นะมะหะ
รวมสถานที่ไหว้พระแม่ลักษมี
ใครที่อยากไปไหว้พระแม่ลักษมี สามารถเดินทางไปยังเทวสถานดังต่อไปนี้
- เกษร พลาซา แยกราชประสงค์ ชั้น 4 กรุงเทพมหานคร
- ศาลพระแม่ลักษมีมหาเทวี เซ็นทรัลลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
- วัดแขกสีลม กรุงเทพมหานคร
- โบสถ์เทพมณเฑียร ย่านเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร
- วัดวิษณุ ยานนาวา กรุงเทพมหานคร
- วัดไผ่เงินโชตนาราม กรุงเทพมหานคร
- ล้านนาเทวาลัย จังหวัดเชียงใหม่
ขอบคุณข้อมูลจาก : สยามคเณศ
ขอบคุณภาพจาก : Freepik
ไกด์ไทยในเกาหลี เผย ปัจจัย ตม.เกาหลีแบนคนไทย
ย้อนพฤติกรรม 2 สส.พรรคก้าวไกล คุกคามทางเพศเหยื่อสาว!
พยากรณ์อากาศล่วงหน้า ฤดูหนาวเลื่อนไปก่อน! อากาศเย็นลงยังไม่ถึงกับหนาว