นักวิทย์ชี้ “ก๊าซมีเทน” คือเป้าหมายใหม่ของการลดภาวะโลกร้อน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิทยาศาสตร์เตือน “ก๊าซมีเทน” เป็นอีกหนึ่งตัวการภาวะโลกร้อนที่ต้องได้รับการควบคุมจัดการ ไม่ใช่เพียงแค่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น

“ภาวะโลกร้อน” เป็นปัญหาใหญ่ที่ถูกพูดถึงมาอย่างยาวนาน และผลกระทบของมันยังคงปรากฏให้เห็นแม้กระทั่งในช่วงไม่กี่วันนี้

ตลอดความพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องสภาพภูมิอากาศของโลก โลกได้มุ่งความสนใจไปที่ก๊าซที่มีปริมาณมากที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเท่านั้น นั่นคือ คาร์บอนไดออกไซด์

แต่ในปีนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเรียกร้องให้มุ่งเน้นไปที่การจัดการก๊าซเรือนกระจกที่ร้ายแรงอีกชนิดหนึ่ง นั่นคือมีเทน (Methane) และเชื่อว่าเป็นแผนที่ดีที่สุดที่โลกจะทำได้ในตอนนี้เพื่อรับมือภาวะโลกร้อนที่เลวร้ายลงทุกวัน

ยูเอ็นเตือนภัย "ระดับสีแดง" วิกฤตสภาพอากาศโลก

ชาวกรีซเร่งอพยพหนีไฟป่า ลุกลามรุนแรงจากคลื่นความร้อน

ใบสน ไล่อัดคู่ชกรัสเซีย ผ่านรอบแรก มวยโอลิมปิก 2020

มีเทน มีลักษณะเป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ แหล่งกำเนิดของก๊าซมีเทนมีอยู่ทั้งในธรรมชาติ เช่น การย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต และที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น นาข้าว การทำเกษตรกรรม การปศุสัตว์ การหมักมูลสัตว์ กระบวนการเกิดและเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

ในรายงานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า ประเทศต่าง ๆ จะต้อง “ลดการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างเข้มแข็ง รวดเร็ว และยั่งยืน” นอกเหนือไปจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ข้อเสนอใหม่นี้ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ที่เลือกใช้ก๊าซธรรมชาติ แทนเชื้อเพลิงถ่านหินซึ่งสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ ต้องกลืนไม่เข้าคายไม่ออกไปตาม ๆ กัน นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดความท้าทายสำหรับประเทศที่เน้นการทำเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของหลายประเทศ

ก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์มีผลเสียทำให้บรรยากาศโลกอุ่นขึ้น โดยแม้โมเลกุลคาร์บอนไดออกไซด์จะทำให้เกิดความร้อนน้อยกว่าโมเลกุลของมีเทน แต่คาร์บอนไดออกไซด์จะคงอยู่ในบรรยากาศเป็นเวลาหลายร้อยปี ในขณะที่มีเทนหายไปภายในสองทศวรรษ ทำให้ที่ผ่านมา โลกให้ความสนใจกับการควบคุมคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า

เดอร์วูด เซลเก ประธานสถาบันเพื่อการกำกับดูแลและการพัฒนาที่ยั่งยืน และผู้ตรวจสอบรายงานของ IPCC กล่าวว่า รายงานดังกล่าวทำให้ “โลกมีความกดดันอย่างมากในการจัดการก๊าซมีเทน ... การควบคุมก๊าซมีเทนเป็นกลยุทธ์เดียวที่ดีที่สุดและเร็วที่สุดในการชะลอภาวะโลกร้อน”

อุณหภูมิโลกเฉลี่ยในปัจจุบันสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม 1.1 องศาเซลเซียส เนื่องจากการปล่อยมลพิษสู่อากาศตั้งแต่กลางทศวรรษ 1800 และโลกจะยังคงร้อนขึ้น แม้หลายประเทศจะเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ อุณหภูมิโลกก็อาจสูงขึ้นอยู่ดี

เมซา โรฮาส คอร์ราดี นักวิทยาศาสตร์ด้านชั้นบรรยากาศโลก มหาวิทยาลัยชิลี และผู้เขียนสรุปรายงานของ IPCC กล่าวว่า การลดก๊าซมีเทนอย่างรวดเร็วสามารถ “ต่อต้าน” ภาวะโลกร้อนได้ ในขณะเดียวกันก็จะช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศด้วย

องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่า ในระดับโลก การปล่อยก๊าซมีเทนมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนประมาณ 30% นับตั้งแต่ยุคก่อนอุตสาหกรรม

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและการวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เพิ่งเห็นว่า ที่ผ่ามาพวกเขาประเมินการปล่อยก๊าซมีเทนจากกระบวนการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การฝังกลบ และปศุสัตว์ ต่ำเกินไป

มาร์ก บราวน์สตีน รองประธานอาวุโสฝ่ายพลังงานของกองทุนป้องกันสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ กล่าวว่า “จำเป็นต้องมีแผนลดก๊าซมีเทนจากกระบวนการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไว้ในกลยุทธ์ด้านสภาพอากาศของประเทศ”

เขาบอกว่า การควบคุมการปล่อยมลพิษขององค์กรด้านพลังงาน อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการจัดการปัญหานี้ เพราะก๊าซมีเทนที่เกิดจากกิจกรรมทางการเกษตรขนาดใหญ่นั้นปรับเปลี่ยนได้ยาก เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีมาทดแทน

ด้านสหภาพยุโรป (อียู) กำลังเสนอร่างกฎหมายในปีนี้ที่จะบังคับให้ บริษัทผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ต้องตรวจสอบและรายงานการปล่อยก๊าซมีเทนและการซ่อมบำรุงเพื่อป้องกันการรั่วไหลของมีเทน

คาดว่าสหรัฐฯ จะออกกฎระเบียบมีเทนใหม่ภายในเดือน ก.ย. โดยคาดว่าจะเข้มงวดกว่ากฎเกณฑ์ที่ออกโดยฝ่ายบริหารของบารัก โอบามา หรือโดนัลด์ ทรัมป์

ที่ผ่านมามีการคาดการณ์ว่า สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป มีสัดส่วนการบริโภคก๊าซธรรมชาติมากกว่า 1 ใน 3 ของทั้งโลก

เปาโล อาร์ทาโซ นักฟิสิกส์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเซาเปาโล และหนึ่งในผู้เขียนรายงาน IPCC กล่าวว่า ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ไม่มีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติหรือการเกษตร เช่น บราซิลและรัสเซีย มีแนวโน้มที่จะปล่อยก๊าซมีเทนสูง

ด้านกลุ่มสิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่ของรัฐบางกลุ่มได้เรียกร้องให้มีการจัดทำข้อตกลงระดับโลกเกี่ยวกับก๊าซมีเทน เช่นเดียวกับที่เคยมีพิธีสารมอนทรีออลที่จัดการเกี่ยวกับกับการสูญเสียชั้นโอโซน

 

เรียบเรียงจาก Reuters

ภาพจาก AFP

  ดูชัดๆ ทดลองทำ “ภูเขาก๊าซ” จำลอง - นักเคมี ฟันธง สูดก๊าซพิษนาน 30 นาที ถึงตาย

อัปเดตมาตรการเยียวยา ครม.แจก 29 จว.เคาะไทมไลน์ ลงทะเบียน จ่าย "ม.33 ม.39 ม.40" รับ 2,500 - 600,000 บ...

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ