กานารายงานพบผู้ติดเชื้อ “ไวรัสมาร์บวร์ก” 2 ราย เสียชีวิตทั้งคู่

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กานาพบผู้ติดเชื้อ “ไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg)” โรคร้ายแรงตระกูลเดียวกับอีโบลา โดยผู้ติดเชื้อที่พบ 2 ราย เสียชีวิตทั้งคู่แล้ว

กานายืนยันพบผู้ติดเชื้อ “ไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg)” 2 รายแรกของประเทศ ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงในตระกูลเดียวกับไวรัสอีโบลา โดยระบุว่า ไม่นานมานี้ ผู้ป่วยทั้งสองเสียชีวิตในโรงพยาบาลในเขตอาชานติ ทางใต้ของประเทศ

ผลการตรวจหาไวรัสมาร์บวร์กของทั้งสองมาเป็นบวกเมื่อต้นเดือนนี้ และได้รับการยืนยันโดยห้องปฏิบัติการในเซเนกัลแล้วว่า เป็นไวรัสมาร์บวร์กจริง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในกานากล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ถึง 98 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการกักตัวเพื่อสังเกตอาการ

ผลการศึกษาชี้ วัคซีนโควิด-19 เซฟชีวิต "คนไทย" ได้ถึง 490,000 คน

ครม.เคาะ 3.9 พันล้าน ซื้อยารักษาโควิด "ฟาวิพิราเวียร์-โมลนูพิราเวียร์-เรมเดซิเวียร์"

กทม. อันดับ 24! เมืองเอื้อต่อสุขภาพ ห่วงคนกรุง 79% มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง

แพทย์ระบุว่า ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาไวรัสมาร์บวร์กโดยเฉพาะ แต่แพทย์บอกว่า การดื่มน้ำปริมาณมากและการรักษาตามอาการ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของผู้ติดเชื้อได้

ไวรัสมาร์บวร์กเป้นไวรัสที่แพร่กระจายจากสัตว์สู่คน โดยแพร่มาจากค้างคาวผลไม้ และแพร่กระจายระหว่างคนด้วยกันผ่านสารคัดหลั่งในร่างกาย เป็นโรคที่ร้ายแรงและมักทำให้เสียชีวิต โดยอัตราการเสียชีวิตเชื่อว่าสูงถึง 80% อาการของผู้ป่วยประกอบด้วย ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียนเป็นเลือด และมีเลือดออก

เจ้าหน้าที่เตือนประชาชนให้อยู่ห่างจากถ้ำและปรุงอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ทั้งหมดให้สุกก่อนบริโภค

องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ในแอฟริกา มีรายงานการระบาดของไวรัสมาร์บวร์กบ้างประปรายในแองโกลา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เคนยา แอฟริกาใต้ และยูกันดา โดยการระบาดที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของไวรัสมาร์บวร์กคือ คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 200 คนในแองโกลาในปี 2005

ไวรัสมาร์บวร์กได้รับการบันทึกครั้งแรกในปี 1967 ในเมืองมาร์บวร์กและแฟรงก์เฟิร์ตของประเทศเยอรมนี และเมืองเบลเกรดของประเทศยูโกสลาเวีย การติดเชื้อมาจากลิงกรีเวตที่ถูกส่งมาจากประเทศยูกันดาเพื่อใช้ในการพัฒนาวัคซีนโปลิโอ

 

เรียบเรียงจาก BBC

ภาพจาก Getty Image

ไฟป่ายุโรปโหมหนัก หลังสถานการณ์คลื่นความร้อนยังวิกฤต

ญี่ปุ่นหวั่นโลกร้อน กระทบวัตถุดิบสำคัญ ปลาโอ-วาซาบิ อนาคตอาจหายไป

Bottom-BDMS Bottom-BDMS

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ