“ภาวะพังผืดของตับ” เช็กสุขภาพตับก่อนลุกลามเป็นตับแข็ง-มะเร็งตับ
อย่ามองข้ามเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะอวัยวะภายใน อย่าง “ตับ” ที่เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดในช่องท้อง เพราะหากมีพฤติกรรมการกินการใช้ชีวิตที่ผิดอาจเสี่ยงเป็นพังผืดและลุกลามเป็นตับแข็งและมะเร็งได้
ภาวะพังผืดของตับ (Liver Fibrosis) เกิดจากการที่ตับได้รับอันตรายจากภาวะต่างๆ เป็นระยะเวลานาน จนทำให้เกิดการอักเสบ เรื้อรัง ทำให้เกิดการสร้างพังผืดตามมา หากปล่อยทิ้งไว้จะนำไปสู่ภาวะตับแข็งและมะเร็งตับในที่สุด ทั้งนี้ตับที่มีการอักสบมากและป็นการอักเสบเรื้อรัง คือ มีการตรวจซ้ำแล้วค่าการทำงานของตับสูงผิดปกติ เป็นระยะเวลานานเกิน 6 เดือน และโดยการทำงานของตับ SGOT SGPT ค่าปกติส่วนใหญ่มักจะไม่กิน 40 หน่วย ถ้าได้ค่าสูงกว่านี้ ถือว่ามีภาวะตับอักเสบ
เช็กสัญญาณ“ไขมันพอกตับ”จุดเริ่มต้น ตับแข็ง – มะเร็งตับ คนผอมก็เสี่ยงได้!
"ไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง" ไม่ใช่เรื่องเล็ก อาจก่อโรคร้ายในอนาคตได้
ระดับความรุนแรงของภาวะพังผืดในตับ แบ่งออกเป็น 5 ระดับตามเกณฑ์ METAVIR ได้แก่
- ไม่มีพังผืด
- พังผืดเล็กน้อย
- พังผืดระดับกลางและมีนัยสำคัญ
- พังผืดระดับรุนแรง
- ตับแข็ง
โดยผู้ป่วยกลุ่มมีลักษณะอาการหลากหลายขึ้นกับระยะและความรุนแรงของโรค อาทิ
- เบื่ออาหาร
- ดีซ่าน
- น้ำหนักลด
- อ่อนเพลีย
- ปวดท้อง
- ท้องมาน
- ตัวบวม
- ระบบประสาทผิดปกติ
- การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะนี้ คือ
- ไวรัสตับอักเสบเรื้อรังชนิด B และ C
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ภาวะไขมันพอกตับ ที่เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ผิด หวาน มัน เค็ม และไขมันเยอะจนไปเกาะที่ตับ
จุกเสียดท้อง-น้ำหนักลด อาการบอกโรค “มะเร็งตับ” เจอเร็วรอดมากกว่า
กระบวนการวินิจฉัยแพทย์จะทำการซักประวัติสุขภาพ ตรวจร่างกายร่วมกับตรวจเลือดเพื่อดูระดับไขมันในเลือด และการทำงานของตับ และเพื่อความละเอียดในการวินิจฉัยมากที่สุดนั้น สามารถตรวจประเมินภาวะไขมันพอกตับซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะพังผืดของตับตามมา โดยการอัลตร้าซาวด์ช่องท้องด้วยคลื่นเสียงความถี่ชนิดพิเศษ (Ultrasound Elastography) ซึ่งมีความปลอดภัย ไร้รังสีอันตราย และใช้ระยะเวลาไม่นาน
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
“อ้วนลงพุง” พฤติกรรมก่อโรคเรื้อรัง มะเร็ง- เบาหวาน - ไขมันพอกตับ
‘ยาแก้ปวด’ กินเกินขนาด ไม่หายปวดหัวแถมตับพัง แนะปริมาณยาที่เหมาะสม