รู้จักภาวะ SAD ซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลก่อนเข้าหน้าหนาว
ฤดูหนาวคือฤดูที่หลายคนเหงา ... แต่ความเหงานั้นอาจเป็นภาวะซึมเศร้า SAD (Seasonal Affective Disorder) ที่มักเกิดในช่วงฤดูกาลใดฤดูหนึ่ง แต่มักเลือกเกิดในฤดูหนาวและจะหายไปหลังจากผ่านพ้นไป แต่นั้นอาจเป็นสาเหตุทำให้เปิดช่องทางของภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้เช่นกัน
รู้หรือไม่ อากาศและฤดูกาล ก็สามารถทำให้คนเหงาได้... ซึ่งภาวะซึมเศร้าดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า ภาวะ Seasonal Affective Disorder หรือ ภาวะ SAD ซึ่งมักเกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศเขตหนาว ซึ่งจะเกิดขึ้นและหายไปในช่วงเวลาเดียวกันของทุกปี ส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการในฤดูหนาวและค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อถึงฤดูร้อน และในปีนี้ที่ได้มีสิทธิที่จะเจอกับอากาศที่เย็นและนานในช่วงสิ้นเดือนนี้ถึงปีหน้า การรับมือในสภาวะดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะผู้ที่มีแนวโน้มและสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้
เกิดได้กับทุกคน! เช็กสัญญาณเตือนเป็น “โรคซึมเศร้า” ไม่รู้ตัว
รู้ทันซึมเศร้า การเปลี่ยนแปลงที่ต้องใช้ “ความเข้าใจ”
ปัจจุบัน ภาวะ SAD ยังไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่คาดว่าช่วงเวลากลางวันหรือระยะเวลาที่มีแสงอาทิตย์ในแต่ละวันอาจส่งผลกระทบต่อนาฬิกาชีวิตซึ่งเป็นวงจรที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างการตื่นนอน การนอนหลับ และการหลั่งฮอร์โมนบางชนิด โดยช่วงเวลากลางวันที่สั้นลงในฤดูหนาวอาจทำให้นาฬิกาชีวิตผิดปกติ เพราะระดับสารเซโรโทนินลดลง เซโรโทนินที่มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอารมณ์ลดลง รวมทั้งระดับเมลาโทนินที่มีหน้าที่ควบคุมการนอนสูงขึ้นอาจส่งผลให้รู้สึกง่วงนอนและเซื่องซึมได้เช่นกัน สภาวะ SAD พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงคือเพศหญิง
- ช่วงอายุ ที่พบ วัยรุ่น-วัยกลางคน
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคไบโพล่าห์และจิตเวชต่างๆ
- พบประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีภาวะ SAD
- อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่าพื้นที่ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
ภาวะ SAD มองเผินๆ อาจเป็นเรื่องปกติที่อากาศหนาวคนมักจะเหงา แต่จริงๆแล้วหากไม่สังเกตตนเองและคนรอบข้างอาจเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนอันตรายได้ เช่น โรควิตกกังวล,โรคแพนิค,โรคกลัวการเข้าสังคม,โรคซึมเศร้าเรื้อรัง,อาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย,การทำร้ายตัวเอง การคิดฆ่าตัวตาย หรือการพยายามฆ่าตัวตาย
การวินิจฉัย ภาวะ SAD ค่อนข้างยากเพราะมีอาการคล้ายโรคซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพอื่น ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติ
- การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
- การประเมินทางจิตวิทยา เป็นการให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถามหรือตอบคำถามของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินอาการ ความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมที่แสดงถึงอาการผิดปกติทางจิต
- การใช้หลักเกณฑ์ DSM-5 เป็นแนวทางสำหรับวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตที่เรียกว่า Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-5) หากมีภาวะ SAD ผู้ป่วยมักมีอาการซึมเศร้าร่วมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ ด้วย
- หมดเรี่ยวแรง
- นอนหลับมากกว่าปกติ
- รู้สึกหมดหวัง วิตกกังวล ขาดสมาธิ
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เบื่ออาหาร
- หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบทำ
ภาวะ Quiet Quitting ลาออกเงียบคนรุ่นใหม่ ไม่เชื่อทำงานหนักแล้วจะได้ดี
การรักษาภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
-
การรับประทานยา ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อปรับสมดุลของสารในสมองตั้งแต่ต้นฤดูกาล
-
การทำจิตบำบัด แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะชี้แนะให้ผู้ป่วยทราบถึงความคิดและพฤติกรรมที่ผิดปกตินั้น ควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีการรับมือกับภาวะซึมเศร้าได้ด้วยตนเอง
-
การบำบัดด้วยแสง เป็นการให้ผู้ป่วยเข้ารับการฉายแสงที่จำลองมาจากแสงอาทิตย์วันละประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากตื่นนอน เพื่อปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล โดยผู้ป่วยบางรายอาจฉายแสงด้วยตนเองที่บ้าน
สามารถปรับพฤติกรรมดูแลสุขภาพใจในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง
- รับประทานอาหารสุขภาพ เช่นผัก ผลไม้และโปรตีนที่ช่วยเพิ่มระดับของสารสื่อประสาทเซโรโทนินซึ่งเป็นสารเคมีในสมอง เช่น ผักปวยเล้ง,สับปะรด,ไก่,ปลาแซลมอล,ไข่,ชีส,นม,เต้าหู้,ถั่วและเมล็ดธัญพืช ฯลฯ
- หากิจกรรมที่ชื่นชอบหรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกายเพิ่มขึ้น
- หาโอกาสออกไปเดินเล่น ในวันที่มีอากาศแจ่มใส ท้องฟ้าปลอดโปร่ง เพื่อให้ได้ร่างกายสัมผัสกับแสงแดดอ่อน ๆ บ้างเพราะมีผลงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการได้สัมผัสกับแสงสว่างมีความสัมพันธ์และระดับเซโรโทนินในร่างกาย
- ออกกำลังกาย ข้อมูลจากงานวิจัยที่เชื่อถือได้จากประเทศอังกฤษแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายเป็นประจำอาจอย่างต่อเนื่องช่วยเรื่องอาการซึมเศร้าได้ ควรมีการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3-5 วัน ถ้าไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน อาจเริ่มจากกิจกรรมที่ทำเป็นประจำอยู่แล้วให้มีการออกแรงเพิ่มมากขึ้น เช่น การเดินทางไปทำงานด้วยการเดินหรือขี่จักรยาน
- ออกไปพบปะสังสรรค์หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคมเพื่อให้ได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนฝูงหรือทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่
- ฝึกใจให้ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศว่าเป็นแค่เพียงปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่ผ่านมาแล้วผ่านไปไม่แน่นอน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องจะมีผลต่อคุณภาพชีวิตและการเกิดภาวะซึมเศร้า
- ฝึกสมาธิ การฝึกหายใจคลายเครียด การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฯลฯ
หมั่นสังเกตอาการ การเปลี่ยนแปลงของตนเองถ้ารู้สึกว่าอารมณ์แปรปรวนและเป็นทุกข์มากจนควบคุมตัวเองไม่ได้ควรแสวงหาความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดหรือไปพบแพทย์ เพื่อจะได้รับการดูแลและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์,pobpad
"โรคซึมเศร้า" หายได้ มีความเสี่ยงต้องรีบพบแพทย์!
5 เคล็ดลับ ห่างไกลโรคซึมเศร้า จัดการความเครียดให้อยู่หมัด!