ผัก-ผลไม้อบกรอบ มีประโยชน์หรือไม่? กินแบบไหนไม่ให้อ้วน?
เชื่อว่าหลายคนชื่นชอบของว่างแบบกรุบกรอบและผัก-ผลไม้อบกรอบก็เป็นหนึ่งในทางเลือก รู้หรือไม่ ? หากเลือกซื้อเลือกกินผิดอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
กระแสผักและผลไม้อบกรอบ ยังคงแรงต่อเนื่องเพราะเป็นของกินเล่นที่อร่อยติดปาก สัมผัสกรุบกรอบ คนไม่ชอบกินผักยังหันมากินได้ ซึ่งมักเป็นข้อถกเถียงว่ามีประโยชน์เทียบเท่ากับผักผลไม้สดหรือไม่? แน่นอนว่าไม่เท่าอยู่แล้ว แต่จะกินอย่างไรให้ได้เส้นใย วิตามินที่มากกว่า ก็สามารถทำได้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ผักผลไม้อบกรอบ นับเป็นวิธีการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง เพราะผ่านกรรมวิธีการผลิตโดยการนำผักผลไม้ไปผ่านกระบวนการแปรรูปให้แห้งด้วยการแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) หรือทอดแบบสูญญากาศ
15 มิถุนายน “วันลูกพรุน” ราชาไฟเบอร์แก้ท้องผูก-ลดเสี่ยงมะเร็ง
"มังคุด" ราชินีผลไม้ ผลหวานกรอบวิตามินสูง เปลือกต่อยอดเป็นยาได้
เพื่อรีดน้ำออกจึงได้ผักและผลไม้สดที่แห้ง กรอบ และเก็บรักษาได้นานขึ้น
อีกทั้งผักและผลไม้สดมีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล และวิตามินแร่ธาตุต่างๆ เป็นส่วนประกอบ การทำผักอบกรอบก็ไม่ได้ทำให้สิ่งเหล่านี้หายไป แต่สิ่งที่หายไปคือน้ำและความชื้น ซึ่งทำให้ผักอบกรอบมีน้ำหนักเบานั้นเท่ากับว่า การกินผักอบกรอบได้ครั้งละมากกว่าผักสดเป็นไหน ๆ และร่างกายก็จะได้ทั้งคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลในปริมาณมากตามไปด้วย
มีงานวิจัย ระบุว่า กระบวนการฟรีซดรายกับคุณประโยชน์ของอาหารที่นำมาทำไว้ว่า กระบวนการถนอมอาหารด้วยวิธีการนี้เป็นการรักษารสชาติ กลิ่นและคุณค่าสารอาหารไว้อย่างดี เนื่องจากไม่ผ่านกระบวนการที่อุณหภูมิสูงเกินไป
ประโยชน์ของผักและผลไม้ฟรีซดราย
- มีเส้นใยอาหารมาก
- เป็นการแปรรูปที่ทำให้ผักและผลไม้ยังมีวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดคงเหลืออยู่
- เป็นตัวเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้สดสามารถรับประทานได้ง่าย
6 เครื่องดื่มสมุนไพร "แก้ร้อนใน" ฤทธิ์เย็นอุดมประโยชน์ปรับสมดุลร่างกาย
กินผักและผลไม้อบกรอบให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ
- ควรเลือกซื้อผักและผลไม้อบกรอบที่แปรรูปด้วยการแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) หรือทอดแบบสูญญากาศ เพื่อหลีกเลี่ยงน้ำมันตกค้างจากการทอด
- หลีกเลี่ยงผักอบกรอบที่ผลิตด้วยการนำไปทอดในน้ำมันแล้วมาอบร้อนไล่น้ำมันทีหลัง
- ควรเลือกซื้อผักและผลไม้อบกรอบที่มีฉลากแสดงคุณค่าทางโภชนาการและผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- เลือกชนิดผักและผลไม้อบกรอบที่ให้พลังงานต่ำและมีเส้นใยอาหารสูง เช่น ผักใบเขียว บรอกโคลีแคร์รอต กระเจี๊ยบ
- เลือกกินหลากหลายชนิด เน้นผักหลากสี เพื่อให้ได้สารอาหารหลากหลายร่วมกับรับประทานอาหารหลักให้เพียงพอ โดยเฉพาะโปรตีน เช่น โยเกิร์ตไขมันต่ำ นมไขมันต่ำ หรือถั่วต่าง ๆ
- ไม่ควรรับประทานผักและผลไม้อบกรอบมากเกินไปในแต่ละวัน จำกัดการกินเพียงวันละ 30 กรัม หรือ 3 ช้อนโต๊ะ
- โดยเฉพาะผักและผลไม้ชนิดที่ให้พลังงานสูง
- ไม่ควรใส่ผงปรุงรสเพิ่มหรือเลือกสูตรที่ผ่านการปรุงแต่เพิ่ม
- ไม่ควรรับประทานผักและผลไม้อบกรอบทดแทนการรับประทานผักและผลไม้สดทั้งหมด
- ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่มีน้ำหนักเกินต้องจำกัดการรับประทาน เพื่อป้องกันร่างกายได้รับน้ำตาลเกินปริมาณที่ควรได้รับ
เอาเป็นว่า ให้มองจุดประสงค์ของมันคือเป็นของขบเคี้ยวมากกว่าที่จะกินจริงจังหวังเอาประโยชน์ หรือวิตามิน แม้จะยังมีประโยชน์อยู่เกือบครบถ้วนก็อย่าละเลยการกินอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้สุขภาพแข็งแรงอยู่กินของอร่อยอีกนานๆนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
“ไข้เลือดออก” ทำไมควรเลี่ยงอาหารสีแดง สีดำหรือสีน้ำตาล แล้วกินอะไรได้?
“เลซิติน” สุดยอดสารบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ช่วยดูดซึมวิตามินได้ดียิ่งขึ้น