ผู้ป่วยมะเร็งผมร่วงหลังรับเคมีบำบัด (คีโม) ผลข้างเคียงและหายได้
เรามักคุ้นเคยกับผู้ป่วยมะเร็งต้องมีผมร่วงจนต้องโกนผมแต่คนที่ไม่รู้มักไม่เข้าใจว่านั้นคือหนึ่งในผลข้างเคียงจากการให้ยาเคมีบำบัด แนะวิธีรับมือเพื่อให้กระทบต่อชีวิตประจำวันน้อยที่สุด
ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาผ่านเคมีบำบัด หรือ คีโมเทอราปี เป็นการใช้ตัวยาเคมีบำบัดในการหยุดการเติบโตและการเพิ่มจํานวนของเซลล์มะเร็ง โดยยาจะเข้าถึงเซลล์มะเร็งผ่านทางกระแสเลือด ทำให้เซลล์ปกติที่มีการเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็ว เช่น เซลล์รากผม เยื่อบุในช่องปาก หรือเม็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยได้รับกระทบทําให้มีโอกาสที่อาจเกิดความเสียหายต่อเซลล์ปกติเหล่านี้ได้ เช่น เกิดแผลในช่อง ผมร่วง หรือเบื่ออาหาร
มะเร็ง 5 ชนิดที่คนไทยเป็นเยอะ ทั้งหญิงและชายความเสี่ยงเท่ากัน
อัตราการรอดชีวิตจาก “มะเร็ง”แต่ละระยะ ยิ่งเจอเร็วโอกาสหายยิ่งสูง

ยาเคมีบำบัดไม่ได้ผมร่วงทุกคน?
เมื่อคนไข้รู้ว่าต้องเข้ารับยาเคมีบำบัดก็มักวิตกกังวลว่าผมจะร่วงเหมือนกับคนไข้รายอื่นๆ แต่ในปัจจุบัน มียาเคมีบำบัดบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดผมร่วงเพียงเล็กน้อย หรือยาเคมีบำบัดบางชนิดก็สามารถพุ่งเป้าเจาะจงไปยังเซลล์มะเร็ง ทำให้คนไข้บางรายไม่มีภาวะผมร่วงเลย
รักษามะเร็งด้วยการฉายแสง ทำให้ผมร่วงด้วยหรือไม่?
การฉายแสง หรือ การใช้รังสีรักษา ผู้ป่วยจะเกิดภาวะผมร่วงได้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการฉายแสงบริเวณศีรษะ แต่ภาวะผมร่วงจากการฉายแสงนั้น ในบางกรณีเส้นผมก็อาจไม่กลับมางอกได้เหมือนเดิม
ฉะนั้นขอผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะผลร่วงเกิดขึ้นได้ก็หายได้หลังการรักษา ซึ่งเส้นผมก็จะค่อยๆ กลับมาอีกครั้งภายใน 2-3 เดือน หรือจะเรียกได้ว่าภาวะผมร่วงที่เกิดจากการทำคีโมเป็นเพียงผลข้างเคียงชั่วคราวเท่านั้น!
Superfood ต้านมะเร็ง ป้องกันอนุมูลอิสระกินได้ทุกวัน
รับมือภาวะผมร่วงจากการรับคีโม
- เลือกใช้แชมพูอ่อนๆ เช่น แชมพูสำหรับเด็ก ในการรักษาความสะอาดของผมและหนังศีรษะ
- หวีหรือแปรงผมเบาๆ โดยใช้หวีขนาดใหญ่หรือแปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม
- ใช้ผ้าโพกหัวหรือผ้าคลุมศีรษะที่เป็นผ้าฝ้ายบางๆ หรือสวมหมวก หรือวิก ที่ช่วยให้รู้สึกสบายและมั่นใจ
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศร้อนจัดหรือหนาวจัด
- ทาครีมกันแดดที่หนังศีรษะเพื่อป้องกันการระคายเคืองจากแสงแดด
- เลือกใช้หมอนหนุนรองศีรษะ รวมไปถึงปลอกหมอนที่ไม่ระคายเคืองต่อหนังศีรษะ
แม้“ผมร่วง” จะเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อคนไข้ที่เข้ารับยาเคมีบำบัดได้ เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูกหรือท้องเสีย หรือปัญหาผิวหนัง ดังนั้น หากกังวลเกี่ยวกับอาการข้างเคียงผิดปกติที่เกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
“สารเม็ดสีในพืช”อาหารต้านมะเร็ง-เทคนิคกินปลอดภัยลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง
เช็กอาการปวดท้องแบบไหน? เสี่ยงโรคร้ายแรงระบบทางเดินอาหาร