ในการประชุมฟอรัมเศรษฐกิจตะวันออก (EEF) ที่รัสเซียจัดขึ้นที่เมืองวลาดิวอสต็อก ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน กล่าวว่า เขาต้องการแก้ไขข้อตกลงระหว่างประเทศเรื่องการส่งออกสินค้าอาหารและธัญพืชของยูเครน ซึ่งเพิ่งตกลงกันได้เมื่อปลายเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา
ปูตินบอกว่า เขาจะหารือกับประธานาธิบดีตุรกี เรเจป เทย์ยิป เออร์โดกัน เกี่ยวกับ “การจำกัดจุดหมายปลายทางสำหรับการส่งออกธัญพืช”
“จะไม่กลับบ้าน” เปิดใจทหารอาสาต่างชาติในยูเครน
“มิน อ่อง หล่าย” พบ “ปูติน” สานสัมพันธ์เมียนมา-รัสเซียแน่นแฟ้น
รัสเซียยื่นเงื่อนไขชาติยุโรป ไม่เลิกคว่ำบาตร ไม่เปิดท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
โดยปูตินอ้างว่า สินค้าอาหารและธัญพืชที่ออกจากยูเครนภายใต้ข้อตกลง 4 ฝ่าย ไม่ได้ถูกส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศยากจน แต่ถูกส่งไปยังสหภาพยุโรป
เขาอ้างว่า มีเรือสินค้าเพียง 2 ลำเท่านั้นจาก 87 ลำที่มุ่งหน้าไปประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากสหประชาชาติแสดงให้เห็นว่า คำกล่าวอ้างของปูตินนั้นเป็นเท็จ
ปูตินกล่าวว่า เขาจะพิจารณาเจรจาข้อตกลงใหม่กับเออร์โดกัน “เราน่าจะคำนึงถึงการจำกัดจุดหมายปลายทางสำหรับการส่งออกธัญพืชยูเครน และผมจะหารือเรื่องนี้กับเออร์โดกัน เพราะผมกับเขาเป็นผู้คิดแผนนี้ขึ้นมา”
คำพูดดังกล่าวของ ปูติน ทำให้ราคาธัญพืชล่วงหน้าในตลาดโลกเพิ่มขึ้นทันที 6.9% จากความกังวลว่า จะเกิดการฉีกข้อตกลงหรือล้มดีลส่งออกอาหาร-ธัญพืชของยูเครนหรือไม่
หากมีการแก้ไขหรือยกเลิกข้อตกลงส่งออกอาหารและธัญพืชของยูเครน อาจทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตอาหารโลกอีกครั้ง หลังก่อนหน้านี้ในช่วง 5 เดือนแรกของสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ ได้ทำให้ราคาอาหารทั่วโลกพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
ไม่ใช่แค่เรื่องของอาหารและธัญพืชเท่านั้น ปูตินยังขู่ว่า จะระงับการส่งมอบก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และถ่านหินทั้งหมดไปยังยุโรป หากชาติยุโรปใช้นโยบายกำหนดเพดานราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย
ความเห็นนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก เออร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้เสนอให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรืออียูใช้มาตรการดังกล่าว ตามรอยบรรดาชาติมหาอำนาจกลุ่ม G7 เพื่อตัดทอนแหล่งรายได้หลักของรัสเซีย ที่ปูตินใช้สำหรับเป็นทุนในปฏิบัติการรุกรานยูเครน
ปูตินกล่าวว่า ในความจริงแล้ว “รัสเซียเป็นเหยื่อ” ซึ่งเผชิญกับการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกที่เป็นภัยคุกคามต่อระเบียบโลก “ผมกำลังพูดถึงการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก มันเป็นความพยายามอย่างแข็งขันและก้าวร้าวเพื่อกีดกันอำนาจอธิปไตยและบังคับให้ชาติอื่น ๆ อยู่ใต้บังคับบัญชาของพวกเขา”
เขาเน้นย้ำว่า “ไม่ว่าใครจะอยากโดดเดี่ยวรัสเซียแค่ไหนก็ตาม มันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำเช่นนั้น” โดยอ้างว่ารัสเซียจะหันเหไปเชื่อมสัมพันธ์กับชาติเอเชียแทน หลังจากตัดขาดความสัมพันธ์กับชาติยุโรปส่วนใหญ่
เรียบเรียงจาก The Guardian
ภาพจาก AFP
กลาโหมสหรัฐฯยัน รัสเซียเตรียมซื้ออาวุธจากเกาหลีเหนือ
สูญเสียหนัก? ปูตินลงนาม พ.ร.ก.ขยายขนาดกองทัพเพิ่มทหารนับแสนนาย