"พิธีจองเปรียง" คืออะไร เปิดประวัติต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พาไปทำความรู้จักฉากหนึ่งในละครพรหมลิขิต “พระราชพิธีจองเปรียง” ต้นแบบประเพณีลอยกระทง

ลอยกระทง 2566 วันไหน มีตำนานประวัติความเป็นมาอย่างไร?

“งานลอยกระทง 2566” รวมพิกัดเที่ยวทั่วไทย ลอยเคราะห์ลอยโศกรับปีใหม่

“ดิวาลี 2566” ตรงกับวันไหน เปิดประวัติเทศกาลแห่งแสงสว่าง-บูชาพระแม่ลักษมี

ใกล้วันลอยกระทงเข้ามาแล้ว ซึ่งในปีนี้จะตรงกับวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ละครเรื่องพรหมลิขิตเองไม่น้อยหน้าดำเนินเรื่องมาจนถึง “พ่อริด” (โป๊ป - ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ) และ “พุดตาน” (เบลล่า - ราณี แคมเปน) ควงคู่กันแต่งชุดสวยหล่อไปร่วม “พิธีจองเปรียง” ชวนแฟนละครเฉลิมฉลองและรู้จักต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทงของไทยไปพร้อมกัน

“พิธีจองเปรียง” คืออะไร 

ประเพณีลอยกระทง เกิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี มีประวัติ ว่า “ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” หรือ “นางนพมาศ” เป็นผู้คิดประดิษฐ์ กระทงเป็น "รูปดอกบัว" หรือ “ดอกกมุท” ถวายพระร่วงเจ้าในวันเพ็ญเดือน 12 เพื่อลอยลงน้ำ ซึ่งเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก จึงทรงรับสั่งว่าทุก ๆ ปีให้มีประเพณีดังนี้ขึ้น และโปรดให้เรียกประเพณีนี้ว่า “พระราชพิธีจองเปรียง” หรือ “ลอยกระทงพระประทีป” แต่ถ้าเป็นพิธีของชาวบ้านทั่ว ๆ ไปก็จะพากันเรียกว่า “ลอยกระทง”

แม้ไม่มีที่มาของประเพณีลอยกระทงอย่างแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่ามาจากอินเดีย เพราะพระราชพิธีจองเปรียงในอดีตจะทำโดยการชักโคมซึ่งเป็นการปฏิบัติเพื่อบูชาพระเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม ซึ่งได้ต้นแบบมาจาก “ดิวาลี” (Diwali) บูชาไฟของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูจากอินเดีย ต่อมาได้ถือคติตามพระพุทธศาสนา จึงมีการยกโคมเพื่อสักการะบูชาแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ที่มาของ “กระทงรูปดอกบัว”

อย่างไรก็ตามเมื่อ “นางนพมาศ” ได้ประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัว และพระร่วงได้ดำรัสให้แต่นี้สืบไปทุกวันเพ็ญเดือน 12 ต้องมีการทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการะบูชาพระพุทธบาท ณ นัมมทานที จึงทำให้  โคมลอยรูปดอกบัวจึงปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเรียกว่า “พระราชพิธีจองเปรียง” หรือ “ลอยกระทงพระประทีป” นั่นเอง

ส่วนที่ประเพณีลอยกระทงมีทั้งโคมลอยลอยบนฟ้า และกระทงลอยในน้ำนั้น มีกฎมณเฑียรบาล สมัยอยุธยาตอนต้น อธิบายให้เห็นวว่า “พระราชพิธีจองเปรียง” มี 2 กิจกรรมในคราวเดียวกัน ได้แก่ จองเปรียงลดชุด ซึ่งทำบนบก (ลอยบนบก) และ  ลอยโคมลงน้ำ หรือ ลอยโคมทำลงน้ำ (ลงน้ำ)

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศิลปวัฒนธรรม และ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ