เทคนิคลดเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพิ่มกากใยลดไขมันอาหารปิ้งย่าง เลี่ยงโรคร้ายได้!
มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีแนวโน้มพบมากในไทยอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการกินอย่างเลี่ยงไม่ได้ แพทย์แนะปรับการกินเน้นกากใย ลดอาหารมัน ปิ้งย่าง แปรรูป ควบคุมน้ำหนักช่วยได้
มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งชนิดที่พบมากในไทย มีปัจจัยหลักมาจากการกินและการใช้ชีวิตแบบผิดๆ และสามารถส่งต่อพันธุกรรมได้ นั้นหมายความว่า หากคนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลูกหลานของคุณก็จะเสี่ยงเป็นไปด้วย อีกทั้งยังไม่มีสัญญาณเตือนในระยะแรกๆ กว่าจะรู้ตัวก็อาจลุกลามรุนแรงไปอวัยวะอื่นๆ คนควบคุมได้ยาก และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ หากคุณไม่อยากตกเป็นหนึ่งในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ควรรีบปรับพฤติกรรมก่อนสาย
“มะเร็งลำไส้ใหญ่” สัญญาณคล้ายโรคทั่วไป แต่ห้ามละเลยเสี่ยงลุกลามรุนแรง
พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ทำไมคนยุคใหม่ถึงเสี่ยงมากกว่า?
เทคนิคช่วยลดความเสี่ยง
- เน้นอาหารไฟเบอร์สูง
เพราะไฟเบอร์หรือใยอาหารมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย ลดการเพิ่มน้ำหนักอุจจาระ ซึ่งมีการศึกษาพบว่า..การทานใยอาหารเพิ่มขึ้น 10 กรัมต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยอาหารไฟเบอร์สูงที่ควรทาน ได้แก่ ธัญพืช ผักตระกูลกะหล่ำ หรือผักโขม เป็นต้น
- เพิ่มแคลเซียมในแต่ละวัน
มีการศึกษาเปรียบเทียบการทานแคลเซียมจากนมในแต่ละวัน โดยพบว่ากลุ่มที่ทานแคลเซียมจากนมสูงที่สุด สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึงร้อยละ 20 เลยทีเดียว
- เลือกทานปลาแทนเนื้อแดง
แม้ว่าไขมันสูงจากเนื้อแดงจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่สำหรับมะเร็งลำไส้ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจน อาจเกิดจากปัจจัยอื่นร่วม เช่น วิธีการปรุงที่มักใช้อุณหภูมิสูง แต่เพื่อลดความเสี่ยงควรหันมาทานไขมัน omega-3 จากเนื้อปลาแทนจะดีกว่า
- ทานอาหารอุดมด้วยแมกนีเซียม
มีการศึกษาหลายชิ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแมกนีเซียมกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมีรายงานชิ้นหนึ่งกล่าวว่า การทานแมกนีเซียมเพิ่มขึ้น 100 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ถึงร้อยละ 12 ซึ่งเท่ากับการทานปลา 4 ออนซ์ ถั่วลิสง 2 ออนซ์ หรือผักโขมปรุงสุกประมาณ 1/2 ถ้วย
- ควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์
จากการวิจัยชี้ชัดได้ว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยผู้ชายควรดื่มไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน และผู้หญิงไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้
- งดสูบบุหรี่
แน่นอนอยู่แล้วว่าสารก่อมะเร็งในบุหรี่จะเร่งให้เกิดเซลล์มะเร็งได้ทุกชนิด ดังนั้นหากมีพฤติกรรมเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ และยังสูบบุหรี่เป็นประจำ ยิ่งทำให้เกิดเซลล์มะเร็งเร็วขึ้นไปอีก
- หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด
โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดมัน ปิ้งย่าง ไม่ควรกินบ่อย ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากมีสารก่อมะเร็งกลุ่มไนโตรซามีน เลี่ยงอาหารประเภทหมักดอง โดยเฉพาะอาหารแปรรูปอย่างกุนเชียง ไส้กรอก แฮม หรือไข่เยี่ยวม้า แหนม อาหารที่มีดินประสิวเป็นส่วนประกอบ เพราะเสี่ยงต่อสารปนเปื้อนสารก่อมะเร็งที่มีอยู่ในกระบวนการแปรรูป อย่างสารตะกั่ว เป็นต้น
“ท้องเสีย” ระดับที่ต้องระวังอาจเป็นสัญญาณบอกโรคบางอย่างได้!
นอกจากการเลือกกินอาหารให้มากขึ้นแล้ว ควรหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักตัว เพราะนอกจากการมีน้ำหนักเกินจะเชื่อมโยงกับพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เสี่ยงต่อโรคทางเดินอาหารและลำไส้ที่อาจเกิดเป็นมะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้ในอนาคต ยังมีผลการวิจัยว่า การมีดัชนีมวลกาย หรือ BMI ที่เพิ่มสูงขึ้นทุก 5 kg/m2 จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ 25%
อีกทั้ง หมั่นสังเกตตัวเองและตรวจคัดกรองเป็นประจำ เพราะมะเร็งลำไส้เป็นหนึ่งในโรคที่กว่าจะแสดงอาการหรือตรวจพบก็เกิดขึ้นในระยะรุนแรงแล้ว ดังนั้นหากหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายเบื้องต้น เช่น อาการท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายมีเลือดปน ท้องอืด แน่นท้องผิดปกติ อุจจาระเป็นลำลีบเล็ก และเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี อาจจะพบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น หรือพบติ่งเนื้อที่ยังไม่พัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง จะรักษาได้ง่าย มีโอกาสหายสูงกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาพญาไท 2 และ โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
“ติ่งเนื้อ” พัฒนามะเร็งลำไส้ได้ เผยระยะมะเร็งอาจเสียชีวิตได้ใน 1-2 ปี
“มะเร็งลำไส้”จากกรรมพันธุ์ ควรระวังมากแค่ไหน ? ยีนมะเร็งคืออะไร?