ผลพวงที่ใหญ่ที่สุดของปัญหาภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากละลายหมดอาจจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 10 เมตร
เราต่างทราบกันดีว่า ในเรื่องของปัญหาภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น วิธีการแก้ไขมีอยู่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการลดปล่อยคาร์บอน ลดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ลดการตัดไม้ทำลายป่า ฯลฯ
สารในเปลือกกุ้ง-กระดองปู ใช้ผลิตแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้
“ชะตากรรมที่ไม่อาจเลี่ยง” ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะสูงขึ้น 27 ซม.
ภายใน 80 ปี ตะวันออกกลางจะร้อนจนอาศัยอยู่ไม่ได้
เหล่านี้ล้วนเป็นคำตอบที่มีการสื่อสารกันมานานหลายสิบปี แต่ยังคงขาดความร่วมมือจากคนทั้งโลก หลายประเทศอ้างว่าต้องใช้เวลาอีกมากกว่าที่จะพร้อมลดกิจกรรมที่ทำให้โลกร้อน ทำให้มันยังคงเป็นเหมือนโรคเรื้อรังที่กำลังจะไร้วี่แววเยียวยารักษาเข้าไปทุกที
โจทย์ใหญ่สำหรับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในตอนนี้ จึงเป็นการพยายามหาทางแก้ไขที่จะใช้เวลาน้อยและทรงประสิทธิภาพที่สุด เพราะหากจะให้รอจนทุกคนพร้อมที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมหรือลดกิจกรรมที่เป็นภัย ก็อาจจะสายเกินแก้ไปแล้ว
ล่าสุด เวค สมิธ จากมหาวิทยาลัยเยล และทีมวิจัย ได้เสนอแผนใหม่ในการลดอุณหภูมิโลกที่กำลังสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยการทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้กลับมาเย็นอีกครั้ง และลดอัตราการละลายของน้ำแข็ง
การจะทำเช่นนั้น นักวิทยาศาสตร์เสนอแผนให้นำเครื่องบินไอพ่นบินขึ้นไปที่ระดับความสูง 43,000 ฟุต (เหนือกว่าระดับความสูงปกติของเที่ยวบินพาณิชย์) จากนั้นพ่นอนุภาคซัลเฟอร์ไดออกไซด์ขนาดเล็กสู่ชั้นบรรยากาศเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์ ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกได้รับความร้อนน้อยลง
การพ่นอนุภาคเหล่านี้จะต้องดำเนินการที่ตำแหน่งละติจูด 60 องศาเหนือและละติจูด 60 องศาใต้ ซึ่งจะตรงกับบริเวณแองเคอเรจ อะลาสกา และภูมิภาคปาตาโกเนียในอาร์เจนตินา-ชิลี ละอองลอยเหล่านี้จะค่อย ๆ ลอยไปทางขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
การฉีดพ่นอนุภาคจะดำเนินการในช่วงฤดูใบไม้ผลิและต้นฤดูร้อน โดยใช้เครื่องบินที่ได้รับการออกแบบใหม่สำหรับภารกิจนี้โดยเฉพาะ 125 ลำ ซึ่งสามารถผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันปฏิบัติภารกิจได้ทั้งสองซีกโลก แต่โดยรวมจะต้องมีเที่ยวบินประมาณ 175,000 เที่ยวต่อปี
มีการประเมินว่า แนวคิดนี้จะทำให้บริเวณขั้วโลกเหนือและใต้เย็นลงได้ 2 องศาเซลเซียสต่อปี ซึ่งจะทำให้สถานการณ์กลับมาใกล้กับอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม แต่ก็แลกกับค่าใช้จ่ายประมาณ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 4 แสนล้านบาท) ต่อปี
ทั้งนี้ แผนการปล่อยอนุภาคสะท้อนแสงอาทิตย์นี้ ไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาโลกร้อนที่ถาวร ทางที่ดีที่สุดยังคงเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนและมลพิษต่าง ๆ แผนการนี้จึงเป็นเหมือนกับการ “ซื้อเวลา” ชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิและการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก เพื่อให้ทั่วโลกมีโอกาสในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
เวค สมิธ ผู้นำทีมวิจัยกล่าวว่า “การพ่นอนุภาคในชั้นบรรยากาศเป้นเหมือนการรักษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบตามอาการเท่านั้น มันเหมือนกับยาแอสไพริน ไม่ใช่เพนิซิลลิน มันไม่ได้ทดแทนการลดคาร์บอน”
อย่างไรก็ตาม มีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านแผนการนี้ โดยมองว่า การต้องมีเที่ยวบินถึง 175,000 เที่ยวต่อปีเพื่อคอยพ่นอนุภาค จะเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลายล้านตันสู่ชั้นบรรยากาศ อันจะส่งผลให้วิกฤตโลกร้อนเลวร้ายลงไปอีก
นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่า การพยายามบดบังแสงอาทิตย์เพื่อลดอุณหภูมิโลกนี้ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชพรรณหรือไม่
แต่ก็มีบางคนที่สนับสนุนแผนดังกล่าว โดยบอกว่า ภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งสำคัญ และการทำให้น้ำแข็งเย็นลงอีกครั้งสามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลกได้
เรียบเรียงจาก Science Daily
ภาพจาก AFP
นาซาพบ “อินทรียวัตถุ” บนดาวอังคาร หลักฐานว่าอาจเคยมีสิ่งมีชีวิต?