ป้องกันการลุกลามของ “กระดูกพรุน” ด้วยยาและปรับพฤติกรรม
ผู้สูงอายุหลายบ้านเริ่มมีอาหารปวดหลัง หลังค่อม เดินลำบาก นั้นคือสัญญาณของโรคกระดูกพรุนที่สามารถชะลอได้ด้วยการใช้ยาตามแพทย์สั่งและการปรับพฤติกรรม!
ในวัยเด็กถึงอายุ 30 ปี กระดูกจะมีความหนาแน่นสูงขึ้นเนื่องจากอัตราการสร้างกระดูกเร็วกว่าอัตราการสลายกระดูกหลังอายุ 30 ปี ความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงเนื่องจากอัตราการสลายกระดูกเร็วกว่าอัตราการสร้าง ทำให้กระดูกบางและอ่อนแอจนเกิดภาวะกระดูกพรุน อาการที่แสดงออกชัดคือ ปวดหลัง หลังค่อมและตัวเตี้ยลง อาจเกิดจากกระดูกสันหลังยุบตัว(หัก)
การป้องกันการเกิดกระดูกพรุน
- กินอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี ช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูก
กลุ่มเสี่ยงกระดูกพรุน ไม่ใช่แค่สูงอายุ เผยสัญญาณที่ควรรีบพบแพทย์
แพทย์เผย 40% ของโรคกระดูกพรุนเกิดจากกรรมพันธุ์ ลดความเสี่ยงป้องกันได้!

- การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและปรับปรุงการทรงตัว
- การปรับปรุงบ้านให้ปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงในการหกล้ม
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
การรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยการใช้ยา
การใช้ยา มียาหลายกลุ่ม เช่น ยาต้านการสลายกระดูก การรับฮอร์โมน และการให้แร่ธาตุเสริม การใช้ยาในการรักษาต้องพิจารณาร่วมกับลักษณะของคนไข้
- ยาต้านการสลายกระดูกชนิดรับประทาน ควรทานตอนท้องว่างและนั่งตัวตรงเป็นเวลา 45 นาที
- ยาต้านการสลายกระดูกชนิดฉีดแบบทุกๆ 3 เดือน ช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้ดีกว่าและลดผลข้างเคียงจากการรับประทานยา
- ยาต้านการสลายกระดูกชนิดฉีดทุก 6 เดือน ไม่รบกวนการทำงานของไต อาการข้างเคียงน้อยลงและไม่ต้องมาโรงพยาบาลบ่อย ๆ
5 เคล็ดลับง่าย ๆ เสริมความแข็งแรงของกระดูก ชะลอกระดูกพรุนได้!
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน
- การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยเพิ่มมวลกระดูก แบบลงน้ำหนัก (weight-bearing exercise) เช่น จ็อกกิ้ง , วิ่ง
- การบริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนบน นอนราบหมอนหนุนบริเวณเอว วางมือไว้ข้างลำตัว บริหารโดยยกศีรษะและหน้าอกขึ้น พร้อมดึงสะบักเข้าหากัน
- การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง นอนราบ ตั้งเข่าขึ้น วางมือไว้ข้างลำตัว ยกศีรษะพร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง
- การบริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งให้เข่างอ ยกให้ต้นขาอยู่ในระนาบเดียวกับลำตัว
- การบริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ดึงแขนทั้งสองข้างมาทางด้านหลัง
- การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง นอนราบตั้งเข่าขึ้น เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กดหลังแนบกับพื้น และยกสะโพกขึ้น
การดูแลและป้องกันการลุกลามของโรคกระดูกพรุนควรทำอย่างต่อเนื่องและมีวินัยในการดูแลสุขภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในระยะยาว ทั้งนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
วิธีออกกำลังกายเพิ่มมวลกระดูก ลดภาวะกระดูกพรุนเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจ
10 อาหารเพิ่มแคลเซียมชะลอกระดูกพรุน ดูแลตัวเองไม่ต้องรอให้สูงอายุก่อน!