สาเหตุภาวะซีด โลหิตจางในเด็ก ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่พ่อแม่ต้องระวัง!
ต้นเหตุของการเกิดภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก คือการขาดสารอาหาร ที่สามารถป้องกันลดความรุนแรงได้ตั้งแต่การวางแผนครอบครัว หากปล่อยไว้ยิ่งอันตราย นอกจากจะทำให้สมองทำงานช้า ส่งผลต่อการเจริญเติบโตแล้ว ยังเสี่ยงภาวะหัวใจวายด้วย
สาเหตุภาวะซีด หรือ โรคโลหิตจาง เกิดจากการที่ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก โฟเลต และวิตามินบี 12 แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก สามารถสังเกตอาการซีดของเด็กได้จาก เปลือกตาล่าง ริมฝีปาก หรือผิวเริ่มมีความซีด ไม่มีเลือดฝาดเหมือนผิวเด็กทั่วไป รวมถึงบางครั้งเด็กอาจมีอาการอ่อนเพลีย เป็นลม เบื่ออาหาร ร่วมด้วย หากพบว่าลูกมีอาการดังกล่าวควรพาไปพบแพทย์ทันที
อ่อนเพลีย- ใจสั่น สัญญาณภาวะโลหิตจาง เผยสาเหตุเลือดจางอันตราย!
คนไทยกว่า 22 ล้านคนเป็น“พาหะธาลัสซีเมีย” โรคพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุด
Freepik/freepik
โลหิตจางในเด็ก

โลหิตจางในเด็กหากปล่อยไว้จะยิ่งรุนแรง
- อาจส่งผลให้สมองทำงานได้ช้าลง เนื่องจากได้รับออกซิเจนจากเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ เด็กจะรู้สึกไม่กระฉับกระเฉง เฉื่อยชา จึงมักส่งผลให้ลูกเรียนรู้ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน
- เนื่องจากภาวะซีด ทำให้ลูกเบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อย จึงทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร ส่งผลไปถึงการมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง เจ็บป่วยได้ง่าย และยังทำให้ลูกเติบโตช้าอีกด้วย
- เมื่อร่างกายขาดธาตุเหล็ก ก็จะทำให้การเจริญเติบโตมีปัญหา โดยเฉพาะกระดูกจะไม่แข็งแรง เปราะง่าย และอาจตัวเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกัน
ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะโลหิตจาง
โลหิตจางเล็กน้อยอาจไม่มีอันตราย แต่ถ้ามีโลหิตจางมาก ทำให้อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น หน้ามืด เป็นลมง่าย อาจมีอาการของโรคหัวใจล้มเหลวได้ เพราะถ้ามีโลหิตจางมากๆ หัวใจต้องทำงานมากขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี่ยงร่างกายให้มากขึ้น อาจมีหัวใจโต เกิดภาวะหัวใจวายได้
3 Superfood กรดโฟลิก ดีกับหญิงตั้งครรภ์ ลดเสี่ยงทารกพิการ!
วิธีป้องกันโลหิตจาง
ที่พอจะป้องกันได้ คือการวางแผนครอบครัว ฝากครรภ์และประเมินความเสี่ยงต่างๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการบำรุงครรภ์ด้วยอาหารครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการที่คุณแม่ควรได้รับ และให้เด็ก รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้ง ข้าว ไข่แดง เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ โดยเฉพาะอย่าให้ขาดอาหารที่มีธาตุเหล็ก ซึ่งพบมากใน เนื้อแดง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ตับหมู เลือดหมู ผักใบเขียว ธัญพืช และนม สำหรับในเด็กทารกแรกเกิดมักได้รับสารอาหารจากนมแม่เป็นหลัก ดังนั้นคุณแม่ก็ควรกินอาหารที่มีธาตุเหล็กด้วยเช่นกัน เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันลูกน้อยจากโรคหิตจางหรือภาวะตัวซีดได้แล้ว
การรักษาภาวะโลหิตจาง
แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามระดับความรุนแรงและสาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจาง โดยแพทย์ซักประวัติตรวจร่างกาย และตรวจเลือด รวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะโลหิตจาง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 และ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี
แหล่งวิตามินบี 12 ลดอัลไซเมอร์ผู้สูงอายุได้ 4 เท่า ป้องกันโลหิตจาง