อาหารแก้แฮงค์ หลังปาร์ตี้หนัก ลดอาการเมาค้าง ปวดหัว คลื่นไส้ ฟื้นเร็ว!
หลายต่อหลายครั้งที่ต้องแฮงค์จากการดื่มหนักจนลุกไม่ขึ้น นอกจากการพักผ่อนให้เพียงพอแล้วอาหารก็มีส่วนช่วย!
ปีใหม่นี้เชื่อว่าหลายคนมีนัดสังสรรค์แฮงเอาท์กับเพื่อนหลายวงมากจนอาจทำให้ตื่นมามีอาการเมาค้าง หรืออาการแฮงค์ จากการกินแอลกอฮอล์มากเกินไปบางทีลุกไม่ได้ตลอดทั้งวัน ทำให้ทรมานจนคิดว่าจะเลิกดื่มไปตลอดชีวิต(แต่พอหายก็กลับมากินเหมือนเดิม) วันนี้เรามาแนะนำอาหารและวีธีที่พอจะแก้แฮงค์ได้ลดอาการปวดหัวคลื่นไส้ได้
งานวิจัยมากมาย ชี้ชัดว่าไม่มียาลดการเมาใดๆ หรือยาสูตรสำเร็จแก้อาการเมาค้างได้ผล 100% ดีที่สุดคือดื่มแต่น้อย ส่วน
เครื่องดื่มแก้แฮงค์หลังปาร์ตี้หนัก ชดเชยอาการขาดน้ำ หายปวดหัวเร็ว!
เคล็ดลับตื่นมาไม่แฮงค์ แนะสิ่งที่ไม่ควรทำหลังดื่มเยอะปาร์ตี้หนัก
วิธีและเครื่องดื่ม-อาหารช่วยแก้แฮงค์ได้!
- ตื่นมาควรดื่มน้ำเปล่าครั้งละ 1-2 แก้ว บ่อยๆ เพื่อให้ร่างกายปวดปัสสาวะ และน้ำจะพาสารตกค้างจากแอลกอฮอล์ออกมากับปัสสาวะ
- สำหรับผู้ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน การดื่มน้ำขิง ชามินต์ ขณะที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆ
- กาแฟดำสักช็อต ช่วยแก้แฮงค์ให้ดีขึ้นได้มาก คาเฟอีนในกาแฟจะช่วยกระตุ้นคุณให้ฟื้นจากอาการมึนหัว และขับปัสสาวะ แต่ถ้าร่างกายยังพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนน้อย เมื่อหมดฤทธิ์กาแฟ จะทำเพลียหนักมากกว่าเดิมถ้ายังฝืนทำงานต่อ
- ใครไม่ชอบชาหรือกาแฟลองกินนมช็อกโกแลต ช่วยป้องกันอาการเมาค้างได้อย่างดี เช่นกันแถมไม่ทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างแรงเมื่อตื่นขึ้นมาอีกด้วย
- ลองนำใบโหระพา มาขยี้ หรือบด ผสมน้ำร้อน หรือชาร้อนทิ้งไว้ 5 นาที จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาดื่ม ช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้เป็นอย่างดี
- อาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ต้มจืด หรือแกงไทยอย่างแกงส้ม ต้มยำ หรือสุกี้น้ำ ที่ทำให้ร่างกายตื่นตัวอาจพอช่วยลดอาการเมาค้างได้บ้าง
ลิสต์อาหารว่างชาวออฟฟิศ แก้ท้องผูก กินได้ตลอดทั้งวันไม่อ้วน!
- ดื่มน้ำผักและผลไม้ปั่น รสออกเปรี้ยวหวาน อย่างส้ม มะนาว เลม่อน อาจช่วยได้
- กล้วย เพราะมีโพเทสเซียม ที่ช่วยป้องกันการขาดน้ำ และเคลือบกระเพาะไปในตัว ทำให้ร่างกายดูดซึมแอลกอฮอล์ได้น้อย และขับออกมาได้เร็วยิ่งขึ้น
- วิตามินอาหารเสริม ที่อาจช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น วิตามินบีรวม วิตามินซี แมกนีเซียม และกรดอะมิโนแอล-ซีสเทอีน (L-Cysteine)
หากมีอาการปวดหัว ตัวร้อน ร่วมด้วย สามารถทานยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ได้ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟ่น หรือยาตัวอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยา อย่างไรก็ตามควรกินแอลกอฮอล์อย่างพอดีที่สำคัญดื่มไม่ขับนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
เช็ก! อาการปวดหัวอันตราย - วิธีแก้เบื้องต้นด้วยตัวเอง เลี่ยงกินยาพร่ำเพรื่อ
3 ท่ากายบริหารง่ายๆ ไม่เสียเหงื่อแต่ช่วยกระตุ้นสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์