“ภูมิแพ้อากาศ”หรือ“โควิด19”อาการคล้ายกันแยกให้ออกก่อนปอดอักเสบ!
ช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ปลายฝนต้นหนาว เดือนพฤศจิกายน ถึงแม้อากาศจะไม่หนาวแต่มลภาวะต่างๆ เดี๋ยวแดดร้อน เดี๋ยวอากาศเย็น บางคนเดินเข้าเดินออกออฟฟิศ อาจทำให้เกิดอาการฟืดฟัด จามน้ำมูกไหล ได้ ซึ่งบางรายอาจกังวลว่านี้คืออาการของโรคภูมิแพ้อากาศหรือโควิด19 เช็กข้อแตกต่างได้ที่นี้!
โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับอวัยวะที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันและความรุนแรงไม่เท่ากัน เพราะชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคลต่างกัน อาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะเกิดตามอวัยวะที่มีการอักเสบจากการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้ ไม่ได้มีความเสี่ยงในการติดโควิด-19 มากกว่า ปกติหากดูแลป้องกันตัวเองไม่ดีพอก็มีโอกาสติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้
“ภูมิแพ้” ทำไมรุนแรงมากขึ้นช่วงหน้าหนาว? เสี่ยงโรคหอบหืด-ไซนัสอักเสบ
ประเภทสารก่อภูมิแพ้ เผย 4 โรคคนไทยแพ้มากที่สุดที่ไม่ควรมองข้าม
อาการของโรคภูมิแพ้ ประกอบด้วย
- จาม อาจมีน้ำมูกไหล
- น้ำตาไหล คันตา
- คัน/คัดจมูก
- เกิดผื่นแพ้ต่าง ๆ ได้
จะเห็นได้ว่าภูมิแพ้ส่วนมากจะไม่มีอาการของไข้ขึ้นมาเกี่ยวข้องซึ่งการรักษาควรดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ใช้ยาตามแพทย์สั่ง อาจล้างจมูก พ่นยาจมูก เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบได้ แต่หากเป็นภูมิแพ้และสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อปรึกษาความเสี่ยง
วิธีสังเกตว่าภูมิแพ้หรือโควิดกันแน่!
การติดเชื้อโควิด-19 บางคนอาจมีอาการรุนแรงไม่มาก มีลักษณะเหมือนไข้หวัดทั่วไป ขณะที่บางคนมีอาการรุนแรงมาก ทำให้เกิดปอดอักเสบได้
อาการของผู้ป่วยโรคโควิด-19
- ไข้
- รู้สึกเมื่อยล้า
- ไอแห้ง ๆ
- หายใจได้ลำบาก
- บางครั้งอาจมีอาการเจ็บคอ
สาเหตุ-สารก่อโรคภูมิแพ้ กระทบ 4 ระบบร่างกายที่ต้องรีบรักษาก่อนรุนแรง
ทั้งนี้โรคนี้สามารถหายได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรงและไม่มีโรคแทรกซ้อนเช่นเดียวกับไข้หวัดต่างๆ แต่ในกลุ่ม ผู้สูงอายุ สุขภาพไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว ต้องหมั่นตรวจเช็กร่างกายและยังคงต้องเน้นย้ำการฉีดวัคซีนตามวงรอบเนื่องจากโควิด-19 มีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เพราะหากร่างกายอ่อนแอเชื้อโรคจะลามเข้าไปสู่ปอด ส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม ปอดอักเสบ ได้มากกว่าไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคภูมิแพ้
การป้องกันโรคที่ดีที่สุดของทั้งภูมิแพ้ โควิด-19
- ล้างมือบ่อย ๆ ไม่เอามือไปสัมผัสหน้าตา
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด
- ใส่กากอนามัยในพื้นที่แออัด
- ในผู้สูงอายุละเด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ห่างไกลโรค
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
ภาพจาก : Freepik
“ภูมิแพ้ผิวหนัง” ทำไมมักคันผิวตอนกลางคืน วิธีดูแลก่อนเรื้อรัง
“ภูมิแพ้” ปล่อยไว้นานอาจเรื้อรัง หายได้ด้วยการทดสอบ skin prick test