ผลการศึกษาของนักวิจัยจากสถาบันสุขภาพของยุโรปประเมินว่า มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวกับอากาศร้อนมากกว่า 61,600 คน ใน 35 ประเทศยุโรป ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงยุโรปร้อนเป็นประวัติการณ์ พร้อมระบุว่า ประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน อย่าง กรีซ อิตาลี โปรตุเกสและสเปน มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด เมื่อพิจารณาจากขนาดประชากร
สภาพอากาศเลวร้าย ยอดผู้เสียชีวิตฤดูมรสุมในเอเชียพุ่ง 100 ศพ
อุณหภูมิเฉลี่ยโลกร้อนทุบสถิติ 4 วันติด คาดสูงสุดในรอบ 100,000 ปี
“วิกฤตซอสศรีราชา” เมื่อเอลนีโญ-โลกร้อน ทำพริกขาดแคลน
ในช่วงฤดูร้อนที่หลายประเทศยุโรปได้รับผลกระทบจากไฟป่าและภัยแล้งครั้งรุนแรง อุณหภูมิโปรตุเกสทำสถิติสูงสุดที่ 47 องศาเซลเซียสในเดือนกรกฎาคม แต่ยังต่ำกว่าอุณหภูมิสูงสุดของประเทศ ซึ่งอยู่ที่ 47.3 องศาเซลเซียส เมื่อปี 2003
ขณะที่อิตาลี มีผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อนจัด 18,010 คน สเปน 11,324 คน และในเยอรมนี 8,173 คน
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดจากมนุษย์ทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้น คลื่นความร้อนเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น ขณะเดียวกันอากาศร้อนจัดยังอาจส่งผลให้ผู้คนเสียชีวิตได้ ด้วยโรคลมแดด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจและระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอากาศร้อนจัดมากที่สุด
ด้านนายแพทย์อังเคล อาบัด จากโรงพยาบาลลาปาซในกรุงมาดริด ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ระบุว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดน้อยมากเมื่อเทียบกับอัตราการเสียชีวิตจากอากาศร้อนจัด เนื่องจาก อากาศร้อนจัด เป็นภัยคุกคามสุขภาพของผู้ที่มีโรคเรื้อรังอยู่แล้ว และมักเป็นผู้สูงอายุที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับต่ำ