ด้วยความปรารถนาดีจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้คลอดประกาศกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 16/2537 กำหนดให้ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หากผู้ได้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถือว่าหนักนะครับ! และกฏเมายึดรถของ คสช. จะมีความคืบหน้าอย่างไรเราก็คงต้องตามกันต่อนะครับ
แต่ถ้าหากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ เราจะดื่มอย่างไรไม่ให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และรอดหรือไม่รอดจากการโดนจับ มาดูพร้อมๆกันครับ!
จากผลวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ศึกษาระดับแอลกอฮอล์ในเลือดภายหลังจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ระบุว่า
1. ภายหลังดื่ม เบียร์ (8 ดีกรี) 1 กระป๋อง (330 มิลลิลิตร) จะมีระดับแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมเปอเซ็นต์ รอด!
2. ภายหลังดื่ม เบียร์ (8 ดีกรี) 2 ขวด (1,260 มิลลิลิตร) ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น ไม่รอด!
3. ภายหลังดื่ม เบียร์ (8 ดีกรี) 1 ขวด หรือ 2 กระป๋อง (630 มิลลิลิตร) ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะอยู่ในช่วงระหว่าง 45-60 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น โดยประมาณ แต่ทั้งนี้การจะเกินหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ดื่มเป็นสำคัญ
หากผู้ดื่มน้ำหนักอยู่ที่ 60-69 กิโลกรัม ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะอยู่ที่ 50 มิลลิกรัมเปอเซ็นต์ รอด!
หากผู้ดื่มน้ำหนัก “น้อย” กว่า 60-69 กิโลกรัม ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะสูงกว่าที่กำหนด ไม่รอด!
4. เครื่องดื่มประเภท วิสกี้ (35 และ 43 ดีกรี) จะวัดจากรูปร่างของผู้ดื่มเป็นสำคัญ “วิสกี้ 1 ฝา เท่ากับ 10 มิลลิกรัม”
หากผู้ดื่มเพศชายมีส่วนสูง 170 ซม. น้ำหนักมากกว่า 58 กก. สามารถดื่มได้ 100 และ 80 มิลลิลิตร ตามลำดับดีกรี รอด!
หากผู้ดื่มเพศหญิง สูง 158 ซม. น้ำหนัก 45-55 กก. ดื่มวิสกี้ได้ในปริมาณ 40 และ 60 มิลลิลิตร ตามลำดับ รอด!
5. เครื่องดื่มประเภทไวน์ (10-12 ดีกรี) จะวัดจากรูปร่างของผู้ดื่มเป็นสำคัญ
หากผู้ดื่มเพศชาย สูง 170 ซม. น้ำหนักมากกว่า 61 กก. สามารถดื่มได้ 300 มิลลิลิตร รอด!
หากผู้ดื่มเพศหญิง สูง 157 ซม. น้ำหนักอยู่ที่ 45-55 กก. สามารถดื่มได้ 170 มิลลิลิตร รอด!
ผลวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ยังระบุข้อมูลเพิ่มเติมว่า หากตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจ ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าเพื่อกำจัดแอลกอฮอล์ที่ค้างอยู่ในปาก เนื่องจากหลังการดื่มจะมีแอลกอฮอล์ค้างอยู่ในปากประมาณ 15-20 นาที และจะส่งผลให้ระดับแอลกอฮอล์สูงกว่าความเป็นจริง และร่างกายจะทำลายระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้ 15 มิลลิกรัมเปอเซ็นต์ต่อ 1 ชั่วโมง
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและเพื่อนร่วมทาง “อย่าดื่มอย่างลืมตัว เคารพกฏ เคารพเพื่อนร่วมทาง”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล / www.si.mahidol.ac.th